การพัฒนาระบบคัดแยกผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การคัดแยกผู้ป่วย, กระบวนการคัดแยกผู้ป่วย, การพัฒนาระบบการคัดแยก, อุบัติเหตุฉุกเฉินบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ ปัญหา ของระบบคัดแยกผู้ป่วย 2) พัฒนาระบบคัดแยกผู้ป่วย 3) ประเมินผลลัพธ์ของระบบคัดแยกผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินของโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ปัญหา ระยะที่ 2 ออกแบบและพัฒนา ระยะที่ 3 นำไปทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินจำนวน 30 คน ระยะที่ 4 ประเมินผลลัพธ์ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) กระบวนการคัดแยก แบบบันทึกการคัดแยก แนวปฏิบัติในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน 2) แนวคำถามการสนทนากลุ่มและการประชุมหลังปฏิบัติงาน 3) แบบประเมินความรู้ พฤติกรรมในกระบวนการคัดแยก แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t- test และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ปัญหา โรงพยาบาลทุกแห่งใช้เกณฑ์การคัดแยก 5 ระดับ มีกระบวนการคัดแยก แบบบันทึกและแนวทางปฏิบัติในการคัดแยกไม่ครบทุกแห่ง ต้องการระบบคัดแยกที่มีความปลอดภัยและใช้เหมือนกันทุกแห่ง 2) ระบบคัดแยกที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย กระบวนการคัดแยก แบบบันทึกการคัดแยก และแนวปฏิบัติในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน 3) ผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ พฤติกรรมในกระบวนการคัดแยกเพิ่มสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) มีความพึงพอใจต่อระบบคัดแยกในระดับมากที่สุด จากการประชุมหลังปฏิบัติงาน ระบบคัดแยกผู้ป่วยมีกระบวนการที่ช่วยค้นหาผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินเร็วขึ้น ไม่พบผู้ป่วยอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ แบบบันทึกการคัดแยกมีข้อมูลครบถ้วนเพียงพอ มีแนวปฏิบัติช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น ควรนำระบบคัดแยกผู้ป่วยไปใช้เพื่อการคัดแยกที่รวดเร็ว มีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น จัดให้มีพยาบาลคัดแยกโดยเฉพาะและ อบรมการคัดแยกผู้ป่วยเพื่อเพิ่มสมรรถนะพยาบาลคัดแยก
References
Chotsirikunwat, S. (2022). The Effect of Using the Core Process of Emergency Patient Triaged by Register Nurses in Emergency Room, Ratchaburi Hospital. Nursing, Health, and Education Journal.5(1). 1-11. (in Thai)
Department of Medical Services. (2018). Guideline for ER service delivery. Retrieved 12 May 2023, from https://www.dms.go.th/backend//Content/ Content_File/Population_Health/Img/25621021104538AM_5.jpg.
Intarawichien N. (2019). A study of quality of emergency patient triage in Phonphisai Hospital, Nongkhai. Nursing, Health, and Education Journal.2(2). 43-54. (in Thai)
Manangan M. (2020). Result of using triage guidelines for emergencies in the Outpatient Department Chakkarat Hospital Nakhon Ratchasima Province. Journal of Public Health Nursing. 34(3). 52-65. (in Thai)
Phra Nakhon Si Ayutthaya Provincial Public Health Office. (2022). Report ECS Region 4 2022. (in Thai)
Ritintarangoon, O., Khowtong, W., Kongsomboon, P. & Kheaw-on, S. (2018). The Development of Triage System at Emergency Department in Sawanpracharak Hospital. Journal of the Department of Medical Services.43(2),146-151. (in Thai)
Sukjamnong, S., Pakkarato, B., Singhan, S., Srisawang, W., & Chumnaaborirak P. (2021) Quality of Classification of Emergency Patients at Na Dum Hospital, Mahasarakham Province. Journal of Emergency Medical Service of Thailand. 1(2), 123-133. (in Thai)
Sanitlou, N., Sartphet, W., & Naphaarrak, Y. (2019). Sample size calculation using G power program. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology (Humanities and Soical Sciences). 5(1),484-495. (in Thai)
Sukswang S. (2018). Triage Nurse: Beyond Main Process Through Practice. Journal of Health Sciences Scholarship. 5(2). 1-14. (in Thai)
Sukwong P., Leekuan P., Jongsirichaikul N., & Chaibarn P. (2021). The Triage Model in the Emergency Department of Nan Hospital. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. 29(4). 58-68. (in Thai)
The Canadian Triage and Acuity Scale. (2013). Participant’s Manual. Triage Training Resources. Version 2.5. Retrieved 12 May 2023, from http://ctas-phctas.ca/wp- content/2018/05/ participant_manual_v2.5b_november_2013_0.pdf.
Thailand Nursing and Midwifery Council. (2020). Announcement of the Nursing and Midwifery Council on principles for triaging patient urgency levels. Thai government gazette .137. 34-35. (in Thai)
The National Institute for Emergency Medicine. (2012). Emergency Medical Triage Protocol and assign an acuity level. Bangkok: 3 .3. NIEM. (in Thai)
Wachiradilok P., Sirisamutr T., Chaiyasit, S., & Sethasathien A. (2016). A Nationwide Survey of Thailand Emergency Departments Triage Systems. The Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council. 31(2). 96-108. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด