การนอนหลับและสุขอนามัยการนอนหลับ: บทความฟื้นฟูวิชาการ

ผู้แต่ง

  • ธิติมา ณรงค์ศักดิ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • ฐิติมา สงวนวิชัยกุล สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • วรพงศ์ ตรีสิทธิวนิช อิสระ

คำสำคัญ:

การนอนหลับ, การนอนไม่หลับ, สุขอนามัยการนอนหลับ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการนอนหลับ การนอนไม่หลับ และสุขอนามัยการนอนหลับ และ  ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวแก่ผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ

วัสดุและวิธีการ : สืบค้นจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ วารสารวิชาการ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความวิชาการ ผ่าน PubMed, ScienceDirect ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้คำสำคัญในการค้นหา ได้แก่ การนอนหลับ การนอนไม่หลับ สุขอนามัยการนอนหลับ

ผล : การนอนหลับสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ 1) ระยะที่ไม่มีการกลอกตาเร็ว ซึ่งสามารถแบ่งได้อีก 3 ระยะ คือ NREM 1, NREM 2, NREM 3 และ 2) ระยะที่มีการกลอกตาเร็ว สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะคือ Tonic และ Phasic โดยวงจรการนอนหลับเริ่มจากการนอนหลับระยะ NREM 1 ตามด้วยระยะ NREM 2, NREM 3 และเข้าสู่ระยะ REM ตามลำดับ เป็นวงจรเช่นนี้ แต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 90 - 110 นาที ซึ่งพบว่าใน 1 คืนการนอนหลับของวัยผู้ใหญ่จะมีวงจรการนอนหลับต่อประมาณ 4 - 5 รอบ การนอนไม่หลับ คือ การใช้ระยะเวลาในการนอนตั้งแต่เข้านอนจนถึงหลับนานมากกว่า 30 นาที การตื่นระหว่างคืนหลังจากหลับไปแล้วและไม่สามารถหลับต่อได้ภายใน 30 นาที มีตื่นนอนเร็วกว่าปกติ โดยมีอาการอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ การรักษาการนอนไม่หลับสามารถทำได้ 2 วิธี  คือ การรักษาโดยใช้ยา และการรักษโดยไม่ใช้ยา เช่น สุขอนามัยการนอนหลับ ซึ่งเป็นการปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอนหลับ เป็นต้น

สรุป : การนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม บุคลิกภาพ อายุ ความเครียด พฤติกรรมการนอนหลับที่ไม่เหมาะสม สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในการนอนหลับ เป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสุขอนามัยการนอนหลับ  มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ ดังนั้นการปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอนหลับตามสุขอนามัยการนอนหลับจึงช่วยส่งเสริมให้เกิดการนอนหลับ

References

วรัญ ตันชัยสวัสดิ์. สรีรวิทยาการนอนหลับ. สงขลา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2536.

สมภพ เรืองตระกูล. ความผิดปกติของการนอนหลับการประเมินและการรักษา. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2550.

เกษม ตันติผลาชีวะ. การนอนหลับ และวงจรการนอนหลับ: ใกล้หมอ; 2543.

Yaremchuk KL, Wardrop PA. Sleep medicine. San Diego, United States: Plural Publishing Inc; 2010.

Wilson S, Nutt DJ. Sleep Disorders. New York: OUP Oxford; 2008.

นันทวัช สิทธิรักษ์, กมลเนตร วรรณเสวก, กมลพร วรรณฤทธิ์, ปเนต ผู้กฤตยาคามิ, สุพร อภินันทเวช, พนม เกตุมาน. จิตเวช ศิริราช DSM-5. กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย; 2558.

Sofi F, Cesari F, Casini A, Macchi C, Abbate R, Gensini GF. Insomnia and risk of cardiovascular disease: a meta-analysis. Eur J Prev Cardiol 2014; 21(1): 57-64.

Laugsand LE, Strand LB, Platou C, Vatten LJ, Janszky I. Insomnia and the risk of incident heart failure: a population study. Eur Heart J 2013; 35(21): 1382-93.

Zhan Y, Zhang F, Lu L, Wang J, Sun Y, Ding R, et al. Prevalence of dyslipidemia and its association with insomnia in a community-based population in China. BMC Public Health 2014; 14(1): 1050.

สุดารัตน์ ชัยอาจ, พวงพยอม ปัญญา. การนอนไม่หลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารสภาการพยาบาล 2548; 20(2): 1-12.

Baglioni C, Battagliese G, Feige B, Spiegelhalder K, Nissen C, Voderholzer U, et al. Insomnia as a predictor of depression: A meta-analytic evaluation of longitudinal epidemiological studies. J Affect Disord 2011;135(1):10-9.

Daley M, Morin CM, LeBlanc M, Grégoire J-P, Savard J. The economic burden of insomnia: direct and indirect costs for individuals with insomnia syndrome, insomnia symptoms, and good sleepers. Sleep 2009; 32(1): 55-64.

Franzen PL, Buysse DJ. Sleep disturbances and depression: risk relationships for subsequent depression and therapeutic implications. Dialogues Clin Neurosci 2008; 10(4): 473-81.

Asche CV, Joish VN, Camacho F, Drake CL. The direct costs of untreated comorbid insomnia in a managed care population with major depressive disorder. Curr Med Res Opin 2010; 26(8): 1843-53.

Anderson KN, Bradley AJ. Sleep disturbance in mental health problems and neurodegenerative disease. Nat Sci Sleep 2013; 5: 61-75.

Palmese LB, DeGeorge PC, Ratliff JC, Srihari VH, Wexler BE, Krystal AD, et al. Insomnia is frequent in schizophrenia and associated with night eating and obesity. Schizophr Res 2011; 133(1-3): 238-43.

Poulin J, Daoust AM, Forest G, Stip E, Godbout R. Sleep architecture and its clinical correlates in first episode and neuroleptic-naive patients with schizophrenia. Schizophr Res 2003; 62(1-2): 147-53.

Laskemoen J, Büchmann C, Barrett E, Collier-Høegh M, Haatveit B, Vedal T, et al. Do sleep disturbances contribute to cognitive impairments in schizophrenia spectrum and bipolar disorders? Eur Arch Psychiatry Clin Neurosci. 2019.

Walker MP, Stickgold R. Sleep, memory, and plasticity. Annu Rev Psychol 2006; 57: 139-66.

Altchuler SI. Sleep and quality of life in clinical medicine. Mayo Clin Proc 2009; 84(8): 758.

Monique K L, Flavia G, Flavia C, R W, John H. The relationship between reported sleep quality and sleep hygiene in Italian and American adolescents. Pediatrics 2005; 115(1): 257-65.

Suen LK, Tam WW, Hon KL. Association of sleep hygiene-related factors and sleep quality among university students in Hong Kong. Hong Kong Med J 2010; 16(3): 180-5.

ดารัสนี โพธารส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนิสิตพยาบาล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ 2560; 1: 25-36.

Bsc RAW, Thompson DR. Sleep in hospital. J Adv Nurs 1986; 11(4): 447-57.

ธีรเดช คุปตานนท์, วิสาข์สิริ ตันตระกูล, กัลยา ปัญจพรผล, นฤชา จิรกาลวสาน, ประพันธ์ กิตติวรวิทย์กุล. การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์การหลับ. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2559.

Chokroverty S. Erratum to: sleep disorders medicine. In: Chokroverty S, editor. Sleep disorders medicine: basic science, technical considerations and clinical aspects. New York: Springer; 2017.

Keenan S, Hirshkowitz M. Monitoring and Staging Human Sleep. In: M.H. Kryger, T. Roth, W.C. Dement, editors. Principles and practice of sleep medicine. St. Louis: Elsevier Saunders; 2011.

Brinkman JE, Reddy V, Sharma S. Physiology, Sleep. treasure island. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/ books/NBK482512 [2020 18 Jul].

กัลยา ปัญจพรผล, ประพันธ์ กิตติวรวิทย์กุล, นฤชา จิรกาลวสาน, มณฑิดา วีรวิกรม, วิชญ์ บรรณหิรัญ. เวชศาสตร์การนอนหลับขึ้นพื้นฐาน สำหรับแพทย์ พยาบาล นักศึกษา และบุคลากรทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2560.

กุศลาภรณ์ ชัยอุดมสม, ภัทรี พหลภาคย์, ภาพันธ์ วัฒนวิทย์กิจ, พงศธร พหลภาคย์. จิตเวชศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2559.

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

Patel AK, Araujo JF. Physiology, Sleep Stages. Treasure Island: StatPearls Publishing. Available from: https://www.ncbi.nlm. nih.gov/books/NBK526132 [2020 Apr 16].

Carskadon MA, Dement WC. Monitoring and staging human sleep. In: In M.H. Kryger, T.Roth, W.C. Dement, editors. Principles and practice of sleep medicine. St.Louis: Elsevier Saunders; 2011.

Hobson JA, Pace-Schott EF. The cognitive neuroscience of sleep: neuronal systems, consciousness and learning. Nat Rev Neurosci 2002; 3(9): 679-93.

มาโนช หล่อตระกูล, แสงอุษา สุทธิธนกูล. ความผิดปกติด้านการนอน. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2548.

Miller C, Kyle S, Melehan K, Bartlett D. Methodology for the assessment of sleep. In: Kimberly B, Matthew F, editors. Sleep and affect: assessment, theory, and clinical implications: Academic Press; 2015.

ธิติมา ณรงค์ศักดิ์. คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่แผนกผู้ป่วยนอกสถาบัน จิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

Perlis ML, Ellis JG, Kloss JD, Riemann DW. Etiology and pathophysiology of insomnia. In: Kryger M, Roth T, Dement WC, editors. Principles and practice of sleep medicine. Elsevier; 2017.

Chiong L, Teofilo L. Sleep medicine: essentials and review. USA: Oxford University Press; 2007.

Lichstein KL, Taylor DJ, McCrae CS, Petrov ME. Insomnia: Epidemiology and risk factors. In: Kryger M, Roth T, Dement WC, editors. Principles and practice of sleep medicine. Elsevier; 2017.

Stepanski EJ, Wyatt JK. Use of sleep hygiene in the treatment of insomnia. Sleep Med Rev 2003; 7(3): 215-25.

Morin CM, Colin AE. Insomnia a clinical guide to assessment and treatment. New York: Plenum Publishers; 2004.

กุสุมาลย์ รามศิริ. คุณภาพการนอนหลับ ปัจจัยที่รบกวน และการจัดการกับปัญหาการนอนหลับของผู้สูงอายุ [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543.

Roehrs T, Roth T. Caffeine: Sleep and daytime sleepiness. Sleep Med Rev 2008; 12(2): 153-62.

Shilo Lea. The effects of coffee consumption on sleep and melatonin secretion. Sleep Med 2002; 3: 271-3.

Jacobson BH, Boolani A, Smith DB. Changes in back pain, sleep quality, and perceived stress after introduction of new bedding systems. J Chiropr Med 2009; 8(1): 1-8.

Muzet A. Environmental noise, sleep and health. Sleep Med Rev 11(2): 135-42.

อรพินทร์ เชียงปิ๋ว. นาฬิกาชีวภาพกับการนอนหลับ วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2555; 4(7): 145-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-05

ฉบับ

บท

บทความฟื้นฟูวิชาการ