ปัจจัยทำนายการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทโดยเทคนิคเหมืองข้อมูล

ผู้แต่ง

  • จงรัตน์ สุวัฒนปรีดา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • กฤตนัย แก้วยศ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • สิริวัฒน์ สุวัฒนปรีดา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การกลับมารักษาซ้ำ, จิตเภท, ปัจจัยทำนาย, เหมืองข้อมูล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูลวิธีต้นไม้ตัดสินใจ

วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาวิจัยย้อนหลัง จากเหมืองข้อมูลในโปรแกรม BMS-HOSxP ในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่กลับเข้ารักษาซ้ำในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 3,549 ราย ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559 - วันที่ 30 ธันวาคม 2561 โดยนำปัจจัยจากข้อมูลทั่วไปที่บันทึกในระบบ BMS-HOSxP (Bangkok Medical Software-Hospital information extreme platform) ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส จำนวนวันนอนในโรงพยาบาล การตรวจพบสารเสพติด การมาตรวจตามนัด เขตพื้นที่สุขภาพ ยาต้านโรคจิตรูปแบบชนิดน้ำ ยาต้านโรคจิตรูปแบบชนิดฉีดที่ออกฤทธิ์ยาว และจำนวนวันกลับเข้ารักษาซ้ำ มาวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอนด้วยรูปแบบต้นไม้

ผล : พบว่าการมาตรวจตามนัดสม่ำเสมอ การได้รับยาต้านโรคจิตรูปแบบชนิดน้ำ การได้รับยาต้านโรคจิตชนิดฉีดที่ออกฤทธิ์ยาว สามารถทำนายการกลับมารักษาซ้ำได้มากที่สุดตามลำดับ ทั้งนี้ รูปแบบทำนายการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทโดยเทคนิคเหมืองข้อมูล สามารถทำนายได้แม่นยำร้อยละ 61.5 ถ้าทำนายว่าผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำเกิน 6 เดือน จะมีโอกาสทำนายถูกต้องร้อยละ 51.5 แต่ถ้าทำนายว่าผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำไม่เกิน 6 เดือน จะมีโอกาสทำนายถูกต้องเพียงร้อยละ 73.1

สรุป : การป้องกันการกลับป่วยซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และกรณีผู้ป่วยมีปัญหาการรับประทานยา จำเป็นต้องสนับสนุนให้ได้รับยาต้านโรคจิตรูปแบบชนิดน้ำ และการได้รับยาต้านโรคจิตชนิดที่ออกฤทธิ์ยาว

References

Burns T, Fiander M, Audini B. A delphi approach to characterizing 'relapse' as used in UK clinical practice. Int J Soc Psychiatry 2000; 46: 220-30.

Lamberti JS. Seven keys to relapse prevention in schizophrenia. J Psychiatr Pract 2001; 253-9.

Chi MH, Hsiao CY, Chen KC, Lee LT, Tsai HC, Hui Lee I, et al. The readmission rate and medical cost of patients with schizophrenia after first hospitalization - A 10-year follow-up population-based study. Schizophr Res 2016; 170(1): 184-90.

Boaz TL, Becker MA, Andel R, Van Dorn RA, Choi J, Sikirica M. Risk factors for early readmission to acute care for persons with schizophrenia taking antipsychotic medications. Psychiatr Serv 2013; 64(12): 1225-9.

Thongkam J, Sukmak V, Mayusiri V. Predicting schizophrenia at risk of readmissions in the short- and long-term using decision tree model. KKU Res J 2016; 21(3): 91-103.

Okumura Y, Sugiyama N, Noda T. Timely follow-up visits after psychiatric hospitalization and readmission in schizophrenia and bipolar disorder in Japan. Psychiatr Res 2018; 270: 490-5.

Thomsen KR, Thylstrup B, Pedersen MM, Pedersen MU, Simonsen E, Hesse M. Drug-related predictors of readmission for schizophrenia among patients admitted to treatment for drug use disorders. Schizophr Res 2018; 195: 495-500.

Hung YY, Chan HY, Pan YJ. Risk factors for readmission in schizophrenia patients following involuntary admission. PloS one 2017; 12(10): e0186768.

Smith R, Witt DP, Franzsen D. Occupational performance factors perceived to influence the readmission of mental health care users diagnosed with schizophrenia. S Afr J Physiother 2014; 44(1): 51-6.

Chou F, Reome E, Davis P. Impact on length of stay and readmission rates when converting oral to long-acting injectable antipsychotics in schizophrenia or schizoaffective disorder. The Mental Health Clinician 2016; 6(5): 254-9.

Kurdyak P, Vigod SN, Newman A, Giannakeas, V, Mulsant, BH & Stukel T. Impact of physician follow-up care on psychiatric readmission rates in a population-based sample of patients with schizophrenia. Psychiatr Serv 2018; 69(1): 61-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-27

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ