ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • เพชรี คันธสายบัว สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • กฤตนัย แก้วยศ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • วีระ เนริกูล สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภท, พฤติกรรมก้าวร้าว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบบริการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

วัสดุและวิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทที่มารับบริการที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออก จำนวน 117 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือวิจัยที่ใช้ คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง 2) แบบประเมินอาการทางจิต 3) แบบวัดความก้าวร้าว 4) แบบวัดความหุนหันพลันแล่น 5) แบบวัดไซโคพาธ และ 6) แบบประเมินระดับความรุนแรงของพฤติกรรมก่อความรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผล: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 59.8 อายุเฉลี่ย 37.2 ± 10.3 ปี ไม่ได้เรียนหรือเรียนชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 31.6 และไม่มีประวัติการใช้สารเสพติด ร้อยละ 66.7 ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วยจิตเภท คือ เพศหญิง การศึกษาระดับอุดมศึกษา มีประวัติการใช้สารเสพติด มีประวัติพฤติกรรมก้าวร้าวใน 1 ปี และมีคะแนนอาการทางจิตระดับสูง

สรุป: จากผลศึกษาดังกล่าวสามารถนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาเป็นโปรแกรมการบำบัดทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวสามารถลดพฤติกรรมรุนแรงและสามารถอยู่ร่วมได้กับคนอื่นได้อย่างปกติ

References

Sadock BJ, Sadock VA. Synopsis of Psychiatry. 10th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2007.

Eaton WW, Chen CY. Epidemiology. In: Lieberman JA, Stroup TS, Perkins DO, eds. Textbook of schizophrenia. Washington, DC: American Psychiatric Publishing; 2006.

Anderson CA, Bushman BJ. Human aggression. Annu Rev Psychol 2002; 53: 27-51.

เวนิช บุราชรินทร์, เพ็ญพักตร์ อุทิศ. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 2554; 25(3): 24-37.

Morrison FE. The evolution of a concept: aggression and violence in psychiatric settings. Arch Psychiatr Nurs 1994; 8(4): 245-53.

Langsrud K, Kallestad H, Vaaler A, Almvik R, Palmstierna T, Morken G. Sleep at night and association to aggressive behaviour; patients in a psychiatric intensive care unit. Psychiatry Res 2018; 263: 275-9.

Song H, Min SK. Aggressive behavior model in schizophrenic patients. Psychiatry Res 2009; 167(1-2): 58-65.

กลุ่มงานการพยาบาลด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. รายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงของหน่วยงานทางคลินิก สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ: สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา; 2561.

Booth WC, Colomb GG, Williams JM. The craft of research. 3rd ed. Chicago, IL: University of Chicago Press; 2008.

Busner J, Targum, S. The clinical global impressions scale: applying a research tool in clinical practice. Psychiatry 2007; 4(7): 28-37.

Buss AH, Perry MP. The aggression questionnaire. J Pers Soc Psychol 1992; 63: 452-9.

Patton JH, Stanford MS, Barratt ES. Factor structure of the Barratt impulsiveness scale. J Clin Psychol 1995; 51: 768-74.

Levenson MR, Kiehl KA, Fitzpatrick CM. Assessing psychopathic attributes in a noninstitutionalized population. J Pers Soc Psychol 1995; 68(1): 151-8.

หวานศรี เรือนทอง, ธรณินทร์ กองสุข, สุพัตร สุขาวห, ทรงพล โลดทนงค์, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. การพัฒนาแบบประเมินระดับความรุนแรงของพฤติกรรมก่อความรุนแรงในผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2559; 61(3): 253-66.

Lozzino L, Ferrari C, Large M, Nielssen O, de Girolamo G. Prevalence and risk factors of violence by psychiatric acute inpatients: a systematic review and meta-analysis. PLoS One 2015; 10: e0128536.

Walsh E, Moran P, Scott C, McKenzie K, Burns T, Creed F, et al. Prevalence of violent victimization in severe mental illness. Br J Psychiatry 2003; 183: 233-8.

Choe JY, Teplin LA, Abram KM. Perpetration of violence, violent victimization, and severe mental illness: balancing public health concerns. Psychiatr Serv 2008; 59: 153-64.

Kessler RC, Berglund PA, Bruce ML, Koch JR, Laska EM, Leaf PJ, et al. The prevalence and correlates of untreated serious mental illness. Health Serv Res 2001; 36: 987-1007.

Rasanen P, Tiihonen J, Isohanni M, Rantakallio P, Lehtonen J, Moring J. Schizophrenia, alcohol abuse, and violent behavior: a 26-year follow up study of an unselected birth cohort. Schizophr Bull 1998; 24(3): 437-41.

Walsh E, Gilvarry C, Samele C, Harvey K, Manley C, Tattan T, et al. Predicting violence in schizophrenia: a prospective study. Schizophr Res 2004; 67(2-3): 247-52.

Green AI, Drake RE, Brunette MF, Noordsy DL. Schizophrenia and co-occurring substance use disorder. Am J Psychiatry 2007; 164(3): 402-8.

เพ็ญพักตร์ ดารากร ณ อยุธยา. ความสำเร็จในการเลิกสุราของผู้ป่วยสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวช. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2556; 27(1): 1-15.

Edlinger M, Rauch AS, Kemmler G, Yalcin-Siedentopf N, Fleischhacker WW, Hofer A. Risk of violence of inpatients with severe mental illness-do patients with schizophrenia pose harm to others? Psychiatry Res 2014; 219(3): 450-6.

Fazel S, Gulati G, Linsell L, Geddes JR, Grann M. Schizophrenia and violence: systematic review and meta-analysis. PLoS Med 2009; 6(8): 1-15.

Bushman BJ. Moderating role of trait aggressiveness in the effects of violent media on aggression. J Pers Soc Psychol 1995; 69(5): 950-60.

Darrell-Berry H, Berry K, Bucci S. The relationship between paranoia and aggression in psychosis: A systematic review. Schizophr Res 2016; 172(1-3): 169-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ