การพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือด หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลแพร่
บทคัดย่อ
การวางแผนจำหน่ายเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยในการดูแลและจัดการกับตนเองได้ภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล การศึกษาเชิงพัฒนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือดในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลแพร่ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลแพร่ ประกอบด้วย ทีมพัฒนาเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ จำนวน 5 คน และทีมผู้ปฏิบัติ เป็นพยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แนวปฏิบัติในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือด แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ แบบตรวจสอบการปฏิบัติการวางแผนจำหน่าย และแบบบันทึกข้อมูลอุบัติการณ์โดยเครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบความเป็นปรนัยจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา แบบตรวจสอบการปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายของพยาบาลวิชาชีพ เท่ากับ 1.0 และค่าความเชื่อมั่นของแบบตรวจสอบการปฏิบัติการวางแผนจำหน่ายของพยาบาลวิชาชีพ เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่าคะแนนการปฏิบัติตามแนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือด ภายหลังการพัฒนาคุณภาพ ระยะแรกรับและระยะอาการคงที่ปฏิบัติถูกต้องและครบถ้วน ร้อยละ 100.00 ส่วนระยะจำหน่ายปฏิบัติได้ถูกต้องและครบถ้วนร้อยละ 83.33 ไม่เกิดอุบัติการณ์การกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันและจำนวนวันนอนเฉลี่ยในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่มีปัสสาวะปนเลือด ลดลงจากจำนวน 5.21 วันเป็น 4.80 วัน
References
American Urological Association. (2021). Management of benign prostatic hyperplasia /lower urinary tract symptoms. American Urological Association.
Avellino, G. J, Bose, S., & Wang, D. S. (2016). Diagnosis and management of hematuria. Surgical Clinics, 96(3), 503-515.
Kawleang, K, Rachaneekul, P. & Pukbunmee, R. (2012). Developing a model for planning the discharge of premature infants that promotes continuous care. Journal of Health TH Science Research, 6(1), 27-39. (in Thai).
Ketnoi, Ch., Abhicharttibutra, K., & Chitpakdee, B. (2019). Quality Improvement of Discharge Planning for Patients with Head and Neck Cancer, Eye Ear Nose and Throat Ward Buddhachinaraj Phitsanolok Hospital: Nursing journal, 47(2), 417-426. (in Thai).
Lin, C., Cheng, S., Shih, S, Chu, C., & Tjung, J. (2012). Discharge planning. International Journal of Gerontology, 6(4), 237-240.
McLaughlin C. P., & Kaluzny, A. D. (1999). Continuous quality improvement in health care: Theory, Implementation, and application. Maryland, U.S.A.: Aspen.
Nursing Division (1996). Guidelines for patient discharge planning. Thammasat University. (in Thai).
Patong, W., Pomrin, R., Sutumkittikun, S., & Somjit, C. (2020). The Effectiveness of Discharge Planning for Pediatric Patients with Pneumoniain Phrae Hospital. Journal of the Phrae Hospital.28(2), 36-49. (in Thai).
Phrae Hospital Medical Records Unit. (2020). Medical records. Phrae Hospital. (in Thai).
Ritklar, L. (2018). Results of discharge planning by using D-METHOD on re-admission and satisfaction in patients with coronary artery disease. TUH Journal online, 3(3), 19-27. (in Thai).
Saleem, M. O., & Hamawy, K. (2022). Hematuria. StatPearls Publishing. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK534213
Srisathitnarakun. B. (2007). Nursing research methods. (5th ed). Chulalongkorn University. (in Thai).
Thaidamrong, T. (2020). Prostate cancer knowledge. Retrieved from https://thaiprostatecancer.com/what-term-cause-19092020. (in Thai)
Thammikabowon, S. (2011). Holistic Nursing: Case Studies: Holistic Nursing for Cancer Patients, Holistic Nursing for Heart Failure Patient. Nontaburee: Pimluk print.
Wong, E. L., Yam, C. H., Cheung, A. W., Leung, M., Chan, F. W., Wong, F. Y., & Yeoh, E.-K. (2011). Barriers to effective discharge planning: A qualitative study investigating the perspectives of frontline healthcare professionals. BMC Health Services Research, 11(1), Article 242. https://doi.org/10.1186/1472-6963-11-242
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด