การใช้ยาคาร์บามาซิปีนรูปแบบออกฤทธิ์เนิ่นในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว

ผู้แต่ง

  • เรวดี วงศ์ปการันย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อรภรณ์ สวนชัง Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อทบทวนการใช้ยาคาร์บามาซิปีน (Carbamazepine) ในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว โดยมุ่งเน้นเนื้อหาทางเภสัชกรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะหลักปฏิบัติการเฝ้าระวังและแก้ไขอาการข้างเคียงจากยา เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดในการรักษาด้วยยา
วัสดุและวิธีการ : ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาคาร์บามาซิปีนรูปแบบออกฤทธ์ิเนิ่นในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว จากวารสารวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ผล : โรคอารมณ์สองขั้ว เป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย สูญเสียงบประมาณในการรักษา รวมถึงเป็นปัญหาที่สำคัญต่อสังคม คาร์บามาซิปีนเป็นยาในกลุ่มยากันชักที่ถูกนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วอย่างแพร่หลาย โดยคาร์บามาซิปีนเฉพาะรูปแบบออกฤทธ์ิเนิ่นเท่านั้นที่ไดรั้บการรับรองจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาสำหรับโรค
อารมณ์สองขั้วชนิดที่ 1 ระยะฉับพลัน อย่างไรก็ตามอาการไม่พึงประสงค์จากยาคาร์บามาซิปีน เป็นประเด็นที่ควรให้ความสำคัญและติดตามเฝ้าระวัง เนื่องจากอาการไม่พึงประสงค์สามารถเกิดได้ทั้งชนิดที่สัมพันธ์และไม่สัมพันธ์กับขนาดยา รวมทั้งอาจมีความรุนแรงจนถึงชีวิตได้ อย่างไรก็ตามผื่นแพ้ยารุนแรง (severe adverse skin reaction) บางประเภทจากยาคาร์บามาซิปีน เช่น Stevens-Johnson Syndrome และ Toxic Epidermal Necrolysis สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจยีน HLA-B*1502
สรุป : คาร์บามาซิปีนรูปแบบออกฤทธ์ิเนิ่นเป็นยาทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่ วยโรคอารมณ์สองขั้วในระยะฉับพลัน สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองหรือไม่สามารถทนต่ออาการข้างเคียงของลิเทียมและวาลโปรเอท การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาคาร์บามาซิปีน เป็นประเด็นที่มีความสำคัญที่ต้องติดตามเฝ้าระวัง การเข้าใจกลไกการเกิด อาการแสดง การรักษา การเฝ้าระวังและติดตาม จะทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยสามารถป้องกัน วินิจฉัย และจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงทีเพื่อให้ผู้ป่วยใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-06

ฉบับ

บท

บทความฟื้นฟูวิชาการ