ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
ปัจจัยทำนาย, ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, ภาวะซึมเศร้าบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับภาวะซึมเศร้า ปัจจัยที่สัมพันธ์และปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
วัสดุและวิธีการ : เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารักษา ณ คลินิกซึมเศร้า สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 145 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2556 เครื่องมือที่ใช้คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของ Beck (BDI-II) 3) แบบประเมินความคิดอัตโนมัติทางลบ และ 4) แบบประเมินคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test , One-way ANOVA, Pearson’s product moment correlation coefficient และหาปัจจัยทำนายโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน
ผล : ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรงร้อยละ 47.6 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าคือ เพศ อาชีพ ประวัติการทำร้ายตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัวที่ต่างกัน ความคิดอัตโนมัติทางลบมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความคิดอัตโนมัติทางลบและคุณภาพชีวิต สามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าได้ ร้อยละ 70.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีภาวะซึมเศร้าระดับรุนแรงร้อยละ 47.6 ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับ เพศ อาชีพ ประวัติการทำร้ายตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว ความคิดอัตโนมัติทางลบ และคุณภาพชีวิตมี ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความคิดอัตโนมัติทางลบ และคุณภาพชีวิต โดยผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา