ระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาลและปัจจัยบางประการกับการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • กิตต์กวี โพธิ์โน

คำสำคัญ:

โรคจิตเภท, การกลับมารักษาซ้ำ, ระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาลกับการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลของผู้ป่ วยจิตเภท รวมถึงปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการกลับมารักษาซ้ำ
วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาแบบควบคุม (case control study) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง (cases) ได้จากจำนวนผู้ป่วยจิตเภทที่กลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 90 วัน จำนวนทั้งสิ้น 91 ราย และกลุ่มควบคุม (control) จำนวนทั้งสิ้น 100 ราย เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนระยะเวลาย้อนหลัง 1 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2554 ถึง 31 ธันวาคม 2554 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ใช้สถิติ logistic regression analysis ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม
ผล : ข้อมูลประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 89.01) กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 30-39 ปี (ร้อยละ 41.36) สถานภาพโสด (ร้อยละ 77.48) ระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 53.40) ส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบอาชีพ (ร้อยละ 48.32) ภูมิลำเนา จังหวัดนครพนม (ร้อยละ48.16) และวินิจฉัยเป็นโรคจิตเภท ชนิดหวาดระแวง (ร้อยละ 92.14) ระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ยของกลุ่มที่กลับมารักษาซ้ำ (16.27 วัน) น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่กลับมารักษาซ้ำ (21.10 วัน) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล และจำนวนครั้งของการกลับมารักษาในโรงพยาบาล (p<.05)
สรุป : ระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาลที่ลดลง มีผลกระทบต่อกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภทมากขึ้น การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนจำหน่ายและระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการรักษาแบบผู้ป่วยในควรให้ความสำคัญ เพื่อลดโอกาสการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-06

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ