ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมารับบริการซ้ำที่แผนกจิตเวชฉุกเฉิน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
การมารับบริการซ้ำ, จิตเวชฉุกเฉินบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมารับบริการซ้ำที่แผนกจิตเวชฉุกเฉินสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
วัสดุและวิธีการ : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 422 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลลงแบบบันทึกข้อมูล จากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกที่มาใช้บริการที่แผนกฉุกเฉิน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2556 จนถึง 30 กันยายน พ.ศ.2557 จากผู้ป่วยทุกคนที่มารับบริการที่แผนกฉุกเฉินในวันดังกล่าว สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์
ผล : ผู้ป่วยที่มาใช้บริการที่แผนกฉุกเฉิน เป็นเพศชาย ร้อยละ 66.6 อายุเฉลี่ย 37.13 ± 13.36 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือหรือจบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 36.0 ว่างงาน ร้อยละ 55.5 โสด และอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง ร้อยละ 65.4และ 89.0 ตามลำดับ ระยะเวลาเจ็บป่วยส่วนใหญ่ของผู้ป่วย คือ 0 - 5 ปี ร้อยละ 54.5 ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท ร้อยละ 53.8 มีประวัติใช้สารเสพติดร้อยละ 59.9 และมักใช้สารมากกว่า 1 ชนิด ร้อยละ 29.4 ผู้ป่วยที่มาแผนกฉุกเฉินส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเก่าร้อยละ 74.4 และพบว่าเป็นผู้ป่วยที่กินยาสม่ำเสมอ อาการที่ทำให้มาคือ หวาดระแวงหรือหลงผิด ร้อยละ 26.9 ผู้นำส่งโรงพยาบาลส่วนใหญ่คือญาติ ร้อยละ 77.4 พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมาใช้บริการที่แผนกฉุกเฉินซ้ำ คือ ประวัติการนอนโรงพยาบาล
สรุป : ประวัติการนอนโรงพยาบาล มีความสัมพันธ์กับการมาใช้บริการที่แผนกฉุกเฉินซ้ำในช่วง 1 ปี นับตั้งแต่วันที่มาครั้งแรก โดยผู้ป่วยที่เคยนอนโรงพยาบาลมีแนวโน้มที่จะมาใช้บริการซ้ำที่แผนกฉุกเฉิน
References
Psychiatric emergencies in adults. In: Kaplan and Sadock’s synopsis of psychiatry: behavioural sciences/clinical psychiatry. 11th ed. Walters Kluwer: 2015; 774-5.
รายงานสถิติประจำปีงบประมาณ 2554 - 2558. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. กรุงเทพ; 2558.
Sullivan PF, Bulik CM, Forman SD, et al. Characteristics of repeat users of a psychiatric emergency service. Hospital and Community Psychiatry 1993: 44; 376-80.
Schmoll S, Boyer L, Henry JM, et al. Frequent visitors to psychiatric emergency service: Demographic and clinical analysis. Encephale 2015: 41(2); 123-9.
Vandyk AD, VanDenKerkhof EG, Graham ID, Harrison MB. Profiling frequent presenters to the emergency department for mental health complaints: Soci-demographic, clinical, and service use characteristics. Archives of Psychiatric Nursing 2014; 28(6): 420-5.
Spooren DJ, De Bacquer D, Van Heeringen K, et al. Repeated psychiatric referrals to Belgian emergency departments: a survival analysis of the time interval between first and second episodes. European Journal of Emergency Medicine 1997: 4; 61-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา