การศึกษาภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในบุคลากรสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
คำสำคัญ:
ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม, โรคหัวใจและหลอดเลือด, เกณฑ์การศึกษาเมตาบอลิกซินโดรม NCEPATP IIIบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะและองค์ประกอบของเมตาบอลิกซินโดรมของบุคลากรสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
วัสดุและวิธีการ : การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษาภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของบุคลากรสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ประจำปี 2553 จำนวน 443 คน ด้วยเกณฑ์ The National Cholesterol Educational Program Adult Treatment Panel III (NCEP-ATP III) โดยใช้สถิติ, ร้อยละ, t-test และ Chi-square
ผล : บุคลากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 19-60 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 66.8 เพศชายร้อยละ 33.2 พบภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในประชากรทั้งหมดพบร้อยละ 13.3 พบเพศชายมากกว่าเพศหญิง (ร้อยละ 17.7 และ 11.2 ตามลำดับ) องค์ประกอบภาวะเมตาบอลิกซินโดรมที่พบมากที่สุดในเพศชายคือ ความดันโลหิตสูง ระดับไขมัน ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง เส้นรอบเอวเกิน ระดับไขมันเอชดีแอล-คลอเลสเตอรอลต่ำ และระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่วนเพศหญิงพบมากที่สุด คือ เส้นรอบเอวเกินมาตรฐาน ระดับไขมันเอชดีแอล-คลอเลสเตอรอลต่ำ ความดันโลหิตสูง ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูง และระดับน้ำตาลในเลือดสูง ตามลำดับ พบว่าอายุและเพศไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะเมตาบอลิกซินโดรม แต่พบว่าภาวะเมตาบอลิกซินโดรมมีความสัมพันธ์กับค่าดรรชนีมวลกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 และผลการเปรียบเทียบระหว่างเพศและองค์ประกอบภาวะเมตาบอลิกซินโดรม พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทั้งภาวะเอวเกิน ระดับไขมัน ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ความดันโลหิตสูง และระดับไขมันเอชดีแอล คลอเลสเตอรอลต่ำ แต่พบไม่แตกต่างกันในภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง
สรุป : พบภาวะเมตาบอลิกซินโดรมในบุคลากรสถาบันฯ พบร้อยละ 13.3 และมีความสัพัมธ์กับดัชนีมวลกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สถาบันฯ ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะนี้ ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากร
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา