ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพของประชาชนวัยทำงานใน พื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • วสันต์ จันทร์ศักดิ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้างฉัตร
  • สุชาติ เครื่องชัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก
  • ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก
  • ภูมินทร์ ดวงสุริยะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก
  • วันวิสาข์ ชูจิตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ภาวะสุขภาพ, ประชากรวัยทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพ  เก็บข้อมูลในกลุ่มประชากรวัยทำงาน อายุ 15-59 ปี จำนวน 2,660 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ, แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ, แบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Pearson’s Product Moment Correlation 

ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้สุขภาพด้านการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันและปฏิบัติตัวอยู่ในระดับดี (mean=3.28, S.D.=0.305) พฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (mean=3.84, S.D=0.650) และความรอบรู้ทางด้านสุขภาพในด้านการเข้าถึงข้อมูล การเข้าใจ การตอบโต้ การตัดสินใจ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนภาวะสุขภาพ ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปกติ คิดเป็นร้อยละ 61.54 และ 80.00 ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่า โดยภาพรวมประชาชนวัยทำงาน มีความตระหนักถึงความรอบรู้ พฤติกรรมสุขภาพและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม

References

Daniel, W. W. (1995). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences [Internet]. https://faculty.ksu.edu.sa/sites/default/files/145_stat_-_textbook.pdf

Darun, P., & Krirat, P. (2019). Health literacy factors influencing on Health behavior of population in Bueng Kan province. Department of health Service Support Journal, 15(3), 71-82. (in Thai)

Division of Health Education, Department of Health Service Support. (2017). Assessment of health literacy and health behaviors according to Principle 3E2S, working age group, aged 15 - 59 years. Health Systems Research Institute. (in Thai)

Division of Non Communicable Disease. (2018). Report on the situation of NCD disease 2018, diabetes, high blood pressure. and related factors. Aksorn graphic and design publishing limited partnership. (in Thai)

Grizzle, A., Moore, P., Dezuanni, M., Asthana, S., Wilson, C., Banda, F., & Onumah, C. (2014). Media and information literacy: Policy and strategy guidelines. Unesco.

Mongkolmoo, S., Toonsiri, C., & Homsin, H. (2022). Factors related to health literacy for hypertension prevention among High-risk Individuals in Nadee District, Prachinburi province. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal, 17(2), 168-175. (in Thai)

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 72-78

Office of the Alcohol Control Committee. (2020). Control of alcoholic beverages, report date 20 Aug. 2020.

https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1439020200823062540.pdf. (in Thai)

Photihung, P. (2021). Relationship of health literacy to health promoting and disease prevention behaviors in Thailand: A systematic review. The Journal of Faculty of NursingBurapha University, 29(3), 115-130. (in Thai)

Roma, W., Kloyiam, S., Sookawong, W., Kaew-Amdee, T., Tunnung, A., Khampang, R., & Butchon, R. (2019). Thai Health Literacy Survey (THL-S) of Thais aged 15 years and above. Health Systems Research Institute. (in Thai)

Roma, W., Tanasugarn, C., Samnuanklang, M., Sarawasee, R., Kloyiam, S., & Sukprasert, K. (2018). Concepts and principles of a health literacy organization. Project office to drive the Department of Health 4.0 for public health literacy. (in Thai)

Singhasem, P., Krinar, P., & Tiparat, W. (2019). Correlation between health literacy and health behaviors in older people: A survey research in a community, Trang province. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 11(1), 37-51. (in Thai)

Sinto, N., Kamkaew, W., Chummalee, I., & Srisaknnok, T. (2022). Health literacy and health behavior among risk group of hypertensions Mahasarakham province. Research and Development Health System Journal, 15(3), 99-133. (in Thai)

Tantranont, K., Wisutthananon, A., Suthakorn, W., Supavititpatana, B., Lirtmunlikaporn, S., & Kampoun, S. (2020). Factors associated with health literacy among working population, NongPa Krang subdistrict, Mueang district, Chiang Mai province. Lanna Public Health Journal, 16(2), 60-71. (in Thai)

Thongma, P. (2020). Health literacy and health outcomes in hypertensive patients. Thai red cross nursing journal, 13(1), 50-62. (in Thai)

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-17