ความวิตกกังวล ความเครียด และคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คำสำคัญ:
ความเครียด, ความวิตกกังวล, คุณภาพชีวิต, ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความวิตกกังวล ความเครียด และคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
วัสดุและวิธีการ : การศึกษานี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 218 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล 2) แบบคัดกรองความกังวลต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3) แบบประเมินความเครียด (ST-5) และ 4) แบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการถดถอยโลจิสติก และสถิติความสัมพันธ์สเปียแมน
ผล : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.8 อายุเฉลี่ย 42.01 ± 13.48 ปี ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 46.3 ใช้การรักษารูปแบบจ่ายเงินเอง ร้อยละ 60.1 รายได้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 15,001 - 30,000 บาท ร้อยละ 39.9 ผู้ป่วยที่พามารักษาส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ร้อยละ 32.6 ผู้พามารับการรักษาเป็นบิดา/มารดา/บุตร มากที่สุด ร้อยละ 38.1 ระยะเวลาในการดูแลมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 34.4 ระดับความกังวลต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 73.9 ระดับความเครียดน้อย ร้อยละ 42.2 และเครียดมากที่สุด ร้อยละ 31.2 และส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง ร้อยละ 79.8 ส่วนปัจจัยที่ส่งผลกับความเครียด คือ เพศชาย สถานภาพคู่ และความกังวลต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับสูง และความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความเครียดและคะแนนคุณภาพชีวิตของกลุ่มตัวอย่าง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ -0.49
สรุป : ผลการศึกษานี้สามารถนำข้อมูลที่ได้เพื่อมาหาแนวทางในการให้ข้อมูลความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติดูแลผู้ป่วยในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
References
กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน. [online]. Available from: https://ddc.moph. go.th/covid19-dashboard/. [2022 May 15].
กระทรวงสาธารณสุข. COVID-19 (EOC-DDC Thailand) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [online]. Available from: https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65. [2022 May 15].
โรงพยาบาลวิชัยเวช. โควิดสายพันธุ์ โอไมครอน คืออะไร น่ากลัวแค่ไหน. [online]. Available from: https://vichaivej-nongkhaem.com/health-info/health-info/โควิดโอไมครอน. [2022 May 10].
อนันต์ตรี สมิทธิ์นราเศรษฐ์. การเผชิญปัญหาและการปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2560; 11(3): 43-56.
Periad M, Ames B. Lifestyle changes and Coping pattern among caregivers of stroke survivors. Public Health Nurs 1993; 10: 252-6.
กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.
Schmid R, Schielein T, Spiessl H, Cording C. Burden of siblings of inpatients with schizophrenia. Psychiatr Prax 2006; 33(4): 177-83.
วริศา จันทรังสีวรกุล, จิราจันทร์ คณฑา. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลภาระในการดูแลการสนับสนุนทางสังคมและความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2563; 44(1): 88-101.
พรนิภา หาญละคร, นิภาพรรณ ฤทธิรอด, สุดถนอม กมลเลิศ, เตือนใจ พิทยาวัฒนชัย. ความเครียด ความกังวล และผลกระทบของบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564; 36(4): 488-94.
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรม โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. แผ่นพับ เรื่อง แบบคัดกรองความกังวลต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [online]. Available from: https://www.dmh-elibrary. org/items/show/390. [2022 August 12].
อรวรรณ ศิลปกิจ. แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2551; 16(3): 177-85.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.
บุญชม ศรีสะอาด. วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2556.
เกยูรมาศ อยู่ถิ่น, พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ, ดุษฎี อุดมอิทิพงศ์. ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2556; 7(2): 1-12.
Lai J, Ma S, Wang Y, Cai Z, Hu J, Wei N, et al. Factors associated with mental health outcomes among health care workers exposed to Coronavirus disease 2019. JAMA network open 2020; 3(3): e203976.
Luo M, Guo L, Yu M, Jiang W, Wang H. The psychological and mental impact of coronavirus disease 2019 (COVID-19) on medical staff and general public - A systematic review and meta-analysis. Psychiatry Res 2020; 291: 113190.
ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรั้ง. รายงานผลการวิจัย ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.
ประคอง อินทรสมบัติ, สุปรีดา มั่นคง, สมทรง จุไรทัศนีย์, สุลักษณ์ วงศ์ธีรภัค, วิลาวัณย์ ประสารอธิคม, ปาริชาติ พรสวัสดิ์ชัย และคณะ. การดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลอย่างครบวงจรและต่อเนื่อง: การดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2556; 19(2): 194-205.
นิภา สุทธิพันธ์, ทิตยาวดี อิทรางกูร. ความวิตกกังวล ความเครียด และการป้องกันตนเองของประชาชนในหมู่บ้านที่ถูกสั่งปิดจากการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2565; 37(1): 31-41.
ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของความเครียดจากการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข. วารสารสวนปรุง 2559; 32(3): 55-69.
Harnlakorn P, Phetcharat T, Rithirod N, Kamollerd S, Pitayavatanachai T, Meesing A. Stress worry and effects among health personnels during pandemic of coronavirus disease 2019 in Srinagarind Hospital. Srinagarind Med J. 2021; 36: 488-94.
Wacharasint P, Wacharasint S. COVID-19 and mental health. Thai J Crit Care Med 2020; 28: 24-6.
ตฏิลา จำปาวัลย์. ความวิตกกังวลตามสถานการณ์. วารสารพุทธจิตวิทยา 2561; 3(1): 13-20.
เยาวลักษณ์ ทวีกสิกรรม, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, มณีรัตน์ พราหมณี. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะพึ่งพาในเขตอําเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท. วารสารการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2557; 24(3): 104-18.
เอมิกา กลยนี, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, อารีย์วรรณ อ่อมตานี. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. วารสารพยาบาลตำรวจ 2558; 7(1): 128-40.
นัทธ์ชนัน จรัสจรุงเกียรติ, อลิสา วัชรสินธุ. คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กที่เป็นโรคในกลุ่มออทิสติกสเปกตรัมและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2556; 58(3): 233-44.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา