ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดของพยาบาลวิชาชีพ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
ภาวะเครียด, พยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียดของพยาบาลวิชาชีพสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 161 คน ยินยอมเข้าร่วมการวิจัยและตอบแบบสอบถามสมบูรณ์ ระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม พ.ศ.2559 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เพื่อหาความชุกของความเครียด และข้อมูลทั่วไป สถิติการทดสอบไคสแควร์ เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด
ผล : พยาบาลวิชาชีพสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 90.1 อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 40 ปี ร้อยละ 54.7 และมีอายุเฉลี่ย 39.1 ± 10.9 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 54.7 ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 70.8 มีตำแหน่งทางวิชาการระดับชำนาญการร้อยละ 54.0 ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานผู้ป่วยใน ร้อยละ 77.6 และปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 55.9 พยาบาลวิชาชีพมีภาวะเครียดร้อยละ 31.7 และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด คือ เพศ ความเพียงพอของรายได้ และสถานที่ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน
สรุป : พยาบาลวิชาชีพที่มีภาวะเครียด พบความชุกของร้อยละ 31.7 และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด คือ เพศ ความเพียงพอของรายได้ และสถานที่ปฏิบัติงาน จากผลการศึกษานี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนช่วยเหลือในการลดความเครียดและการหาแนวทางการจัดการความเครียดในการทำงาน ซึ่งจะทำให้พยาบาลสามารถเผชิญความเครียดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
References
Lertsupangkakul W. Potential sources and consequences of stress of personel in the National Institute of health [Master of Commerce thesis]. Chonburi: Graduate School, Burapha University; 2012.
Nualsuwan K, Prasittivatechakool A, Prajankett O. Stress and Coping Strategies of The Royal Thai Army New Privates. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2012: 13(2); 72-81.
Wongwan T, Supapong S, Kanchanatawan B. Prevalence and Related Factors of Occupational Stress among Correctional Officers in Maximum Security Prisons. Buddhachinaraj Medical Journal 2015: 32(1); 25-33.
สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2556.
Golshiri P, Pourabdian S, Najimi A, Zadeh HM, Hasheminia J. Job stress and its relationship with the level of secretory IgA in saliva: a comparison between nurses working in emergency wards and hospital clerks. J Pak Med Assoc 2012: 62(3); 26–30.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. สุขภาพจิตของประชาชน พ.ศ.2545 - 2546. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักข่าวพาณิชย์; 2557.
กฤษดา แสวงดี, เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล, ฑิณกร โนรี, นงลักษณ์ พะไกยา. รายงานสรุปโครงการศึกษาติดตามสุขภาพและชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระดับประเทศ กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
Lee J. Job stress and stress coping strategies among male and female Korean nurses. Advanced Science and Technology Letters 2015: 120; 692-5.
Yada H, Abe H, Omori H, Matsuo H, Masaki O, Ishida Y, Katoh T. Differences in job stress experienced by female and male Japanese psychiatric nurses. International journal of mental health nursing 2013: 23(5); 468-76.
Amanda S. Issues in the socialization process of the male student nurse: implications for retention in undergraduate nursing courses. Nurs edu today 2004: 24; 91-7.
Lou JH, Yu HY, Hsu HY, Dai HD. A study of role stress, organizational commitment and intention to quit among male nurses in southern Taiwan. J Nurs Res 2007: 15(1); 43–53.
Ozdemir A, et al. Gender and career: female and male nursing student perceptions of male nursing role in turkey. Health Sci J 2008: 2(3); 153-61.
Nantamongkolchai S. Male nurses: A way of professional life, social condition and adaptation. Master of Arts (Sociology) thesis. Graduate School, Thammasat University; 1995.
Wattanakitkraileart D, Naksawasdi K, Cheewapoonphon C, Sattayawiwat W. Stress management and stress related factors in nurse. Journal of Nursing Science 2010: 28(1); 67-76.
Mwinga C, Mugala D. Prevalence and causes of stress among nurses at Ndola Central Hospital – A nurses’ perspective. International Journal of Novel Research in Healthcare and Nursing 2015: 2(3); 158-65.
Lu DM, Sun N, Hong S, Fan YY, Kong FY, Li QJ. Occupational stress and coping strategies among emergency department nurses of China. Arch Psychiatr Nurs 2015: 29(4); 208-12.
Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry. Annual report 2014. Bangkok: Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry; 2014.
Udomittipong D, Samranvedhya W, Yootin K. Factors related to burnout among nurses in Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry. Journal of Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry 2015: 9(2); 9-23.
Silpakit O. Srithanya stress scale. Journal of Mental Health of Thailand 2010: 16(3); 177-185.
Vichianpradit K, Yingratanasuk T, Lormpong S. Factors related to occupational stress among registered nurses. The 2nd National and International Graduate Study Conference. May 14, 2013 Nonthaburi: Richmond Hotel.
Kasemsan S, Armartpundit T, Kumsuparb S. The stress level of professional nurse in Sakon Nakhon hospital and association with selected factors. Journal of Sirindhorn College of Public Health Khon-Kaen 2011 - 2012: 4(1).
Kane P. Stress causing psychosomatic illness among nurses. Indian journal of occupational and environmental medicine 2009: 13(1); 28-32.
Udomittipong D, Kaewyot K, Yootin K. Burnout syndrome among nurses (Review Article). Journal of Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry 2014: 8(2); 40-53.
McCarthy VJC, Power SBA. Perceived occupational stress in nurses working in Ireland. Greiner Occup Med (Lond) 2010: 60(8); 604-10.
Ramkaew K, Oumtanee A. Working experience of emergency nurses in tertiary care hospital. Journal of The Royal Thai Army Nurses 2014: 15(3); 226-34.
Gray-Toft P, Anderson JG. The nursing stress scale: development of an instrument. Journal Behavioral Assessment 1981: 3; 11-23.
Yang Y, Koh D, Ng V, Lee CY, Chan G, Dong F, Goh SH, Anantharaman V, Chia SE. Self perceived work related stress and the relation with salivary IgA and lysozyme among emergency department nurses. Occup Environ Med 2002: 59; 836-41.
Thangthum W, Kalampakorn S, Lagampan S. Factors predicting job strain among male nurses in Thailand. Journal of Nursing 2013: 41(2); 6-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา