ผลของการบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่พยายามฆ่าตัวตาย

ผู้แต่ง

  • ลลิตา อันอามาตย์ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม, ภาวะซึมเศร้า, ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่พยายามฆ่าตัวตาย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่พยายามฆ่าตัวตายก่อนและหลังการได้รับการบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม

วัสดุและวิธีการ : เป็นงานวิจัยเชิงกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านเศร้าตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป มีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตายก่อนมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ซึ่งได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษารายบุคคลตามแนวคิดการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมของณัฐิกา ราชบุตร 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค และ 3) แบบประเมินอาการทางจิต Brief Psychiatric Rating Scale (BPRS) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติทดสอบค่าที

ผล : กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีจำนวน 22 คน (ร้อยละ 73.3) อายุอยู่ระหว่าง 41 – 50 ปี จำนวน 11 คน (ร้อยละ 36.7) การศึกษาไม่เกินมัธยมต้นจำนวน 18 คน (ร้อยละ 60) อาชีพเกษตรกรจำนวน 10 คน (ร้อยละ 33.3) สถานภาพสมรสคู่และอยู่ร่วมกันจำนวน 21 คน (ร้อยละ 70) สาเหตุการทำร้ายตนเองจากปัญหาทะเลาะกับคนใกล้ชิด จำนวน 11 คน (ร้อยละ 36.7) และพบว่ามีวิธีการทำร้ายตนเองมากที่สุดคือวิธีกินยาเกินขนาดพบจำนวน 10 คน (ร้อยละ 33.3) และพบว่าภายหลังกลุ่มที่ได้รับการบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม มีระดับภาวะซึมเศร้าลดลงต่ำกว่าก่อนได้รับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

สรุป : ควรนำผลของโปรแกรมการบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่พยายามฆ่าตัวตาย มาใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่พยายามฆ่าตัวตาย รวมทั้งมีการฝึกอบรมให้กับพยาบาลที่ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้นำมาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

References

กรมสุขภาพจิต. แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อการบำบัดทางสังคมจิตใจผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในสถานบริการระดับทุติยภูมิ. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์พระศรีมหาโพธิ์; 2555.

Westbrook D, Kennerly H, Kirk J. Cognitive Behavior Therapy: Skill and Application. Los Angles: SAGE Publication; 2007.

Beck AT, Alford BA. Depression: Clinical, experimental, and theoretical aspects. (2nd ed). Pennsylvania: University of Pennsylvania Press; 2009.

Beck AT. Cognitive Therapy and The Emotional Disorder. New York: International Universities Press; 1976.

ณัฐริกา ราชบุตร. ผลของการให้คำปรึกษารายบุคคลตามแนวคิดการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมต่อการลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย [การศึกษาอิสระ]. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553.

กรมสุขภาพจิต. มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีปัญหาจิตเวชร่วม. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2546.

Austad CS. Counseling Psychotherapy Today Theory, Practice and Research. USA: McGrew Hill Companies; 2009.

Wright JH, et al. Cognitive Therapy for Severe Mental Illness: an Illustrated Guide. USA: American Psychiatric Publishing; 2009.

สุจิตรา กฤติยาวรรณ. การพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษารายบุคคลโดยใช้แนวคิดการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมในนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะซึมเศร้า [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.

Seok MK. Cognitive change process in a group cognitive therapy of depression. Journal of Behavior and Experimental Psychiatry 2003: 34(1); 73-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ