การกระตุ้นการรู้คิดสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย : บทความฟื้นฟูวิชาการ

ผู้แต่ง

  • ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • พิชญา ชาญนคร สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • ธิติมา ณรงค์ศักดิ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • นภาพิศ ฉิมนาคบุญ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การกระตุ้นการรู้คิด, การรู้คิดบกพร่องระยะต้น, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อทบทวนวรรณกรรมการกระตุ้นการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย แนวคิดการรู้คิดบกพร่อง และการบำบัดเพื่อพัฒนาศักยภาพสมองด้วยการกระตุ้นการรู้คิด

วัสดุและวิธีการ : เป็นการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยจากเอกสารวิชาการ นิพนธ์ต้นฉบับ วารสารออนไลน์ และบทความวิจัย ได้แก่ งานวิจัยทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม การวิจัยอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน ทั้งหมด 25 เรื่อง

ผล : ภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย หมายถึงความเสื่อมถอยของการทำงานของสมองในด้านการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดอย่างน้อยหนึ่งด้านที่เกิดจากกระบวนการรับรู้ของสติปัญญาที่เสื่อมลงของการลดลงตามปกติของผู้สูงอายุ และภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงมากขึ้น อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านความจำ ภาษา ทักษะด้านมิติสัมพันธ์ ความตั้งใจหรือการมีสมาธิ หรือความสามารถในด้านการคิดเชิงบริหารเกินกว่าที่ควรจะเป็นสำหรับคนที่อายุเท่ากันในระดับเดียวกันที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยยังไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การคัดกรองภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยได้เร็วจะสามารถชะลออัตราการเสื่อมของสมอง เครื่องมือที่นิยมใช้ประเมินการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดระดับเบื้องต้นสำหรับผู้สูงอายุไทย คือ แบบทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้นฉบับภาษาไทย และแบบประเมินพุทธิปัญญา ประกอบด้วยการประเมินด้านการมีสมาธิจดจ่อ การรับรู้ ความจำ การตัดสินใจ การใช้ภาษา และการบริหารจัดการ การบำบัดด้วยการกระตุ้นการรู้คิด จะช่วยส่งเสริมความจำ ความสามารถในการรู้คิด และการคิดเชิงบริหาร ส่งผลให้ชะลอการดำเนินเป็นโรคสมองเสื่อมได้

สรุป : การกระตุ้นการรู้คิดมีประสิทธิภาพดีและให้ผลเชิงบวกในผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย หลังได้รับการฝึกฝนฟื้นฟูด้วยการกระตุ้นการรู้คิดรวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงของการเสื่อมของการรู้คิดและลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม

References

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการพัฒนาศักยภาพสมองของผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องในระยะต้น. กรุงเทพฯ: บริษัท ไซเบอร์ พริ้นท์กรุ๊ป จำกัด; 2559.

สาวิตรี จีระยา, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, เวทิส ประทุมศรี. ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านความจำในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2561; 26(2): 30-9.

พรรณธร เจริญกุล. การดูแลผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สภากาชาดไทย; 2555.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.); 2555.

ขวัญประภัสร จันทรบุลวัชร์, ยุทธชัย ไชยสิทธิ์, ไพรวัลย์ โคตรรตะ, ภัชราภรณ์ วงศ์อาสา, นภาดล สีหพันธ์. แนวคิดการบําบัดด้วยการรําลึกความหลัง: การประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุสมองเสื่อม. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2560; 40(4): 142-51.

บุญชัย นวมงคลวัฒนา, พันธุ์นภา กิตติรัตน์ไพบูลย์, เกษราภรณ์ เคนบุปผา. การสำรวจความบกพร่องทางพุทธิปัญญาในผู้สูงอายุไทย: การศึกษาระดับชาติ ปี 2551. [online]. Available from: www.prasri.go.th/upic/ie.php/5aa40c07d976449c.pdf [2020 Mar 18].

วรพรรณ เสนาณรงค์, เจ แอล คัมมิ่งส์, สาธิต วรรณแสง, นิพนธ์ พวงวรินทร์, ปิยนุช แจ่มจำรัส, อุไรวรรณ สุจิระชาโต และคณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการภาวะสมองเสื่อมและความทุพพลภาพในผู้สูงอายุไทย. [online]. Available from: http://beyond.library.tu.ac.th/cdm/ref/collection/trf_or_th/id/11195 [2020 Mar 10].

Zarit SH, Zarit JM. Mental disorders in older adults: Fundamentals of Assessment and Treatment (2nd ed). New York: Guilford Press; 2007.

สถาบันประสาทวิทยากรมการแพทย์. แนวเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2557.

ปิ่นมณี สุวรรณโมสิ, จิราพร เกศพิชญวัฒนา. ผลของโปรแกรมกระตุ้นการรู้คิดต่อความจำของผู้สูงอายุในชุมชนที่มีการรู้คิดบกพร่อง. วารสารพยาบาลตำรวจ 2557; 8(2) : 45-57.

Farias ST, Mungas D, Reed BR, Harvey D, DeCarli C. Progression of mild cognitive impairment to dementia in clinic vs community-based cohorts. Arch Neurol 2009; 66(9): 1151-57.

Alzheimer’s association. Alzheimer ’s disease facts and figures. Alzheimer’s & Dementia 2012; 8(2): 14-21.

ดาราวรรณ ประทุมทาน, เพื่อนใจ รัตตากร, พีรยา มั่นเขตวิทย์. ผลของชุดฝึกความรู้ความเข้าใจที่บ้านและความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องด้านความรู้ความเข้าใจระดับเล็กน้อย. วารสารกิจกรรมบำบัด 2556; 18(3): 35-46.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. การป้องกันการประเมินและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2556.

Alzheimer’s Society. Mild cognitive impairment (MCI). [online]. Available from: https://www.alzheimers.org.uk/info/20007/types_of_dementia/16/mild_cognitive_impairment _mci [2020 Mar 9].

American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorder. 5th ed. Arlington VA: American psychiatric association; 2013.

Rivas-Vazquez RA, Mendez C, Rey GJ, Carrazana EJ. Mild cognitive impairment: new neuropsychological and pharmacological target. Arch Clin Neuropsychol 2004; 19(1): 11-27.

รังสฤษฎ์ รังสรรค์. Mental health in elderly: delirium, dementia, others. [online]. Available from: https://ergoldbook.blogspot.com/2016/12/mental-health-in-elderly-delirium.html [2020 May 9].

Alzheimer’s Association. Alzheimer’s association report 2015 Alzheimer’s disease facts and figures. Alzheimer Dement 2015; 11: 332-84.

Institute of Geriatric Medicine, Department of Medical Services, Ministry of Health. Care of geriatric diseases: Multidisciplinary [online]. Available from: https://www.scribd.com/doc/113926317/multihealth [2020 Apr 3].

ปิติพร สิริทิพากร. คู่มือการพยาบาลการให้การดูแลและการเตรียมญาติและผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

Chaiyanon NT. Brain check เกมส์คัดกรองและประเมินความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม. [online]. Available from: https://blog.goodfactory.co/ brain-checkE0%B8%A1-7f76b3baa32d [2016 May 2].

คณะกรรมการจัดทำแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย พ.ศ.2542. แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai 2002). กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2545.

Hemrungrojn S. The Montreal Cognitive Assessment (MoCA) Thai version. Available from: http://www.cueid.org/content/view/2764/0 [2020 Mar 11].

Spector A, Thorgrimsen L, Woods B, Royan L, Davies S, Butterworth M, et al. Efficacy of an evidence-based cognitive stimulation therapy program for people with dementia: Randomized controlled trial. Br J Psychiatry 2003; 183(3), 248-54.

Breuil V, de Rotrou J, Forette F, Tortrat D, Ganansia-Ganem A, Frambourt A, et al. Cognitive stimulation of patients with dementia: Preliminary results. Int J Geriatr Psychiatry 1994; 9(3): 211-7.

พีรยา มั่นเขตวิทย์. การบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องของการรับรู้และความเข้าใจ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

นงนภัส พันธุ์แจ่ม. ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพร่วมกับการบริหารสมองต่อการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

อรวรรณ์ คูหา, พงางาม พงศ์จตุรวิทย์. การพัฒนาศักยภาพสมองของผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องในระยะต้น: รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ; 2555.

วีณา ลิ้มสกุล, บุรินทร์ เอี่ยมขำ, ปุณยนุช คงเสน่ห. การพัฒนาศักยภาพสมองของผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องในระยะต้น. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2561; 32(3): 1143-53.

ณัชชา แรมกิ่ง, รังสิมันต์ สุนทรไชยา, สารรัตน์ วุฒิอาภา. ผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพสมองต่อการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่อง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 36(2) : 114-22.

สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค, อาทิตยา สุวรรณ์. ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิดต่อความสามารถในการรู้คิด และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุที่เสี่ยงหรือมีภาวะสมองเสื่อม.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2559; 9(2): 145-58.

จารุวรรณ ก้านศรี. ศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นฟูการรู้คิดต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องด้านการรู้คิด [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

จิตติมา ดวงแก้ว, ศิริพันธุ์ สาสัตย์. ผลของโปรแกรมการฝึกการรู้คิดต่อการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดของผู้สูงอายุที่มีภาวะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยในสถานสงเคราะห์คนชราภาครัฐ. วารสารพยาบาลตำรวจ 2561; 10(1): 12-20.

Wenisch E, Cantegreil-Kallen I, De Rotrou J, Garrigue P, Moulin F, Batouche F, et al. Cognitive stimulation intervention for elders with mild cognitive impairment compared with normal aged subjects: preliminary results. Aging Clin Exp Res 2007; 19: 316-22.

Flak MM, Hernes SS, Skranes J, Løhaugen GCC. The memory aid study: protocol for a randomized controlled clinical trial evaluating the effect of computer-based working memory training in elderly patients with mild cognitive impairment (MCI). Trials 2014; 15(1): 1-17.

Moro V, Condoleo MT, Valbusa V, Broggio E, Moretto G, Gambina G. Cognitive stimulation of executive functions in mild cognitive impairment: Specific efficacy and impact in memory. Am J Alzheimers Dis Other Demen 2015; 30(2): 153-64.

Gates NJ, Singh MAF, Valenzuela M. Cognitive and memory training in adults at risk of dementia: A systematic review. [online]. Available from http://www.biomedcentral.com/ 1471-2318/11/55 [2020 Apr 1].

Sherman DS, Mauser J, Nuno M, Sherzai D. The efficacy of cognitive intervention in mild cognitive impairment (MCI): a meta-analysis of outcomes on neuropsychological measures. Neuropsychol Rev 2017; 27(4): 440-84.

Tulliani N, Bissett M, Bye R, Chaudhary K, Fahey P, Liu K. The efficacy of cognitive interventions on the performance of instrumental activities of daily living in individuals with mild cognitive impairment or mild dementia: protocol for a systematic review and meta-analysis. Syst Rev 2019; 8: 222.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-30

ฉบับ

บท

บทความฟื้นฟูวิชาการ