ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างของบุคลากรสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • ธิติมา ณรงค์ศักดิ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • นภาพิศ ฉิมนาคบุญ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • ศิริศิลป์ ไชยเชษ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

บุคลากร, หลังส่วนล่าง, อาการปวด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างของบุคลากรในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาจำนวน 217 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนล่าง 3) แบบสอบถามท่าทางลักษณะของการทำงาน 4) แบบสอบถามสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ 5) แบบสอบถามออสเวสทรี ฉบับภาษาไทย สถิติที่ใชใ้ นการวิเคราะห์ คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผล : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.9 มีอายุเฉลี่ย 40.5 ± 12.9 ปี พบความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างร้อยละ 67.5 โดยส่วนใหญ่มีอาการปวดขณะทำงานร้อยละ 71.3 และระดับความรุนแรงของอาการปวดหลัง จำแนกตาม Fairbank disability score จากแบบสอบถามออสเวสทรี ฉบับภาษาไทย พบว่าส่วนใหญ่มีความรุนแรงของอาการปวดระดับเล็กน้อย ร้อยละ 80.6 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่าง คือ การยกของหนัก มีการก้มขณะทำงาน ลักษณะงานมีการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ และเก้าอี้ทำงานที่ไม่มีพนักพิง

สรุป : ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการวางแผนป้องกันการบาดเจ็บที่หลังของบุคลากรผ่านโปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติงานตามการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงาน

References

นงลักษณ์ ทศทิศ, รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล, วิชัย อึงพินิจพงศ์, พรรณี ปึงสุวรรณ, ทิพาพร กาญจนราช. ความชุกของความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในกลุ่มอาชีพตัดเย็บ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข 2554; 11(2): 47-54.

ฐิติรัตน์ จงอัจฉริย. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดหลังส่วนล่างของบุคลากรในโรงพยาบาล. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 7(2): 165-73.

สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์. บทบาทแพทย์รูมาโตโลจิสท์ต่ออาการปวดหลัง. กรุงเทพ: เรือนแก้วการพิมพ์; 2543.

David R, Dinesh K, Paul N, John S, Genevieve N. Associations between low back pain and depression and somatization in a Canadian emerging adult population. J Can Chiropr Assoc 2017; 61(2): 96- 105.

Tsuji T, Matsudaira K, Sato H, Vietri J. The impact of depression among chronic low back pain patients in Japan. BMC Musculoskelet D isord 2016; 17(1): 447.

Bernard C, Courouve L, Bouee S, Adjemian A, Chretien JC, Niedhammer I. Biomechanical and psychosocial work exposures and musculoskeletal symptoms among vineyard workers. J Occup Health 2011; 53(5): 297-311.

ศิลดา วงศ์ศา. ความชุกอาการปวดหลังของบุคลากรโรงพยาบาลพะเยา. เชียงรายเวชสาร 2555; 4(2): 35-42.

Punnett L, Wegman DH. Work-related musculoskeletal disorders: the epidemiologic evidence and the debate. J Electromyogr Kinesiol 2003; 14(1): 13-23.

Bejia I, Younes M, Jamila HB, Khalfalla T. Prevalence and factors associated to low back pain among hospital staff. Joint Bone Spine 2005; 72: 254-9.

Wong T, Teo N, Kyaw M. Prevalence and risk factors associated with low back pain among health care providers in a district hospital. Malays Orthop J 2010; 4(2): 23-8.

สุรชัย แซ่จึง, ทกมล หรรษาวงศ์, กิตติ จิระรัตนโพธิ์ชัย. ความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามออสเวสทรี ฉบับภาษาไทย ในการประเมินอาการในผู้ป่วยปวดหลัง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2545; 17(4): 247-53.

Park BC, Cheong HK, Kim EA, Kim SG. Risk factors of work-related upper extremity musculoskeletal disorders in male shipyard workers: structural equation model analysis. Saf Health Work 2010; 1(2): 124-33.

เพชรรัตน์ แก้วดวงดี, รุ้งทิพยิ์ พันธุเมธากุล, วณัทนา ศิริธราธิวัตร. ความชุกและปัจจัยด้านท่าทางการทำงานที่สัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมสิ่งทอ (แหอวน) จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2554; 26(4): 317-24.

Mawston G, Boocock M. The effect of lumbar posture on spinal loading and the function of the erector spinae: Implications for exercise and vocational rehabilitation NZ J Physiother 2012; 40(3): 135-40.

Coenen P, Gouttebarge V, van der Burght AS, van Dieen JH, Frings-Dresen MH, van der Beek AJ, et al. The effect of lifting during work on low back pain: a health impact assessment based on a meta-analysis. Ann O ccup Environ Med 2014; 71(12): 871-7.

Lotters F, Burdorf A, Kuiper J, Miedema H. Model for the work-relatedness of low-back pain. Scand J Work Environ Health 2003; 6: 431-40.

Heneweer H, Staes F, Aufdemkampe G, van Rijn M, Vanhees L. Physical activity and low back pain: a systematic review of recent literature. Eur Spine J 2011; 20(6): 826-45.

Andersen JH, Haahr JP, Frost P. Risk factors for more severe regional musculoskeletal symptoms: a two-year prospective study of a general working population. Arthritis Rheum 2007; 56(4): 1355-64.

ดารารัตน์ เตชะกมลสุข. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด/ปวดเมื่อยของระบบกล้ามเนื้อกระดูก และข้อในคนงานโรงงานผลิตตลัปเทปแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.

Karunanayake A. Risk factors for chronic low back pain in adults. A case control study done in Sri Lanka. J Pain Relief 2014; 3(5): 162.

O’Keeffe M, Dankaerts W, O’Sullivan P, O’Sullivan L, O’Sullivan K. Specific flexion related low back pain and sitting: Comparison of seated discomfort on two different chairs. Ergonomics 2013; 56(4): 650-8.

Makhsous M, Lin F, Bankard J, Hendrix RW, Hepler M, Press J. Biomechanical effects of sitting with adjustable ischial and lumbar support on occupational low back pain: evaluation of sitting load and back muscle activity. BMC Musculoskelet Disord 2009; 10: 17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-16

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ