ประสิทธิผลของการใช้แนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต (MEWS) ในการประเมินมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • รัตน์ดา อุดมธาดา พยาบาลวิชาชีพชํานาญการ, โรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลําปาง
  • ภาณุมาศ คุณยศยิ่ง อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รุ่งกาญจน์ วุฒิ อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง  (Quasi-experimental research) ชนิด 2 กลุ่มเปรียบเทียบคนละช่วงเวลา (Two group Interrupted time design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลของการใช้แนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต (MEWS) ในการประเมินมารดาหลังคลอด และ 2) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้แนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ 1) มารดาหลังคลอดทันที – 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดที่อยู่ในห้องคลอด โรงพยาบาลเกาะคา จังหวัดลำปาง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลตามปกติตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม 2566 จำนวน 55 คน และกลุ่มทดลองที่ใช้แนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 55 คน 2) พยาบาลวิชาชีพห้องคลอดจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกแนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต แบบประเมินทักษะและความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ประเมินความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญทางสูติกรรม จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าเท่ากับ 0.67-1.00 แบบบันทึกแนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต (MEWS) หาความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมิน 2 คน วิเคระห์ด้วยสัมประสิทธิ์โคเฮนแคปปา เท่ากับ 0.92 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบ Chi-square test และ Fisher’s exact  test  

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองไม่เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ในขณะที่กลุ่มควบคุมเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด ร้อยละ 5.45 พยาบาลวิชาชีพมีทักษะในการบันทึกผลการประเมินได้ถูกต้อง ร้อยละ 100 และให้การพยาบาลตามระดับสัญญาณเตือน ร้อยละ 82.72 และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.40, S.D= 0.59) จากผลการวิจัย ผู้วิจัยวางแผนนำแนวทางการประเมินสัญญาณเตือนก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤต (MEWS) ไปใช้ในหอผู้ป่วยพิเศษหลังคลอดในโรงพยาบาลเกาะคา เพื่อเพิ่มคุณภาพการพยาบาลในการดูแลมารดาหลังคลอดได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น

References

Anusornteerakul, S. and Harnkla, S., (2022). Nursing postpartum mothers with complications. Klungnana. (In Thai).

Chumchuen, P. & Duangartit, N. (2021). Early Warning System Scores for Clinical Deteriorationin Hospitalized Patients. Region 4-5 Medical Journal, 40(2), 307-322. (In Thai).

Jantarat, P., Rattanaphan, P., Kunsete, P. & Thiengchanya, P. (2023). Development of Early Warning Sign Model in High-Risk Patient, Songkhla Hospital. Journal of Health Science, 32(1), 109-119. (In Thai).

Koh Kha Hospital Delivery Room Work Group. (2022). Annual report. Delivery room work group Ko Kha Hospital Lampang Province. Delivery room work group Koh Kha Hospital Lampang Province. (In Thai).

Koh Kha Hospital Obstetric Work Group. (2022). Annual report. Obstetric Patient Care Team. The 1st meeting On January, 17, 2022.

Lertbannapong, T. (2013). Primary Postpartum Hemorrhage. P.A. Living. (In Thai)

McHugh, M. L. (2012). Interrater Reliability : The Kappa Statistic. Biochemia Medica, 22(3),276 - 282.

Nagachuay, P., Inprasong, L., Tantrakul, W., Thongbai, P. & Jantanu, P. (2017). MEWS: Adult Pre-Arrest Signs and the Role of Nurses. Siriraj Medical Bulletin, 10(3), 186–190. (In Thai).

Nursing Division, Ministry of Public Health. (2018). Roles and duties of professional nurses. Tawan media publishing house. (In Thai).

Phanthusat, N. and Thongyu, R. (2017). Nursing Practice Guidelines According to Patient Safety Standards. Thai Red Cross Nursing Journal, 10(2), 1-13. (In Thai).

Pinpo, S. and Wattananukulkiat, S. (2021). Development of Clinical Nursing Practice Guidelines to Prevent and Cure of the 2-24 hours Postpartum Hemorrhage in Obstetrics Ward, Khonkaen Hospital. In The 22th National Graduate Research Conference: NGRC. Pp 134-147. March, 25,2021: Khonkaen. (In Thai).

Prasitwattanaseree P. (2022). Nursing and Obstetrics: Women with Risk and Complications. 2nd ed. Siampimnana. (In Thai).

Sansiriphun N. and Baosoung C. (2019). Nursing and midwifery: women with complications. 2nd ed. Smart coating and service. (In Thai).

The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). (2017). Patient and Public Health Personnel Safety Strategy: Patient and Personnel Safety (2P Safety) 4 years (2017-2020).

The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization).The Healthcare Accreditation Institute (Public Organization). (2023). Synergy for Safety and Well-being. Sahamitr Printing & Publishing. (In Thai).

Tummikakul, Y. (2020). Effects of Nursing Practice Guideline Implementation by Using Modified Early Warning Scores Recording for Sepsis Patients of Inpatient Department, Thayang Hospital, Phetchaburi Province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 3(1), 31-46. (In Thai).

Umar A, Ibrahim S, Liman I, Chama C, Ijaiya M, Mathai M, et al. (2022) Implementation and evaluation of obstetric early warning systems in tertiary care hospitals in Nigeria. PLOS Glob Public Health 2(7): Retrived 15 October, 2023, from: https://doi.org/10.1371/journal. pgph.0000225

Wanitpongpan, P., Russameecharoen, K. & Lertbannapong, T. (2018). Modern textbook of obstetrics. P.A Living. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-08