ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท
คำสำคัญ:
ความเครียด, ผู้ดูแล, โรคจิตเภทบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท
วัสดุและวิธีการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลหลักผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มารับบริการที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 386 ราย ระหว่างเดือน เมษายน – ตุลาคม 2557 เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test - 20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ simple logistic regression
ผล : กลุ่มตัวอย่าง 386 คน เป็นเพศหญิง 247 คน (ร้อยละ 64.0) มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 47.9 ปี (SD = 12.9) ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา/ปวช/ปวส (ร้อยละ 38.1) มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชน (ร้อยละ 38.6) และมีรายได้ต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,001 - 30,000 บาท ร้อยละ 45.1 เกือบทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับผู้ป่ วยในฐานะบิดา/มารดา/พี่/น้อง/บุตร มากที่สุด ร้อยละ 81.87 ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการดูแลผู้ป่ วยมากกว่า 5 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 50.5 และใช้เวลาในการดูแล 4 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 34.7 พบระดับความเครียดของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 61.1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเครียดในผู้ดูแลผู้ป่ วยโรคจิตเภท (p<0.05) ได้แก่ ความสัมพันธ์กับผู้ป่ วยเป็นพี่/น้อง ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่ วยคือ 1 - 2 ปี และระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยต่อวัน คือ 5 - 8 ชั่วโมงต่อวัน
สรุป : ในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท ผู้ดูแลผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการดูแลด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการประเมินความเครียดและการวางแผนให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับผู้ดููแลผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีความเครียดสูง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา