ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย

ผู้แต่ง

  • ธัญชนก จิงา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • ศรีแพร เข็มวิชัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ, การเห็นคุณค่าในตนเอง, ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองและความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจกับผู้ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายรับไว้เป็นผู้ป่วยในของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ที่มีค่าคะแนน Brief Psychiatric Rating Scale (BPRS) ไม่เกิน 36 คะแนน จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจ จากแนวความคิดของ Grothberg ส่วนกลุ่มควบคุมเข้าร่วมกิจกรรมตามการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความคิดฆ่าตัวตายของเบค แปลโดยปริยศ กิตติธีระศักดิ์ แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองของโรเซนเบิก และแบบประเมินพลังสุขภาพของกรมสุขภาพจิต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที และค่าสหสัมพันธ์
ผล : ค่าเฉลี่ยของคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง (26.7 ± 1.9) มากกว่ากลุ่มควบคุม (24.5 ± 1.5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และพบว่าคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์กับคะแนนความคิดฆ่าตัวตายและคะแนนพลังสุขภาพจิต
สรุป : โปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจส่งผลให้การเห็นคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้นและลดความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย

References

World Health Organization. Mental health 2004. [online]. Available from: http://www. who.int/mental_heaith/management/depression/definition/en/print.htm l [2011 Jul 25].

กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2561. [online]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/report/suicide [5 มกราคม 2562].

กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2560. [online]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/report/suicide [5 มกราคม 2562].

กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิตปี งบประมาณ 2553. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก; 2553.

โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. คู่มือระบบเฝ้าระวังดูแลช่วยเหลือผู้มีภาวะซึมเศร้าและผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ปีงบประมาณ 2554. ขอนแก่น: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์; 2553.

ปรียนันท์ สละสวัสดิ์. ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยในโรคจิตเภท. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จ 2556; 7(1): 37-48.

Mynatt S. Repeated suicide attempts. J Psychosoc Nurs Ment Health Serv. 2000; 38(12): 24-33.

ประเวช ตันติพิพัฒนสกุล, สุรสิงห์ วิศรุตรัตน์. การฆ่าตัวตาย. การสอบสวนหาสาเหตุและการป้องกัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พลัสเพรส; 2541.

กรมสุขภาพจิต. แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2560.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

De Raedt R, Schacht R, Franck E, De Houwer J. Self-esteem and depression revisited: implicit positive self-esteem in depressed patients?. Behav Res Ther 2006; 44(7): 1017-28.

Rosenberg M. Society and the adolescent selfimage. Princeton, NJ: Prince University; 1965.

พัชรี คำธิดา, อัมพวรรณ ถากาศ, ชนากานต์ แสงสิงห์ชัย. รูปแบบการดูแลและช่วยเหลือผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายซ้ำโดยกระบวนการสร้างความเข้มแข็งทางใจ. การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานานชาติ ครั้งที่ 6 เรื่อง สุขภาพจิตชีวิตชาวเมือง; โรงแรมปรินซ์พาเลซ. กรุงเทพฯ; กรมสุขภาพจิต; 2550.

Grotberg E. A guide to promoting resilience in children: Strengthening the human spirit. [online]. Available from: http://resilience.uiuc.edu/library/grotb95.html [2014 Feb 2].

กรมสุขภาพจิต. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี RQ พลังสุขภาพจิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต; 2552.

Grotberg E. Countering depression with the five building blocks of resilience. Reaching Today’s Youth 1999; 4(1, Fall): 66-72.

กรรณิกา ผ่องโต. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

Beck AT, Steer RA, Ranieri WF. Scale for suicide ideation: psychometric properties of a self-report version. J Clin Psychol 1988; 44(4): 499-505.

ฐปนีย์ ตั้งจิตภักดี. ปัจจัยสัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเองและความรู้สึกสิ้นหวังในเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2545.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. พฤติกรรมฆ่าตัวตายในเด็ก. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2536; 37: 87-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-31

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ