ผลโปรแกรมการใช้อาหารเหนือยอดนิยมร่วมกับการเสริมสร้างสุขภาพวิถีพุทธ ต่อการควบคุม ระดับความดันโลหิตสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างสุขภาพวิถีพุทธ, ความดันโลหิตสูง, ผู้สูงอายุ, อาหารเหนือยอดนิยมบทคัดย่อ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้สูงอายุ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยอาหารสุขภาพพื้นบ้านและสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมวิถีพุทธ เป็นวิธีการจัดการที่ถูกนำมาใช้เหมาะสมกับบริบทสังคมภาคเหนือตอนบน การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการใช้อาหารเหนือยอดนิยมร่วมกับการเสริมสร้างสุขภาพวิถีพุทธต่อการควบคุมความดันโลหิตในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย จำนวน 44 ราย เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 ราย เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการใช้อาหารเหนือยอดนิยมร่วมกับการเสริมสร้างสุขภาพวิถีพุทธ 2) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง และ 3) แบบบันทึกระดับความดันโลหิต ผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติที
ผลการศึกษาพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับความดันโลหิตซิสโตลิคและความดันโลหิตไดแอสโตลิคต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นโปรแกรมการใช้อาหารเหนือยอดนิยมร่วมกับการเสริมสร้างสุขภาพวิถีพุทธ นำสู่การปฏิบัติตนในด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ที่เหมาะสมส่งผลต่อการควบคุมระดับความดันโลหิตในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในภาคเหนือของไทย
References
Aunpromee, S. (2013). Theory at a glance: a guide for health promotion practice. Academic welfare Praboromrajchanok Institute.
Burns, N., & Grove, S. K. (2009). The practice of nursing research: Conduct, critique, and Utilization (6th ed.). Saunders Elsevier.
Bazzano, L. A., Green, T., Harrison, T. N., & Reynolds, K. (2013). Dietary Approaches to Prevent Hypertension. Cure Hypertension, 15(6), 694–702.
Chansree, N., Nateetanasombat, K., & Kasiphol, T. (2020). The effects of self-management program among uncontrolled hypertensive patients. Huawchiew Chalermprakiet Science and Technology Journal, 6(2), 58-68. (in Thai).
Deesuwan, P., Jongsiri, N., Pongpan, S., Kamnuan, P., Sriwongpan, P., & Intem, N. (2021). Development of Highly Popular local Food for Enhancing Health of Aging People in Upper Northern Thailand. Journal of Health Science. 30(3), 415- 425. (in Thai)
Division of Non Communicable Diseases. (2023). Data of Non- Communicable Diseases-NCDs.
http://thaincd.com/2016/mission/documents
Hookheaw, S., & Neamsuvan, O. (2020). Ethnopharmacology in Treatment of Hypertension from
Yala Province, Thailand. Srinakharinwirot University Science Journal. 36(1), 15 - 31.
Ketveerapong, P., Siritammo, S. P., Chanruam, T., & Insrichuen, S. (2021). Management of Body of Acknowledge of Highly Popular Local Food base on Nutrition Principle for Enhancement Health of Elder in Upper the North Part. Nakhon Lampang Buddhist Colleges Journal, 9(2), 167- 182. (in Thai)
Kiatsinsap, J., Thotong, S., & Yamboonruang, T. (2019). Effects of The Stress Coping Program on Coping Abilities and Stress Level of the Elderly in Mueang Nonthaburi District. Kuakarun Journal of Nursing, 26(2), 66-77. (in Thai)
Kittivanno, B. P., Sricomepa, R., Damjutti, K., & Kaewtunkham, K. (2021). Local Food: Process of Management of Highly Popular Local Food Based on Nutritious Principle for Health Enhancement of Aging People in Upper the Northern, Thailand. Journal of MCU Peace studies, 9(5), 1641-1652. (in Thai)
Ministry of Public Health. (2022). Guide to screening and evaluating the health of elderly 2022.
http://www.tako.moph.go.th/takmoph2016/file_download/file_20210129131952.pdf.
Monica, K. L., & Vladimir, V. M. (2016). Hypertension and physical exercise: The role of oxidative stress. Madicina, 52(1), 19 - 27.
National Statistical Office. (2022). Health Behavior of Population Survey 2021. https://nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/wPhrae Provincial Public Health office. (2023). Health Data Center service. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6966b0664b89805a484d
Singkhum, U., & Kunwaradisai, N. (2014). Process and Effect of Buddhism Holistic well – being Promotion. Journal of the Association of Researchers, 19(1), 73-85. (in Thai)
Suannum, S., Sittisart, V., & Rasiri, T. (2023). Effects of the Empowerment Program on Health Behaviors and Blood Pressure Levels in Suspected Hypertensive Patients in Ban Sao Hin Health Promoting Hospital's Area, Wat Prik Subdistrict, Mueang District, Phitsanulok Province. The Journal of BoromarjonaniCollege of Nursing, Suphanburi, 6(1), 29-4 (in Thai)
Thongmee, O., Rodhetbhai, C., & Siltragool, W. (2015). Lanna Food: The Cultural Management
Strategy for the Creative Economy Development. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities, and Arts, 15(3), 105-119.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด