การรักษาผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำด้วยยาและการฝึกสติ : รายงานผู้ป่วย 2 ราย

ผู้แต่ง

  • พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อรายงานผลการรักษาผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำด้วยการฝึกสติในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาแล้วยังไม่ดีขึ้น
วัสดุและวิธีการ : ผู้ป่วยสองรายได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำที่เคยได้รับการรักษาด้วยยาแล้วยังไม่ดีขึ้นจากการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว ได้รับการฝึกสติซึ่งประยุกต์มาจาก
คำสอนของพระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช ประกอบด้วย 3 กระบวนการคือ 1. รับรู้อารมณ์และความคิด 2. เบี่ยงเบนอารมณ์และความคิด และ 3. รับรู้อารมณ์และความคิดเฉยๆ โดยผู้ป่วยได้รับการฝึกแบบรายบุคคล สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 45-60 นาที ติดต่อกันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ประเมินผลการรักษาด้วย Clinical Global Impression-improvement (CGI-I) และ Global Assessment of Functioning (GAF) score ก่อนเข้ารับการบำบัด และหลังจากบำบัดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อ 6 สัปดาห์
ผล : หลังจากการบำบัดด้วยสติที่ 6 สัปดาห์ ผู้ป่วยทั้งสองรายมีอาการย้ำคิดลดลงและสามารถหยุดอาการย้ำทำได้มากขึ้น คะแนนจาก CGI ของผู้ป่วยทั้งสองรายลดลงจาก 6 เป็น 2 และจาก
5 เป็น 2 คะแนนตามลำดับ คะแนน GAF ของทั้งสองราย เพิ่มขึ้นจากประมาณ 51-60 เป็น 81-90 คะแนน ผู้ป่วยทั้งสองรายสามารถทำงานได้และสามารถหยุดการรักษาด้วยยาหลังจากกรบำบัดแล้ว 18 เดือนและ 12 เดือน ตามลำดับ
สรุป : การฝึกสติสามารถช่วยเพิ่มการรับรู้ต่ออาการย้ำคิดและสามารถหยุดพฤติกรรมย้ำทำได้ อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-06

ฉบับ

บท

รายงานเบื้องต้น