ผลของโปรแกรมกลุ่มส่งเสริมการรู้คิดต่อความสามารถในการรู้คิดในผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่อง

ผู้แต่ง

  • สมฤดี ชุมแก้ว สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • วิไลวรรณ สีนุ้ย สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • วิดาวรรณ จำปา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

โปรแกรมกลุ่มส่งเสริมการรู้คิด, ความสามารถในการรู้คิด, ผู้ป่วยจิตเภท, ภาวะพุทธิปัญญาบกพร่อง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการรู้คิดของผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องที่ได้รับโปรแกรมกลุ่มส่งเสริมการรู้คิด และเปรียบเทียบความสามารถในการรู้คิดของผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องที่ได้รับโปรแกรมกลุ่มส่งเสริมการรู้คิดกับการพยาบาลตามปกติ

วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา อายุน้อยกว่า 60 ปี ได้รับการประเมินว่าไม่มีภาวะสมองเสื่อมแต่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่อง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 35 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 18 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินภาวะพุทธิปัญญาฉบับภาษาไทย (MoCA-T)  และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และเปรียบเทียบความแตกต่างของความสามารถในการรู้คิดของผู้ป่วยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติที

ผล: ผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องที่ได้รับโปรแกรมกลุ่มส่งเสริมการรู้คิดมีคะแนนความสามารถในการรู้คิดหลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องที่ได้รับโปรแกรมกลุ่มส่งเสริมการรู้คิดมีคะแนนความสามารถในการรู้คิดมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: โปรแกรมกลุ่มส่งเสริมการรู้คิด เป็นกิจกรรมกลุ่มบำบัดทางการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่อง ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสามารในการรู้คิดเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจิตเภทที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องควรได้รับการส่งเสริมการรู้คิดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และควรมีการติดตามประเมินผลในระยะยาวเพื่อดูความคงทนของโปรแกรม

References

Sadock BJ, Sadock VA. Kapland and Sadock’s synopsis of psychiatry behavioral sciences. 10th ed. Philadephia: Lippincott Willians & Wilkins; 2007.

World Health Organization. The ICD-10: Classification of mental and behavioral disorder clinical descriptions and diagnostic guidelines. Geneva: World Health Organization; 2010.

Benjamin J, Sadock MD, Virginia A, Sadock P. Synopsis of Psychiatry. 9th ed. Philadelphia: Lippincott. Williams & Wilkins; 2002.

มุทิตา พนาสถิตย์. ภาวะพุทธิปัญญาของผู้ป่วยโรคจิตเภทเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก แผนกจิตเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2551; 52(พิเศษ): 113-27.

Ronan OC. Cognitive impairment in schizophrenia. Adv Psychiatr Treat 2000; 6(3): 161-8.

Velligan DI, Mahurin RK, Diamond PL, Hazleton BC, Eckert SL, Miller AL. The functional significance of symptomatology and cognitive function in schizophrenia. Schizophr Res 1997; 25(1); 21-31.

Green MF, Kern RS, Braff DL, Mintz J. Neurocognitive function deficits and functional outcome in schizophrenia: are we measuring the right stuff?. Schizophr Bull 2000; 26(1): 119-36.

สิรินทร ฉันศิริกาญจน์. สมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม; 2551.

Smith T, Gildeh N, Holmes C. The montreal cognitive assessment: Validity and utility in a memory clinic setting. Can J Psychiatry 2007; 52(5): 329-32.

Frank L, Lloyd A, Flynn JA, Kleinman L, Matza LS, Margolis MK, et al. Impact of cognitive impairment on mild dementia patients and mild cognitive impairment patients and their informants. Int Psychogeriatr 2006; 18(1): 151-62.

Dennison PE. Brain gym. Ventura California: Education-Kinesiology; 2007.

Neville E, Kolonowski AM, Yu F, Eslinger PJ. Improving cognition and function through exercise intervention in Alzhimer’s disease. J Nurs Scholarsh 2006; 38(4): 358-65.

David LP, Lawrence JS, David LR. Social cognition in schizophrenia: An overview. Schizophr Bull 2008; 34(3): 408-11.

Spector A, Thorgrimsen L, Woods B, Royan L, Davies S, Butterworth M, et al. Efficacy of an evidence-based cognitive stimulation therapy program for people stimulation therapy program for people with dementia. Br J Psychiatry 2003; 183(24): 248-54.

Kwok T, Wong A, Chan G, Shiu YY, Lam KC. Effectiveness of cognitive training for Chinese elderly in Hong Kong. Clin Interv Aging 2013; 8(2): 213-9.

วีระศักดิ์ เมืองไพศาล. การป้องกัน การประเมินและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์; 2556.

Musso MW, Cohen AS, Auster TL, McGovern JE. Investigation of the Montral Cognitive Assessment (MoCA) as a cognitive screener in severe mental illness. Psychiatry Res 2014; 220(1-2): 664-8.

David LP, Lawrence JS, David LR. Social cognition in schizophrenia: An overview. Schizophr Bull 2008; 34(3): 408-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-31

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ