ผลการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุรา
คำสำคัญ:
ภาวะถอนพิษสุรา, การรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุราบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุราในโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์
วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยมีกลุ่มควบคุมแบบจับคู่ (Descriptive case control study) ในผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุราที่รับไว้รักษาแบบผู้ป่วยใน ระหว่างเดือนตุลาคม 2554-กันยายน 2555 จำนวน 70 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุรามากกว่า 5 วัน จำนวน 35 คน กลุ่มที่ 2 เป็นผู้ป่วยที่พ้นภาวะถอนพิษสุราภายใน 5 วัน ทั้ง 2 กลุ่มได้รับการรักษาตามแนวปฏิบัติ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ รวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึกระดับอาการของภาวะถอนพิษสุรา บันทึกการรักษาด้วยยา ผลการตรวจทางห้อง
ปฏิบัติการ และแบบบันทึกภาวะแทรกซ้อนทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลาถอนพิษสุราใช้ Chi square test แสดงระดับความสัมพันธ์เป็นค่า Odds ratio และช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% (95%CI)
ผล : ผู้ป่วยทั้งหมดเป็นเพศชาย อายุระหว่าง 26-60 ปี อายุเฉลี่ย 38.5 ปี (SD=7.9) เป็นโรคติดสุรา ร้อยละ 44.3 รับไว้รักษาครั้งแรก ร้อยละ 84.3 ได้รับยากลุ่ม Benzodiazepine ระหว่าง 20-280 มิลลิกรัมต่อวันเมื่อเทียบกับยา Diazepam ระยะเวลาที่มีภาวะถอนพิษสุรา (AWS score > 5 คะแนน) ระหว่าง 1-20 วัน โดยเฉลี่ย 5.0 วัน (SD=5.4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีภาวะถอนพิษสุรามากกว่า 5 วัน คือภาวะแทรกซ้อนทางกาย (P=.003, OR=4.750, 95%CI=1.542, 13.740) และระยะเวลาที่มีภาวะถอนพิษสุราระดับรุนแรง (Delirium Tremens : DTs)
(P=.001, OR=13.115, 95%CI=3.770, 45.629) ภาวะแทรกซ้อนทางกายพบร้อยละ 62.8 ของผู้ที่มีภาวะถอนพิษสุรา ทั้งหมด กลุ่มที่มีภาวะถอนพิษสุรามากกว่า 5 วัน มีภาวะถอนพิษสุราระดับรุนแรงเฉลี่ย 4.5 วัน ส่วนกลุ่มที่มีภาวะถอนพิษสุราภายใน 5 วัน มีภาวะถอนพิษสุราระดับรุนแรงเฉลี่ย 1.2 วัน โรคร่วมทางจิตเวชที่พบคือภาวะซึมเศร้าร้อยละ 11.4 พบกลุ่มอาการของ Wernicke-Korsarkof’s syndrome ร้อยละ 17.1
สรุป : การประเมินภาวะแทรกซ้อนทางกายที่รวดเร็วและการลดความรุนแรงของภาวะถอนพิษสุรา มีความสำคัญในการลดเวลาของภาวะถอนพิษสุราได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา