การพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยแอลกอฮอล์ในระยะถอนฤทธิ์สุราแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

ผู้แต่ง

  • กนกกาญจน์ วิโรจน์อุไรเรือง โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • อัมพร สีลากุล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • วิมาลา เจริญชัย โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

คำสำคัญ:

ภาวะถอนฤทธิ์สุรา, แนวทางการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์, ผู้ป่วยใน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลและประเมินผลของการใช้แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยแอลกอฮอล์ในระยะถอนฤทธิ์สุราแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

วัสดุและวิธีการ : ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนาของกรมสุขภาพจิต 7 ขั้นตอน ศึกษากลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะถอนฤทธิ์สุราที่รับไว้รักษาแบบผู้ป่วยใน 89 คน โดยใช้แบบประเมินภาวะขาดแอลกอฮอล์ และทีมสหวิชาชีพที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วย จำนวน 26 คน โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจและข้อเสนอแนะต่อการใช้แนวทางดังกล่าวและมีการติดตามผลตามตัวชี้วัด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผล : ผู้ป่วยแอลกอฮอล์จำนวน 89 คน เป็นเพศชายร้อยละ 95.5 ส่วนใหญ่อายุ 41 - 65 ปี ผู้ป่วยทั้งหมดดื่มเหล้าขาว ระยะเวลาเฉลี่ยที่ดื่มเท่ากับ 17.4 ± 8.22 ปี ส่วนใหญ่มีความถี่การดื่ม 7 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 88.8 ได้รับการวินิจฉัยโรคหลัก คือ alcohol dependence ร้อยละ 65.2 และหากได้รับการรักษาตามแนวทางจะพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะไม่มีอาการถอนฤทธิ์สุรากลับเป็นซ้ำในช่วงนอนโรงพยาบาลร้อยละ 95.5 นอกจากนี้จำนวนวันของผู้ป่วยสุราหาย/ทุเลาจากภาวะถอนฤทธิ์สุราลดลง 1.27 วัน จำนวนวันนอนเฉลี่ยลดลงเหลือ 16.5 วัน และความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานต่อแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยแอลกอฮอล์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

สรุป : ผู้ป่วยในภาวะถอนฤทธิ์สุราพบความเสี่ยงจากอาการถอนฤทธิ์สุราและภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยครั้ง การที่ได้มีการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยแอลกอฮอล์ในระยะถอนฤทธิ์สุราแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีภาวะถอนฤทธิ์สุราปลอดภัย หายทุเลา สามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้รวมทั้งลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และสหวิชาชีพที่รับผิดชอบในการดูแลมีแนวปฏิบัติที่เป็นในรูปแบบเดียวกัน

References

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. คู่มือสำหรับผู้อบรมการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราเบื้องต้นสำหรับบุคลากร สุขภาพ. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์; 2552.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. การบำบัดรักษาภาวะถอนพิษสุรา. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์; 2554.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, สุวรรณา อรุณพงษ์ไพศาล. ปัญหาและความผิดปกติจากการดื่มสุรา ความสำคัญและการดูแลรักษาในประเทศไทย. สงขลา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. คู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติ รูปแบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราในระบบสุขภาพ ฉบับปรับปรุง 2554. เชียงใหม่: แผนงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.); 2554.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: เบสท์สเต็ปแอ็ดเวอร์ไทซิ่ง; 2554.

วิทย์ วิชัยดิษฐ, เอ็ดเวิร์ด แม็คแนล, ดาริกา ใสงาม, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย ประจำปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์; 2562.

ณัฏฐ์วรัตถ์ อเนกวิทย์. ผลลัพธ์ทางคลินิกของการใช้แนวทางการดูแลผู้ที่มีปัญหาพฤติกรรมการดื่มสุราในแผนพัฒนา ระบบบริการสุขภาพจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มงานสุขภาพจิต จิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561; 63(4): 371-82.

บุญศิริ จันศิริมงคล, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, มธุริน คำวงศ์ปิน, วรวรรณ จุฑา, ธรณินทร์ กองสุข, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. ความชุกของความผิดปกติของพฤติกรรมดื่มสุราและโรคจิตเวชร่วมในคนไทย: การสำรวจระบาดวิทยาระดับชาติ 2551. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2554; 19(2): 88-102.

เบ็ญจมาส พฤกษ์กานนท์, ธีระ ศิริสมุด, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, สกาวรัตน์ พวงลัดดา, กนกวรรณ สุดศรีวิไล. รายงานฉบับสมบูรณ์การสำรวจระบาดวิทยาปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในโครงการสนับสนุนและส่งเสริมการบริการครบวงจรสำหรับผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่เป้าหมายเร่งรัดภายใต้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (โครงการบริการสุขภาพจิตครบวงจร). นนทบุรี: สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ (สคสช.) กรมสุขภาพจิต; 2556.

มาริษฎา พิทักษ์ธรรม. ผลการใช้แนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาภาวะถอนพิษสุราในผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนาดูน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561; 9(2): 207-22.

อุกฤษฏ์ พงศ์ศรีเพียร, ธงชัย วชิรพินพง, กุศลิน กัณหา, สวัสดิ์ เที่ยงธรรม. ผลการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุรา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2555; 6(2); 1-9.

อังกูร ภัทรากร, ธญรช ทิพยวงษ์, อภิชาติ เรณูวัฒนานนท์, พัชรี รัตนแสง, วิมล ลักขณาภิชนชัช. แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุรา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-30

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ