ผลของการใช้รูปแบบการดูแลแบบผสมผสานในการจัดการอาการปวดและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเมืองปอน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
บทคัดย่อ
ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง ทำให้สูญเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลแบบผสมผสานในการจัดการอาการปวด และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเมืองปอน เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อมสามารถจัดการอาการปวดได้อย่างเหมาะสม และสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ รูปแบบการดูแลแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การนวดเข่า แช่เท้า พอกเข่าด้วยสมุนไพร และการแช่น้ำพุร้อนที่อุณหภูมิ 38 – 42 องศาเซลเซียส คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการติดตามการประเมินผลคือ แบบประเมินอาการปวดและแบบบันทึกปริมาณการรับประทานยาแก้ปวด และแบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired Samples T-Test
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดูแลแบบผสมผสานสามารถลดระดับอาการปวด โดยมีค่าเฉลี่ย pain score ก่อนรับบริการแบบผสมผสานเท่ากับ 7.12 (SD.=1.78) ค่าเฉลี่ย pain score หลังรับบริการแบบผสมผสานเท่ากับ 5.27 ( SD.=1.88) ลดการใช้ยาแก้ปวดในหนึ่งเดือนอย่างมีนัยสำคัญที่ p < .01 โดยค่าเฉลี่ยจำนวนการใช้ยาแก้ปวดต่อเดือน ก่อนรับบริการแบบผสมผสานเท่ากับ 26.16 (SD.= 34.36) หลังรับบริการแบบผสมผสานเท่ากับ 16.86(SD.=24.93) นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มความสามารถในการเดิน และเพิ่มความสามารถในการนั่งยองได้มากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญที่ p < .05 ดังนั้นผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อมที่มีข้อจำกัดในการใช้ยาแก้ปวด สามารถดูแลแบบผสมผสานจะทำให้อาการปวดลดลง และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น
References
American Academy of Orthopaedic Surgeons. (2022). Treatment of osteoarthritis of the knee: Evidence-based guideline (3rd ed.). American Academy of Orthopaedic Surgeons.
Biillee, A. (2010). The effect of knee pain on physical function and quality of life in older adults. Journal of Pain, 11(10), 1008-1014.
Bovornkitti, S. (2011). Benefits and disadvantages from bathing in mineral water. Thammasat Medical Journal, 11(2), 132-133. http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG5550011 (in Thai).
Chen, A., Gupte, C., Akhtar, K., Smith, P., & Cobb, J. (2012). The global economic cost of osteoarthritis: How the UK compares. Arthritis, 2012, 698709. https://doi.org/10.1155/2012/698709
Chiranthanut, N., Hanprasertpong, N., & Teekachunhatean, S. (2014). Thai massage, and Thai herbal compress versus oral ibuprofen in symptomatic treatment of osteoarthritis of the knee: A randomized controlled trial. BioMed Research International, 2014, 490512. https://doi.org/10.1155/2014/490512
Cohen, J. (1977). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Academic Press.Department of Mineral Resources Thailand. (2016). Types and benefits of hot spring bathing. http://www.dmr.go.th/main.php?filename=type (in Thai).
Dillon, C. F., Rasch, E. K., Gu, Q., & Hirsch, R. (2006). Prevalence of knee osteoarthritis in the United States: Arthritis data from the Third National Health and Nutrition Examination Survey 1991-94. The Journal of Rheumatology, 33(11), 2271-2279.
Dissara, D., Sornlom, K., & Junwin, B. (2023). Effect of Herbal Poultice for Knee Pain Relief in Patients with Osteoarthritis of Knee: Systematic Review. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospital, 38(1). (in Thai).
Felson, D. T., Naimark, A., Anderson, J., Kazis, L., Castelli, W., & Meenan, R. F. (1987). The prevalence of knee osteoarthritis in the elderly. The Framingham Osteoarthritis Study. Arthritis and Rheumatism, 30(8), 914-918. https://doi.org/10.1002/art.1780300811
Jordan, J. M., Helmick, C. G., Renner, J. B., Luta, G., Dragomir, A. D., Woodard, J., Fang, F., Schwartz, T. A., Abbate, L. M., Callahan, L. F., Kalsbeek, W. D., & Hochberg, M. C. (2007). Prevalence of knee symptoms and radiographic and symptomatic knee osteoarthritis in African Americans and Caucasians: The Johnston County Osteoarthritis Project. The Journal of Rheumatology, 34(1), 172-180.
Khumsab, S. (2020). The study effect of herbal poultice on pain treatment in osteoarthritis of elderly at Wangsa health promoting hospital, Sri Prachan district, Suphanburi province. Academic Journal of Eastern University of Management and Technology, 17(2), 275-284. (in Thai).
Kensila, U., & Janthasri, A. (2021). The Effects of Thai Herbal Paste on Knee Pain in Elderly with Osteoarthritis. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 29(4). (in Thai).
Parasin, N., Khumful, S., & Thammachai, A. (2017). Immediate effects of Thai herbal hot pack treatment on pain and lower back flexibility: A pilot study. Songklanagarind Medical Journal, 35(3), 67-71. (in Thai).
Sornkaew, W. (2018). Aquatic Therapy Center [Unpublished bachelor's thesis]. Department of Architecture, Faculty of Architectural Sciences, Sripatum University. (in Thai).
Surin, D., & Saita, S. (2023). Effectiveness of self-management program by knee exercises in combination with hot compress in elderly with knees osteoarthritis in Primary Care Unit, Hang Chat Hospital, Lampang Province. Journal of Physical Therapy, 45(2), 97-111. (in Thai).
Udomchoke, V. (2014). Community participatory action research for hot spring tourism development in the Western Thailand [Unpublished doctoral dissertation]. Srinakharinwirot University. http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=RDG5550011 (in Thai).
Weerasirirat, P., Hongto, K., Meunjai, P., & Namsawang, J. (2015). Effect of physical therapy management in monk with OA knee. http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/2559_090.pdf (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด