การวิเคราะห์รูปแบบการใช้ยาในผู้ป่วยที่เกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติกโดยใช้เทคนิคกฎความสัมพันธ์

ผู้แต่ง

  • ชมภูนุช สุคนธวารี สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • ชนัฏธิดา เมืองคำ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

กลุ่มอาการนิวโรเล็พติก, เทคนิคกฎความสัมพันธ์, รูปแบบการใช้ยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อหาความสัมพันธ์รูปแบบการใช้ยาร่วมกันในผู้ป่วยที่เกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติกในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาโดยใช้การทำเหมืองข้อมูลแบบเทคนิคการใช้กฎความสัมพันธ์ในการหารูปแบบการใช้ยาร่วมกัน

วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาวิจัยแบบย้อนหลังจากฐานข้อมูลและเวชระเบียนของผู้ป่วยในของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติก ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2548 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2556  ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 91 คน  ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติกตามการบันทึกรหัสวินิจฉัยโรค (ICD10: G21.0) ใช้เทคนิคกฎความสัมพันธ์ด้วย apiriori algorithm ของโปรแกรมเวก้ามาใช้ในการศึกษารูปแบบการใช้ยา ซึ่งโปรแกรมเวก้าเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ algorithm ที่กำหนดไว้ไปใช้ในการทำเหมืองข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ

ผล : ผู้ป่วยในที่เป็นเกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติกจำนวน 41 คน เป็นเพศหญิงจำนวน 17 คน ร้อยละ 41.46 และเพศชายจำนวน 24 คน ร้อยละ 58.54 จากการศึกษารูปแบบการใช้ยา พบรูปแบบการใช้ยาร่วมกัน 5 รูปแบบ ดังนี้ 1) Perphenazine ตามด้วย Trihexyphenidyl  2) Diazepam ตามด้วย Trihexyphenidyl 3) Perphenazine ร่วมกับ Chlorpromazine ตามด้วย  Trihexyphenidyl 4) Perphenazine ร่วมกับ Diazepam ตามด้วย Trihexyphenidyl และ 5) Chlorpromazine  ตามด้วย Trihexyphenidyl ซึ่งรูปแบบการใช้ยาที่พบบ่อยที่สุดคือ Perphenazine ตามด้วย Trihexyphenidyl ร้อยละ 60.98

สรุป : พบผู้ป่วยนิวโรเล็พติกในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา มีจำนวน 41 คน จากผู้ป่วยในทั้งหมด 29,792 คน คิดเป็นร้อยละ 0.14 และในผู้ป่วยที่เกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติกพบว่ารูปแบบการใช้ยาร่วมกันที่พบบ่อยคือ การใช้ยา Perphenazine ตามด้วย Trihexyphenidyl ร่วมกัน และพบว่ามีรูปแบบที่มียา 2 รายการที่เป็นยากลุ่มต้านโรคจิตคือยา Perphenazine, ยา Chlorpromazine ตามด้วย Trihexyphenidyl ร่วมกัน ซึ่งรูปแบบนี้เป็นการใช้ยากลุ่ม typical antipsychotics ร่วมกัน ดังนั้นควรมีการเฝ้าระวังการเกิดกลุ่มอาการนิวโรเล็พติกในผู้ป่วยที่มีการใช้ยากลุ่มดังกล่าวร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการใช้ยารูปแบบดังกล่าวร่วมกัน

References

Crismon ML, Argo TR, Buckley PF. Schizophrenia. In Wells BG, editors. Pharmacotherapy a pathopsysiologic approach. 7th ed. China: The McGraw-Hill; 2008: 1099-122.

Sadock BJ, Sadock VA. Kaplan & sadock’s pocket handbook of clinical psychiatry 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & wilkins; 2005.

Langan J, Martin D, Shajahan P, Smith DJ. Antipsychotic dose escalation as a trigger for neuroleptic malignant syndrome (NMS): literature review and case series report. BMC Psychiatry 2012; 12: 214.

กุลธิดา เมธาวศิน. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวผิดปกติ: วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556; 8(1): 60-70.

Neuroleptic malignant syndrome. [online]. Available from: http://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/bulletin/bul96/v4n1/Neuro [2016 Mar 30].

เกษม ตันติผลาชีวะ. Neuroleptic Malignant Syndrome: การศึกษาย้อนหลัง 5 ปี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2542; 44(3): 189-200.

ธีระ ลีลานันทกิจ. โรคจิตเภทกับกลุ่มอาการนิวโรเล็กติกที่ร้ายแรง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2550.

Su YP, Chang CK, Hayes RD, Harrison S, Lee W, Broadbent M, et al. Retrospective chart review on exposure to psychotropic medications associated with neuroleptic malignant syndrome. Acta Psychiatr Scand 2013.

สมภพ เรืองตระกูล. ตำราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์; 2548.

Sadock BJ, Sadock VA. Concise Textbook of Clinical Psychiatry. 3rd ed. Philadelphia: Lippincott, Williams and Wilkins; 2008.

Stern TA, Fricchione GL, Cassem NH, Jellinek MS, Jerrold FR. Handbook of General Hospital Psychiatry, 6th ed. Philadelphia: Anne Altepeter; 2010.

Taylor D, Paton C, Kapur S. The Maudsley Prescribing Guidelines in Psychiatry. 11th ed. London: Wiley-Blackwell; 2012.

Brian D. Berman, Neuroleptic Malignant Syndrome: A Review for Neurohospitalists 2011.

Chaves R, Gorriz JM, Ramirez J, Illan IA, Salas-Gonzalez D, Gomez-Rio M. Efficient mining of association rules for the early diagnosis of Alzheimer’s disease. Phys Med Biol 2011; 56(18): 6047-63.

Chen Y, et al. Drug Exposure Side Effects from Mining Pregnancy Data. Sigkdd Explorations 2007; 9(1): 22-9.

Tai YM, Chiu HW. Comorbidity study of ADHD: applying association rule mining (ARM) to National Health Insurance Database of Taiwan. Int J Med Inform 2009; 78(12): 75-83.

สายชล สินสมบูรณ์ทอง. การทำเหมืองข้อมูล. กรุงเทพฯ: บริษัทจามจุรีโปรดักส์ จำกัด; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-11

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ