ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการเยี่ยมบ้านเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว, ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, ภาระบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว และเพื่อเปรียบเทียบภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ
วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้รูปแบบ 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง โดยศึกษาในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ได้รับการรักษาจากสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา มีการติดตามหลังจำหน่ายออกจากสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาแล้วเป็นเวลา 1 เดือน และอยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 29 ช่วงนุชเนตร กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน และกลุ่มควบคุม 15 คน เครื่องมือที่ใช้คือ โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัว แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท และแบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท สถิติที่ใช้คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผล : คะแนนภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติร่วมกับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวหลังการทดลองมีคะแนนต่ำกว่าก่อนการทดลอง และคะแนนภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทของกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติร่วมกับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษามีคะแนนต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ
สรุป : โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวสามารถลดคะแนนภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มเติมจากการดูแลตามปกติให้ได้ดียิ่งขึ้น
References
Lortrakul M. Sukanich P. Textbook of Ramathibodi psychiatry. 3rd ed. Bangkok: Beyond Enterprise; 2009.
Phanthunane P, Vos T, Whiteford H, Bertram M, Udomratn P. Schizophrenia in Thailand: prevalence and burden of disease. Popul Health Metr 2010; 8: 24-35.
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. รายงานประจำปี 2560 สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ : สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา; 2560.
เดือนแรม ยศปัญญา, อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 2557; 28(3): 63-74.
สกาวรัตน์ ภูผา. ผลของกลุ่มบำบัดชนิดสุขภาพจิตศึกษาต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2543.
Platt S. Measuring the burden of psychiatric illness on the family: An evaluation of some rating scales. Psychos Med 1985; 15: 383-93.
Montgomery RJV, Stull DE, Borgatta EF. Measurement and analysis of burden. Res Aging 1985; 7(3): 137-52.
Bull MJ. Factors influencing family care giving burden and health. Western J Nurs Res 1990; 12(6): 758-76.
Kim KS, Kim BJ, Kim KH, Choe MA, Yi M, Hah YS, et al. Subjective and objective caregiver burden in Parkinson’s disease. J Korean Acad Nurs 2007; 37(2): 242-8.
จำนรรจ์ พลไพรินทร์, ฐิติวัลค์ ธรรมไพโรจน์. การวิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้กลุ่มสุขภาพจิตศึกษาเพื่อลดความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา 2552; 10(1): 13-8.
Clement S, Gerber D, McGuire SL. Comprehensive community health nursing: Family aggregate and community practice. St. Louis, MO: Mosby; 1995.
Anderson CM, Hogarty GE, Reiss DJ. Family treatment of adult schizophrenic patients: A psychoeducation approach. Schizophr Bull 1980; 6(3): 490-505.
Kuiper L, Leff J, Lam D. Family work for schizophrenia: A Practice Guide. London: Gaskell/Royal College of Psychiatrists; 1992.
จิราพร รักการ. ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
Cochran WG, Cox GM. Experimental designs. 2nd ed. New York: John Wiley & Sons; 1992.
Tabachnick B, Fidell L. Using multivariate statistics. 3rd ed. New York: Harper Collins; 1996.
Machin D, Campbell M, Fayers P, Pinol A. Sample size tables for clinical study. 2nd ed. Malden: Blackwell Science; 1997.
นพรัตน์ ไชยชำนิ. ผลของการใช้โปรแกรมการดูแลผู้ดูแลแบบองค์รวมต่อภาระและความสามารถในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
Yamashita M. Study of how families care for mental ill relatives in Japan. Int Nurs Rev 1996; 43(4): 121-5.
Lazarus RS, Folkman S. Stress, appraisal and coping. New York: Springer; 1984.
ทีปประพิน สุขเขียว. การสนับสนุนทางสังคมกับภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543.
Lim YM, Ahn YH. Burden of family caregivers with schizophrenic patients in Korea. Appl Nurs Res 2003; 16(2): 110-7.
สมจิต หนุเจริญกุล. การดูแลตนเอง: ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: วี.เจ. พริ้นติ้ง; 2540.
เพชรี คันธสายบัว. การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยซ้ำและไม่ป่วยซ้ำ [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
Brandt PA, Weinert C. PRQ: A social support measure. Nurs Res 1985; 30: 277-80.
Francell GC. Family perceptions of burden of care for chronic mentally ill relative. Hosp Community Psychiatry 1998; 39(12): 1296-300.
ขนิษฐา สุขทอง, เพ็ญพักตร์ อุทิศ, รัชนีกร เกิดโชค. ผลของสุขภาพจิตศึกษาครอบครัวแบบกลุ่มต่อภาระการดูแล และการแสดงออกทางอารมณ์สูงของผู้ดูแลผู้ป่ วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 2555; 26(3): 15-27.
Purba JM, Bukit EK. The effect of a psychoeducation intervention on burden among caregivers of persons with schizophrenia in Medan. Proceedings of 1st Public Health International Conference; 2016 Dec 1-2; Medan, North Sumatra, Indonesia.
Tanrıverdi D, Ekinci M. The effect psychoeducation intervention has on the caregiving burden of caregivers for schizophrenic patients in Turkey. Int J Nurs Pract 2012; 18(3): 281-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา