ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยในโรคจิตเภทในสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • ปรียนันท์ สละสวัสดิ์ Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ผู้ป่วยโรคจิตเภท, ผู้ป่วยใน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยในโรคจิตเภท
วัสดุและวิธีการ : การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่รักษาแผนกผู้ป่ ยใน สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ใน
การรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ ได้แก่แบบประเมินอาการทางจิต และแบบสอบถามได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต แบบประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยตนเองของ Zung วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, One-way ANOVA, Pearson’s product moment correlation coefficient และการพยากรณ์โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผล : ผู้ป่วยโรคจิตเภทมีความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 35 รายได้จากการทำงาน โรคประจำตัว ประวัติการฆ่าตัวตาย อาการข้างเคียงของยารักษาโรคจิต ประวัติการฆ่าตัวตายในครอบครัว
ประวัติโรคซึมเศร้าในครอบครัว มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ P< .02, .02, .001, .01, .03 ,.02 ตามลำดับ การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<.001 เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<.001 และพบว่าเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต, การสนับสนุนทางสังคม, ผู้ป่วยมีประวัติฆ่าตัวตาย, อาการข้างเคียงของยารักษาโรคจิต และรายได้จากการทำงานเป็นปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : ผู้ป่วยโรคจิตเภทมีความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 35 เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต, การสนับสนุนทางสังคม, ผู้ป่วยมีประวัติฆ่าตัวตาย, อาการข้างเคียงของยารักษาโรคจิต และรายได้จากการทำงาน เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-06

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ