ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการไม่มาตามนัดครั้งแรกหลังการจำหน่ายของผู้ป่วยโรคจิตเภท

ผู้แต่ง

  • เกยูรมาศ อยู่ถิ่น สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • กฤตนัย แก้วยศ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ไม่มาตามนัดครั้งแรก, โรคจิตเภท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการไม่มาตามนัดครั้งแรกหลังการจำหน่ายของผู้ป่วยโรคจิตเภท

วัสดุและวิธีการ : การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ได้รับการจำหน่ายและถูกนัดตรวจติดตามอาการของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 331 ราย ระหว่างเดือนมกราคม - ธันวาคม 2560 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Multiple logistic regression
ผล : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย ร้อยละ 67.4 อายุเฉลี่ย 40.7 + 11.9 ปี อยู่ในเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 13 ร้อยละ 68.6 ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียน/ประถมศึกษา ร้อยละ 34.7 ว่างงาน ร้อยละ 67.7 ใช้สิทธิการรักษาจ่ายเงินเอง ร้อยละ 57.4 ผู้ที่พามารักษาเป็นพ่อ/แม่ มากที่สุด ร้อยละ 44.4 ระยะเวลาการเจ็บป่ วยเฉลี่ย 10.8 + 9.2 ปี พบความชุกของการไม่มาตามนัดครั้งแรกร้อยละ 22.1 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มาตามนัดหลังการจำหน่ายของผู้ป่วยโรคจิตเภท คือ การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ขึ้นไป และอาการก้าวร้าว/วุ่นวายก่อนมานอนโรงพยาบาล และเหตุผลของการไม่มาตามนัด คือ 1) ขาดความรู้เกี่ยวกับ
โรคและการรักษา 2) การรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง 3) ขาดการสนับสนุนทางจากครอบครัว

สรุป : ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใชเ้ พื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาลเพื่อมารับบริการในระบบผู้ป่วยนอก โดยการให้ความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคการรักษาด้วยยา ประโยชน์ของการมารักษาตามนัด และผลเสียของการไม่รับการรักษาตรงนัด

References

ภาวิณี เทพคำราม. ผู้ป่วยจิตเภทพุ่งแพทย์แนะอยู่ร่วมกันได.้ [online]. Available from: http://www.thaihealth.or.th/Content/26076-ผู้ป่วยจิตเภทพุ่งแพทย์แนะอยู่ร่วมกันได้.html [2017 Oct 10].

ธีระ ลีลานันทกิจ. โรคจิตเภทกับกลุ่มอาการนิวโรเล็พติกที่่ร้ายแรง. กรุุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2550.

อำไพขนิษฐ สมานวงศ์ไทย. ปัจจัยที่มีผลต่อการมารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอของผู้ป่วยจิตเภท. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2545: 9(3); 128-39.

Qaspy H. Psychiatric outpatient services: origins and future. Adv Psychiatr Treat 2006: 309-19.

วิชชุดา จันทราษฏร์. สาเหตุและผลกระทบการผิดนัดของผู้ป่วยจิตเวช. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2554: 3(19); 149-59.

Cheng K, Tsang H, Lin C. Factors related to missed first appointments after discharge among patients with schizophrenia in Taiwan. J Formo Med Asso 2014: 113; 436-41.

Akhigbe SI MO, Lawani AO, James BO, Omoaregba JO. Prevalence and correlates of missed first appointments among outpatients at a Psychiatric hospital in Nigeria. Ann Med Health Sci Res 2017: 4(5); 763-8.

สุปวีณ์ ธนอัศานนท์, เอกชัย คำลือ, ธาราทิพย์ อุทัศน์, พร้อมพันธ์ คุ้มเนตร, วัชรี ผลมาก. เหตุผลการผิดนัดของผู้ป่วยเบาหวาน คลินิกเบาหวาน. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2554: 2(19); 85-96.

กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่่ 4. กรุุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

ชฎาภา ประเสริฐทรง. ความรู้สึกทางอารมณ์และความต้องการคำแนะนำ: กรณีศึกษาครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช. วารสารสุุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช 2543: 14(2); 30-9.

ยอดสร้อย วิเวกวรรณ. สุขภาพจิตและพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทของผู้ดูแล [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.

Chii JC, Hsing-Yi C, Pin C, Hsiu HW. Social support and caregiving circumstances as predictors of caregiver burden in Taiwan. A rch Gerontol Geriatr 2009; 48: 419-24.

Neal RD, Hussain-Gambles M, Allgar VL, Lawlor DA, Dempsey O. Reasons for and consequences of missed appointments in general practice in the UK: questionnaire survey and prospective review of medical records. BMC Fam Pract 2005; 6: 47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ