ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยโรคจิตเภทบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท
วัสดุและวิธีการ : การวิจัยนี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง โดยศึกษาในผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท ตามเกณฑ์การวินิจฉัย ICD-10 ที่เข้ามารับบริการที่กลุ่มงานผู้ป่วยนอกจิตเวช สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ระหว่างเดือนเมษายน – เดือนมิถุนายน 2559 จำนวน 394 ราย เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินคุณภาพชีวิต EQ–5D–5L (EuroQoL group – 5 Dimensions – 5 Levels) ฉบับภาษาไทย โดยจันทนา พัฒนเภสัช และคณะ สถิติที่ใช้คือ จำนวน ร้อยละ multiple linear regression analysis
ผล : ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.0 อายุเฉลี่ย 51.4 ± 13.3 ปี รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ร้อยละ 51.8 และมีโรคประจำตัว ร้อยละ 62.4 ความสัมพันธ์กับผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นพ่อ/แม่ ร้อยละ 38.1 ระยะเวลาดูแลผู้ป่วยต่อวันประมาณ 4 ชั่วโมง ร้อยละ 44.2 ระยะเวลารวมในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 71.3 คะแนน EQ-5D-5L Visual Analog Scale (EQ-5D-5L VAS) เฉลี่ย 78.09 ± 16.76 คะแนนอรรถประโยชน์เฉลี่ย 0.56 ± 0.19 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคะแนนอรรถประโยชน์ทางด้านลบคือ อายุ รายได้ ไม่เพียงพอ และการมีโรคประจำตัว ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ EQ-5D-5L VAS ทางด้านบวกคือ เพศชาย และการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช/ปวส ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ทางด้านลบคือ รายได้ไม่เพียงพอ และการมีโรคประจำตัว
สรุป : การวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยใช้ EQ-5D-5L ของผู้ดูแล พบปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อายุ การศึกษา รายได้ และโรคประจำตัว ผลที่ได้จากการศึกษาสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ในทางคลินิก โดยเฉพาะค่าอรรถประโยชน์ที่จะนำมาประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายได้ต่อไปในอนาคต
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา