ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์จากสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ชฎาภา ประเสริฐทรง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • จรินวรรณ แสงหิรัญรัตนา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • พรชนา กลัดแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

การเรียนออนไลน์, ความเครียด, โควิด-19, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์จากสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

วัสดุและวิธีการ : การศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสนับสนุน และความเครียดในการเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผล : ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 35.8 เกรดเฉลี่ยสะสม 2.50 - 3.00 ร้อยละ 47.6 อาศัยอยู่ในเขตเมือง ร้อยละ 55.8 ลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นทาวเฮ้าส์/บ้านเดี่ยว ค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการออนไลน์จากเครือข่าย 399 - 699 บาท/เดือน ร้อยละ 39.8 อุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์เป็นสมาร์ทโฟน ร้อยละ 32.5 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมขณะเรียนในการเรียนออนไลน์ จำแนกเป็น ด้านเสียง ด้านความร้อน และอุปสรรคของการสื่อสารออนไลน์ จำแนกเป็น ด้านความล่าช้าของการรับส่งข้อมูล ด้านความเสถียรของคลื่นหรืออินเทอร์เน็ตของเครือข่าย มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ชั้นปี เกรดเฉลี่ยสะสม ที่ตั้งของที่อยู่อาศัย ลักษณะของที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการออนไลน์จากเครือข่าย และอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์

สรุป : สิ่งแวดล้อมในการเรียนออนไลน์ และอุปสรรคของการสื่อสารออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการเรียนออนไลน์ ปัจจัยเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ หากนักศึกษาได้รับการปฐมนิเทศ คำแนะนำ และการสนับสนุนจากครอบครัว เช่น การจัดสถานที่เรียนที่เงียบสงบ อุณหภูมิภายในห้องเรียนเหมาะสม มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายที่แรงและมีความเสถียร สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเครียดในการเรียนออนไลน์ได้

References

พงศ์ทัศ วนิชานันท์. การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?. [online]. Available form: https://tdri.or.th/ 2020/05/basic-education-in-covid-19-crisis-reopening-school-after-lockdown [2020 Jul 28].

ณัฏฐิตา สงค์แก้ว. ความหมายของ E-Learning. [online]. Available form: https:// sites.google.com/site/

khemromanov/khwam-hmay-khxng-e-learning [2020 Jul 26].

Moawad RA. Online learning during the COVID-19 pandemic and academic stress in university students. Revista Romaneasca Pentru Educatie Multidimensionala 2020; 12(1): 100-7.

กีรติญา ไทยอู่. ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคจิตเวช. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2557; 5 (2): 2-13.

กฤษฎากร ชูเลม็ด. พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตและความพึงพอใจต่อการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในอำเภอเกาะ พะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2557.

นิธิพันธ์ บุญเพิ่ม. ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2553.

สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. “เรียนออนไลน์” ต้องมาพร้อมกับ 6 ตัวช่วย!. [online]. Available form: https://mgronline.com/qol/ detail/9630000047169 [2020 Sep 2].

ณัฐธัญญา ประสิทธิ์ศาสตร์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจภายในต่อทักษะการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2561.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. โรงเรียนและนักเรียนมีความพร้อมเพียงใดกับการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์: ข้อค้นพบจาก PISA. [online]. Available form: https://pisathailand. ipst.ac.th/issue-2020-51 [2020 Jul 2].

สุปรีดี สุวรรณบูรณ์. อุปสรรคในการสื่อสาร. [online]. Available form: http://www.ipesp. ac.th/learning/thai/Manipulator.html [2020 Jul 2].

สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ: เอยูโพล. การเรียนออนไลน์ในสถานการณ์ Covid-19. [online]. Available form: https://www.smartsme.co.th/content/ 238548 [2020 Dec 20].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-30

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ