การพยากรณ์สถานการณ์ของผู้ป่วยนิติจิตเวชที่มารับบริการที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • เบ็ญจมาศ พฤฒารา สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
  • วิภาพร สิทธิจันทร์ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การพยากรณ์, ผู้ป่วยนิติจิตเวช, สถานการณ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ผู้ป่วยนิติจิตเวชที่มารับบริการฯ การพยากรณ์ทางสถิติที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์โรค และพยากรณ์แนวโน้มผู้ป่วยนิติจิตเวช

วัสดุและวิธีการ : ศึกษาวิธีการพยากรณ์ทางสถิติด้วยข้อมูลทุติยภูมิอนุกรมเวลา ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลผู้ป่วยนิติจิตเวช เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 - กันยายน พ.ศ. 2562 หาวิธีการพยากรณ์ทางสถิติที่เหมาะสม วัดค่าความถูกต้องของการพยากรณ์ด้วยค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) และนำมาพยากรณ์แนวโน้มเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 - กันยายน พ.ศ. 2564

ผล : สถานการณ์ผู้ป่วยนิติจิตเวช ปีงบประมาณ 2562 พบว่าผู้ป่วยนิติจิตเวช 120 คน (376 ราย) ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุ 40 - 49 ปี สถานภาพโสด มีที่อยู่ในเขตสุขภาพที่ 13 วินิจฉัยว่าป่วยเป็นกลุ่มโรคจิตเภท F20 - F29 ที่พบมากที่สุดคือ F20 (โรคจิตเภท) สิทธิการรักษาชำระเงินเอง แหล่งนำส่งมาจากศาล ประเภทคดี พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด วิธีการพยากรณ์ทางสถิติที่เหมาะสมคือ Exponential Smoothing แบบ Winters' Additive ผลการพยากรณ์คาดว่าจะมีผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2563 - 2564 ประมาณ 221 คน (556 ราย) และ 264 คน (719 ราย) เข้ารับบริการสูงสุดเดือนกันยายน จำนวน 38 คน (60 ราย) และ 42 คน (74 ราย) กลุ่มโรคที่พบมากที่สุด คือ F20-F29 จำนวน 71 คน (268 ราย) และ 82 คน (338 ราย) ผู้ป่วยนิติจิตเวช ปี 2563 - 2564 จำนวน 85 คน (630 ราย) และ 83 คน (399 ราย) ซึ่งจำนวนราย มีค่าใกล้เคียงกับค่าพยากรณ์ แม้จำนวนคนจะลดลง เนื่องจากสถานการณ์โควิด

สรุป : การพยากรณ์แนวโน้มผู้ป่วยนิติจิตเวช ค่าพยากรณ์ใกล้เคียงกับค่าจริง จึงควรมีการวางแผนพัฒนาระบบบริการ บริหารจัดการงบประมาณ เวชภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น

References

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, อธิบ ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต: การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2560; 25(1): 1-19.

กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: บริษัท ละม่อม จำกัด; 2562.

ดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์. นิติจิตเวช : จากงานบริการเชิงรับสู่การคุ้มครอบสิทธิผู้ช่วยจิตเวชเชิงรุก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2552; 54(1): 115-38.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันท์. การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์; 2545.

อังคณา จัตตามาศ, พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. การพยากรณ์สถานการณ์การพบผู้ป่วยทางด้านจิตเวชในผู้สูงอายุเขตพื้นที่เฝ้าระวังผู้ป่วยของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสังคมศาสตร์ 2558; 4: 92-100.

อุไรวรรณ แย้มนิยม. การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางการตลาด.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2544.

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์. รายงานประจำปีสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ปีงบประมาณ. กรุงเทพฯ: สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ