ผลของการใช้แนวปฏิบัติการนวดปากร่วมกับการดูแลแบบแกงการูโดยมารดาในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ใส่สายให้อาหารต่อพฤติกรรมการดูดนมมารดา โรงพยาบาลลำปาง
คำสำคัญ:
ทารกเกิดก่อนกำหนด, การนวดกระตุ้นการดูดกลืน, การดูแลแบบแกงการูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองวัดผลสองกลุ่มเพื่อเปรียบเทียบผลการใช้แนวปฏิบัติการนวดปากร่วมกับการดูแลแบบแกงการูโดยมารดา ต่อพฤติกรรมการดูดนมมารดาในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ใส่สายให้อาหาร กับกลุ่มที่ได้รับการนวดแบบการพยาบาลตามมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ ทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลลำปาง จำนวน 70 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 35 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดแบบเจาะจง โดยกลุ่มควบคุมได้รับการนวดแบบการพยาบาลตามมาตรฐาน กลุ่มทดลองได้รับแนวปฏิบัติการนวดปากร่วมกับการดูแลแบบแกงการูโดยมารดา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.87 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ สถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูดนมมารดาของทารกเกิดก่อนกำหนดระหว่างกลุ่มทดลอง (Mean= 1.74 ,S.D.=0.51) และกลุ่มควบคุม (Mean= 1.48 ,S.D.=0.56) ซึ่งสูงกว่าแต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 2) ค่าเฉลี่ยจำนวนวันใส่สายให้อาหารระหว่างกลุ่มทดลอง (Mean =5.3 , S.D.=1.83) และกลุ่มควบคุม (Mean = 8.6, S.D.=3.81) ซึ่งดีกว่าและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05 ดังนั้นพยาบาลควรนำแนวปฏิบัติการนวดปากร่วมกับการดูแลแบบแกงการูโดยมารดาไปใช้ เพื่อให้ประสิทธิภาพการดูดกลืนของทารกดีขึ้น ลดจำนวนวันใส่สายให้อาหารลดลง ส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างมารดากับทารก
References
Ann L Jefferies. (2012). Kangaroo care for the preterm infant and family. Paediatr Child Health, 17(3), 141-143.
Auaareekul, K., Sangperm, P., & Payakkaraung, S. (2018). The Effects of a Breast Milk Establishing Program on Milk Volume and Time of Sufficient Milk Supply among Cesarean Section Mothers of Premature Infants . Nursing Science Journal of Thailand, 36(3), 71-82. (in Thai).
Chailangka, W., Daramas, T. & Kongsaktrakul, C. (2018). Effects of using breast milk together with oral massage. Stimulation of sucking and sucking efficiency in premature infants. Ramathibodi Nursing News, 24(1), 25-36. (in Thai).
Danna, C., Zhen, Y., Chujie, C., & Pu, W. (2021). Effect of Oral Motor Intervention on Oral Feeding in Preterm Infants: A Systemic Review and Meta-Analysis. American Journal of Speech- Language Pathology, 30(5), 2318-2328. http://doi.org/10.1044/2021_AJSLP-20-00322.
Fucile, S., Gisel, E. G., & Lau, C. (2002). Oral stimulation accelerates the transition from tube to oral feeding in preterm infants. Journal of Pediatrics, 141(2), 230-236
Lampang Hospital Medical records of the intensive care unit for sick newborns. (2022). Annual newborn patient statistics. (in Thai).
Leticia, M. N., Ludmylla, O. B., & Aline, M. I. (2022). The effectiveness of Kangaroo Mother Care in hospitalization period of preterm and low birth weight infants: systematic review and meta-analysis. Jornal de Pediatria. 98(2), 117-125. http://doi.org/10.1016/j.jped.2021.06.004.
Li, L., Li, Li., Fang, C., & Li, H. (2022). Clinical effects of oral motor intervention combined with non-nutritive sucking on oral feeding in preterm infants with dysphagia. Jornalde Pediatria. 98(6), 635-640. http://doi.org/10.1016/j.jped.2022.02.005.
Mahboubeh, J., Roghaiyehh, N., Aboulhassan, D., Mohammad, b. H., Leila, V., & Sevil, H. (2022). Preterm Infant Breastfeeding Behavior Scale: A study for Assessing the Validity and Feasibility. Iranian Journal of Neonatology. 13(3), 51-55. http://doi.org/10.22038/IJN.2022.61540.2174.
Mahdi, J., Fatemeh, F., Zoleikha, A., Naser, D., & Yousof, P. A. (2019). Effect of Kangaroo Mother Care on hospital management indicators: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Journal of Education and Health Promotion.8, 1-8. http://ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6532364/pdf/JEHP-8-96.pdf.
Muliani & Lisnawati. (2018). The Effect of Kangaroo Mother Care Method toward Weight Gain and Length of Stay among Low-Birth-Weight Baby. International Journal of Public Health Science. 7(2), 91-96. http://.doi.org/10.11591/ijphs.v7i2.12632.
Narciso, L. M., Beleza, L. O., & Imoto, A. M. (2022). The effectiveness of Kangaroo Mother Care in hospitalization period of preterm and low birth weight infants: systematic review and meta-analysis. Jornal de Pediatria. 98(2), 117-125. http://doi.org/10.22038/IJN.2022.61540.2174.
Nyqvist, K. H., Sjoden P., & Ewald, U. (1999). The development of preterm infants’ breastfeeding behavior. Early Human Development, 55(3), 247-264.
Osborn, E. K., & Jadcherla, S. R. (2022). Developing a quality improvement feeding program for NICU patients. NeoReviews 23(1), e23-e35. https://doi.org/10.1542/neo.23-1-e23.
Papana, N., & Tawitha L. (2016). Outcomes of a clinical guideline for implementation of Kangaroo Care with premature Infants in Neonatal Intensive Care Unit. Chiang Mai Medical Journal of Medicine, Chiang Mai University. The Journal is published 4 issues/year (i.e., Mar, Jun, Sep, and Dec).
Polit & Beck. (2021). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. 11 th edition. Library of Congress Cataloging-in-Publication Data.Phongsarananthakul, Y. (2016). Nursing care of premature infants. In Thampanitchawat W., Rungamornrat S. and Phayakruang S. (Editors), Nursing care of high-risk newborns. (p. 35-50). (in Thai).
Queen Sirikit National Institute of Child Health, Department of Medical Services. (2022). Summary of the results of the inspection of the Department of Medical Services. (in Thai).
Titler,& et al.(2001). The lowa model of evidence-based practice to promote quality care. Critical care Nursing Clinics of North America, 13(4), 497-509.
Xu, T., Li-Juan, Y., Lei, Z., Jian-Guo, Z., Li, M., Yang-Xiang, O., Ting, S., Zi, Z., & Guo-Min, S. (2015). Oral Motor Intervention Improved the Oral Feeding in Preterm Infants. Medicine, 94(31), 1- 10. http://ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4616521/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด