ระบาดวิทยา และผลการรักษาผู้ป่วยถอนพิษสุราด้วยยา Lorazepam ชนิดกิน ในโรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • ปริยสุทธิ์ อินทสุวรรณ โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ภาวะถอนพิษสุรา, ยาลอร่าซีแพม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระบาดวิทยาของผู้ป่วยถอนพิษสุรา และผลการรักษาด้วยยา lorazepam ชนิดกิน
วัสดุและวิธีการ : การศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยถอนพิษสุราที่ได้รับการรักษาเป็นผู้ป่วยในและได้ยา lorazepam ชนิดกินเป็นยาหลัก ของโรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ จำนวน 69 ราย เก็บและประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดย ใช้สถิติร้อยละในการเปรียบเทียบ
ผล : ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชาย สถานภาพสมรส อายุระหว่าง 41-50 ปี อาชีพรับจ้างใช้แรงงาน การศึกษาชั้นประถมศึกษาตอนปลาย อาศัยอยู่ในจังหวัดสระแก้ว เริ่มดื่มสุราที่อายุ 21-30 ปี ดื่มเหล้าขาวร้อยละ 85.5 ในปริมาณวันละประมาณ 1 ขวด ระยะเวลาที่ดื่ม 11-20 ปี ผู้ป่วยร้อยละ 91.3 เคยมีอาการลงแดงสุรามาก่อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการผิดปกติ ประมาณ 1-10 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล โดยมีญาติสายตรงและคู่สมรสนำส่ง อาการที่พบมาก คือ อาการหูแว่ว ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ Hypokalaemia Liver Function Test ผิดปกติ และ Electro Cardio Gram ผิดปกติ
คะแนน CIWA-Ar มีแนวโน้มสูงในสามวันแรก และ CIWA-Ar <10 ในวันที่ 4 ของการรักษา ปริมาณการใช้ยา Lorazepam เฉลี่ยทั้ง 7 วันอยู่ที่ 21.09 mg/day haloperidol มีปริมาณการใช้ที่ 5-15 mg ในช่วงสองวันแรก มีผู้ป่วย 2 รายได้ยาฉีด diazepam เพราะมีอาการชักจากการลงแดงสุรา ภาวะแทรกซ้อนขณะรักษาตัวที่พบมากคือ ภาวะ hypokaleamia ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยต่อรายอยู่ที่ 12,247 บาท มีระยะวันนอนเฉลี่ย 16.9 วัน หลังการรักษาภาวะแทรกซ้อนดีขึ้น มีผู้ป่วย 2 รายถูกส่งตัวไปรักษาโรงพยาบาลทั่วไปด้วยภาวะติดเชื้อ และ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
สรุป : ผู้ป่วยทั้ง 69 รายมีข้อมูลทางระบาดวิทยา ไม่แตกต่างจากการศึกษาอื่นๆ และผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาภาวะลงแดงสุราและภาวะสับสนจากการลงแดงสุรา โดยใช้ยา lorazepam เป็นยาหลัก ร่วมกับยา และการรักษาอื่นๆ ได้ดี มีผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อย และอาการดีขึ้นเร็วกว่าการศึกษาอื่นๆ ในประเทศไทย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-06

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ