การควบคุมและประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการงานเคมีคลินิกและงานโลหิตวิทยาด้วย Sigma metric

ผู้แต่ง

  • ชุมพร บ้านกล้วย สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • ประเสริฐพร วารี สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การควบคุมคุณภาพห้องปฏิบัติการ, ซิกมา เมทริกซ์, ซิก ซิกมา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อควบคุมคุณภาพและประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการงานเคมีคลินิกและงานโลหิตวิทยาโดยใช้ Sigma metric

วัสดุและวิธีการ : การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือผลการควบคุมคุณภาพทั้งภายในและภายนอกในงานเคมีคลินิกและงานโลหิตวิทยา เครื่องมือในการวิจัยคือการประเมินความไม่แม่นยำด้วยค่าสถิติ Coefficient of Variation (%CV ) จากการควบคุมคุณภาพภายใน และการประเมินความไม่ถูกต้องด้วยค่าสถิติ %Bias จากการควบคุมคุณภาพภายนอก จากนั้นประเมินความสามารถการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้วย Sigma metric และเปรียบเทียบการเกิดการออกนอกการควบคุมคุณภาพระหว่าง Sigma metric และ Traditional 2SD quality control ด้วย Wilcoxon signed ranks test

ผล : ผลการศึกษาการควบคุมและประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการ งานเคมีคลินิกและงานโลหิตวิทยาด้วย Sigma metric ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2561 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2562 ประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการงานเคมีคลินิก จำนวน 20 พารามิเตอร์ ด้วย Sigma metric พบการประเมินความสามารถของการตรวจวิเคราะห์อยู่ในระดับดีเลิศ ระดับดีเยี่ยม ระดับดี และระดับปานกลาง ร้อยละ 50.0 10.0 30.0 และ 10.0 ตามลำดับ งานโลหิตวิทยา จำนวน 6 พารามิเตอร์ ประเมินความสามารถอยู่ในระดับดีเลิศและดีเยี่ยม มากกว่าร้อยละ 80 ผลการประเมินที่อยู่ในระดับดีเลิศและดีเยี่ยมสามารถใช้กฎการควบคุมคุณภาพอย่างง่ายได้ ซึ่งเป็นกฎที่มีความเหมาะสม ยืดหยุ่น ตรวจจับความผิดพลาดได้สูง ผลเตือนลวงต่ำ สามารถควบคุมคุณภาพ 1 รอบต่อวันได้ แต่ผลการประเมินที่อยู่ในระดับที่ต่ำลงมา ต้องใช้กฎหลายกฎเพื่อควบคุมคุณภาพ ควรเพิ่มความถี่การควบคุมคุณภาพภายในและทบทวนแผนการควบคุมคุณภาพเป็นระยะผลการเปรียบเทียบ out of control ระหว่างการใช้ Sigma metric กับ Traditional 2SD quality control พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

สรุป : การนำ Sigma metric มาใช้ควบคุมและประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการ เป็นการประยุกต์ใช้สถิติร่วมกับ Westgard rules ในการควบคุมคุณภาพอย่างเหมาะสม ลดความผิดพลาดในขั้นตอนตรวจวิเคราะห์ เพื่อให้แพทย์และผู้ป่วยได้รับผลตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้อง ปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ป่วย และช่วยลดค่าใช้จ่ายของการใช้สารควบคุมคุณภาพได้ ทั้งนี้การควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ด้วยระบบ Sigma metric ส่งผลดีต่อการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในด้านการควบคุมผลการตรวจวิเคราะห์ระดับยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช เช่น ระดับยาลิเทียม ระดับยาโซเดียมวาโปเอท ซึ่งเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูงต้องเฝ้าระวังในการใช้ การได้ผลตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้องจะส่งผลให้แพทย์ใช้ผลการตรวจ เพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ถูกต้อง เหมาะสม

References

Plebani M. Errors in clinical laboratories or errors in laboratory medicine?. Clin Chem Lab Med 2006; 44(6): 750-9.

Charuruks N, Wanachiwanawin D. Quality control analysis in clinical laboratory: from theory to practice. Bangkok: Ruenkaew Printing; 2005.

Westgard JO. CLIA proficiency testing criteria for acceptable analytical. [online]. Available from: http://www.westgard.com/clia.htm#chem [2013 May 27].

Data Innovation. Allowable total error table. [online]. Available from: http://www.datainnovations.com/products/ep-evaluator/allowable-total-errortable. [2013 May 27].

Wetgard JO. Royal college of pathologists of Australasia analytical quality Requirements. [online]. Available from http://westgard.com/rcpa-australasian-quality-requirements.htm [2013 May 27].

Zornberg GL, Pope HG. Treatment of depression in bipolar disorder: new directions for research. J Clin Psychopharmacol 1993; 13: 397-408.

จักรพงษ์ เครือเจริญ. ภาวะเป็นพิษจากโซเดียมวาลโปเอท. จุลสารพิษวิทยา 2552; 17: 9-16.

Harry MJ. The Vision of Six Sigma. Arizona: Tri Star Publishing; 1988.

นวพรรณ จารุรักษ์. หนังสือการควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ด้วยกฎหลายกฎ: ระดับเบื้องต้น. สมุทรปราการ: โรงพิมพ์แอล ที อาร์ต พริ้นติ้ง จำกัด; 2551.

Westgard JO. Six sigma design & control: desirable precision and requisite QC for laboratory measurement process. Madison: Westgard QC; 2000.

ยุพาพิน อ้นทอง, เบญจวรรณ รุ่งเรือง, พลากร พุทธรักษ์. การประเมินประสิทธิภาพและการวางแผนการควบคุมคุณภาพของเครื่องตรวจวิเคราะห์นับเซลล์เม็ดเลือดโดยใช้ Sigma Metric ในห้องปฏิบัติการหน่วยโลหิตวิทยา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559; 24: 661-72.

นำชัย ทิพชาติโยธิน. การประเมินเครื่องวิเคราะห์นับเม็ดเลือดและเกล็ดเลือดอัตโนมัติ Coulter LH750 และแผนการควบคุมคุณภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์; 2551.

Cian F, Villiers E, Archer J, Pitorri F, Freeman K. Use of six sigma worksheets for assessment of internal and external failure costs associated with candidate quality control rules for an ADVIA 120 hematology analyzer. Vet Clin Pathol 2014; 43(2): 164-71.

กาญจนา กิจบูรณะ. การวางแผนการควบคุมคุณภาพเพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2556; 41: 4576-87.

Westgard QC. CLIA Final rule: "equivalent" quality control practices website. [online]. Available from: http://www.westgard.com/cliafinalrule7.htm [2013 May 27].

Department of Health and Human Services Medicare. Medicaid and CLIA program: regulations improvement amendments of 1988 (CLIA). Fed Regist 1992; 57: 7002-186.

Westgard JO, Carey RN, Wold S. Criteria for judging precision and accuracy in method development and evaluation. Clin chem 1974; 20: 825-33.

Charuruks N. Quality control laboratory by multirole: basic level. Samut Prakan: L.T. Art Printing Ltd; 2008.

Westgard JO. Nothing but the truth about quality: essays on quality management in the healthcare laboratory. Medison: Westgard QC Inc; 2004.

ทัศนีย์ สิริธัญญ์สกุล. การประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาและเคมีคลินิกของโรงพยาบาลตรังด้วย Six Sigma Metric. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2561; 46: 6349-74.

Farr AJ, Freeman KP. Quality control validation, application of sigma metrics, and performance comparison between two biochemistry analyzers in a commercial veterinary laboratory. J Vet Diagn Invest 2008; 20: 536-44.

สุดารัตน์ มโนเชี่ยวพินิจ, โสภณ สิริสาลี, กุลนารี สิริสาลี. Analytical Performance Verification. กรุงเทพฯ: บริษัท เอช.ที.พี.เพรส. จำกัด; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-02

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ