การศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติกไทยวัยผู้ใหญ่
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, บุคคลออทิสติกไทยวัยผู้ใหญ่บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย และเพื่อศึกษาความแตกต่างของคุณภาพชีวิตกับปัจจัยส่วนบุคคลของบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทย
วัสดุและวิธีการ : การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลโรคกลุ่มอาการออทิสติกที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยกำหนดพื้นที่ในการเก็บข้อมูลจำนวน 9 ภูมิภาคในประเทศไทย จำนวน 378 คน ในช่วงเดือนมีนาคม – เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบวัดคุณภาพชีวิต ชุดย่อฉบับภาษาไทย สถิติที่ใช้คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้สถิติเอฟเทส และสถิติทีเทส
ผล : กลุ่มตัวอย่าง 378 คน ส่วนใหญ่เพศชาย ร้อยละ 77.0 มีอายุระหว่าง 18 ปี – 23 ปี ร้อยละ 70.9 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 32.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 73.5 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 69.3 และไม่มีการใช้สารเสพติดร้อยละ 98.4 คุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่ พบว่าบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่มีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายโดยรวม อยู่ในเกณฑ์ระดับดี มีคุณภาพชีวิตด้านจิตใจโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง มีคุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคมโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง และมีคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง ส่วนความแตกต่างของคุณภาพชีวิตโดยรวมกับปัจจัยส่วนบุคคล คือ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้
สรุป : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติกวัยผู้ใหญ่ในประเทศไทยในทุกองค์ประกอบ ได้แก่ ด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคคลออทิสติวัยผู้ใหญ่
References
Kamp-Becker I, Schröder J, Remschmidt H, Bachmann CJ. Health-related quality of life in adolescents and young adults with high functioning autism-spectrum disorder. Psychol Med 2010; 7: 1-10.
Eaves LC, Ho HH. Young adult outcome of autism spectrum disorders. J Autism Dev Disord 2008; 38: 739-47.
Barbara FC, Hilde M. Quality of life in autism across the lifespan: A meta-analysis. Autism 2015; 19(2): 158-67.
Lin L. Quality of life of Taiwanese adults with autism spectrum disorder. PLoS One 2014; 9(10): e109567.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, ราณี พรมานะจิรังกุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.
Dawson G, Finley C, Phillips S, Galpert L, Lewy A. Reduced P3 amplitude of the event-related brain potential: Its relationship to language ability in autism. J Autism Dev Disord 1988; 18(4): 493-504.
Aarons M, Gittens T. Semantic-pragmatic disorder (or a little bit autistic?). Int J Lang Commun Disord 1993; 18.
สุจิตรา ทรัพย์จำรูญ. ความคาดหวังของผู้ปกครองบุตรออทิสติก [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2549.
สุไปรมา ลีลามณี. ศึกษาการเผชิญปัญหาภาวะวิกฤต และการได้รับการสนับสนุนทางสังคมของบิดามารดาที่มีบุตรเป็นออทิสติก [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์; 2543.
Kamio Y, Inada N, Koyama T. A nationwide survey on quality of life and associated factors of adults with high-functioning autism spectrum disorders. Autism 2012; 17: 15-26.
เพ็ญแข ลิ่มศิลา. การวินิจฉัยโรคออทิสซึม. สมุทรปราการ: ช.แสงงามการพิมพ์; 2540.
American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders. 4th ed. Washington, DC: American Psychiatric Association; 2000.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา