ผลการจัดการรายกรณีต่อความสามารถโดยรวมของผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรง

ผู้แต่ง

  • นุษณี เอี่ยมสอาด โรงพยาบาลพระพุทธบาท
  • ปพิชญา ทวีเศษ โรงพยาบาลพระพุทธบาท
  • พรเลิศ ชุ่มชัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพระพุทธบาท

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรง, การจัดการรายกรณี, ความสามารถโดยรวมของผู้ป่วยจิตเภท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง
วัสดุและวิธิการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรงของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี ที่มารับริการที่แผนกผู้ป่วยนอก ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2560 - เดือนกันยายน พ.ศ.2561 ที่สมัครใจให้ความร่วมมือ และทำการสุ่มเข้ากลุ่มอย่างง่าย จำนวน 32 คน เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบติดตามผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงก่อความรุนแรงในชุมชน 9 ด้านแบบประเมินความสามารถโดยรวม การจัดการรายกรณีสำหรับพยาบาล และแผนการดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงก่อความรุนแรงในชุมชนของสหวิชาชีพ
ผล : ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถโดยรวมก่อนและหลังการจัดการรายกรณี พบว่าหลังได้รับการจัดการรายกรณี (77.9 ± 1.96) สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการรายกรณี (63.8 ± 3.11) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)
สรุป : จากผลการวิจัยดังกล่าว การจัดการรายกรณีทำให้ผู้ป่ วยที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง มีระดับความสามารถโดยรวมดีขึ้น ลดอาการกำเริบและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

References

Department of mental health. Psychiatric care manual that has a Serious Mental Illness with High Risk to Violence: SMI-V for institutions / hospitals Under the Department of Mental Health. Bangkok: prosperous-plus; 2018.

ปัฐยาวัชร ปรากฎผล. พยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2560; 28(1): 112-21.

วัฒนาภรณ์ พิบูลอาลักษณ์, จินตนา ยูนิพันธุ์, วิภาวี เผ่ากันทรากร, วีรพล อุณหรัศมี. ผลของการจัดการรายกรณีโดยผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงต่อการป่วยซ้ำในผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย 2561; 5(2): 5-18.

กาญจนา เหมะรัตน์, เพลิน เสี่ยงโชคอยู่, อุ่นจิตร คุณารักษ์, นิรมล ปะนะสุนา. ผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยจิตเภทต่อความร่วมมือในการรับประทานยาและการป่วยซ้ำ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2555; 26(2): 63-73.

อรวรรณ ฆ้องต้อ. ผลของการจัดการผู้ป่วยรายกรณีต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนและภาระการดูแลของผู้ดูแล [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ; บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

สุจิรา เนาวรัตน์. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคมจิตใจผู้ป่วยจิตเภทสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งภาคใต้. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2562; 13(1): 1-10.

อรสา วัฒนศิริ, เสาวภา ศรีภูสิตโต. การพัฒนากระบวนการดูแลต่อเนื่องผ้ปู่วยจิตเภทโดยทีมสหสาขา และเครือข่ายผูดู้แล โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารกองการพยาบาล 2556; 40(1): 68-83.

กิตติศักดิ์ สุรพงษ์พิวัฒนะ. ผลการจัดการรายกรณี: แบบโรงพยาบาลและชุมชนเป็นฐานในผู้ป่วยโรคจิตเภท. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์ บุรีรัมย์ 2559; 31(2): 111-9.

กนกวรรณ บุญเสริม. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยจิตเภท: มุมมองผู้ป่วย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2559; 30(1): 123-38.

ศรินรัตน์ จันทพิมพ,์ ขนิษฐา นันทบุตร. การดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561; 36(2): 68-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-31

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ