ประสิทธิผลของสื่อการสอนชนิดโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อ ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, โมชั่นกราฟิก, การติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็ง, เคมีบำบัดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสื่อการสอนชนิดโมชันกราฟิกสำหรับการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง ณ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 98 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับชมสื่อโมชันกราฟิก 49 คน และกลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบปกติ 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) สื่อโมชันกราฟิก เรื่อง การป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด 2) แบบวัดความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ และ 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันการติดเชื้อ สถิติที่ใช้เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเชิงวิเคราะห์คือ dependent t-test, independent t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้รับชมสื่อโมชันกราฟิกมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันการติดเชื้อสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) 2) ภายหลังการทดลองกลุ่มที่ได้รับชมสื่อโมชันกราฟิกมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันการติดเชื้อสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) จะเห็นได้ว่าสื่อโมชันกราฟิกมีประสิทธิผล สามารถช่วยเพิ่มพูนความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันการติดเชื้อในระหว่างที่ได้รับเคมีบำบัด เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
References
Alessi, S. M., Trollip, S. R. (2001). Multimedia for Learning: Methods and Development. Boston, MA: Allyn & Bacon.
Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health. (2016). Statistical Thailand 2016. Bureau of Policy and Strategy, Ministry of Public Health. (in Thai).
Cancernetwork. (2016). Infectious complications. Retrieved 1 November, 2015, from: http://www.cancernetwork.com/cancer-management/infectious-complications.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd) Hillsdale, N.J.: Lawrence Erbaum.
Dinan, M. A., Hirsch, B. R., & Lyman, G. H. (2015). Management of chemotherapy-induced neutropenia: measuring quality, cost, and value. Journal of the National Comprehensive Cancer Network. 13(1): 1-7.
Freifeld, A. G., Bow, E. J., Sepkowitz, K. A., Boeckh M. J., Ito, J. I., Mullen, C. A., Raad, I. I., Rolston, K. V., Young, J. H., & Wingard, J. R., (2011). Clinical Practice Guideline for the Use of Antimicrobial Agents in Neutropenic Patients with Cancer: 2010 Update by the Infectious Diseases Society of America. Clinical Infectious Diseases, 52(4), 56-93, https://doi.org/10.1093/cid/cir073.
Infection control committee. (2020). Hospital-acquire Infection surveillance report 2020. Lampang: Lampang Cancer Hospital.
Infection control committee. (2021). Hospital-acquire Infection surveillance report 2021. Lampang: Lampang Cancer Hospital. (in Thai).
Infection control committee. (2022). Hospital-acquire Infection surveillance report 2022. Lampang: Lampang Cancer Hospital. (in Thai)
Lenz, E. R., Pugh, L. C., Milligan, R. A., Gift, A., & Suppe, F. (1997). The middle-range theory of unpleasant symptoms: an update. ANS Adv Nurs Sci. (3): 14-27.
Limapongpas, B., Kokilanan, K., Thitipaisan, N., Sirisakulveroj, M., Yamsopee, W., Waipurintha N., Chotikamani, C., & Prasitthisuksom, A. (2015). Effects of preoperative instruction using multimedia in patients receiving spinal anesthesia. Journal of Health Science Research, 9(1), 1-7. (in Thai).
LPCH Cancer Registry, Lampang Cancer Hospital. (2020). Hospital-Based Cancer Registry 2019. Chiandmai: Ngan-dee Printing. (in Thai).
LPCH Cancer Registry, Lampang Cancer Hospital. (2021). Hospital-Based Cancer Registry 2020. Chiandmai: Ngan-dee Printing. (in Thai).
LPCH Cancer Registry, Lampang Cancer Hospital. (202). Hospital-Based Cancer Registry 2021. Artroom creative & design. (in Thai).
Medical record and database cancer unit. (2018). Cancer in Thailand Vol.X 2016 – 2018. Bangkok: National Cancer Institute Printing.
Nesher, L., & Rolston, K. V. (2014). The current spectrum of infection in cancer patients with chemotherapy related neutropenia. Infection, 42(1), 5–13. https://doi.org/10.1007/s15010-013-0525-9
Pranprawit, A., Rodpet, K., Eawkuan, K., Chanarit, P., & Tongnual, S. Effectiveness of Leptospirosis Educational Media: A Case Study of agriculturists in Makam Tia Sub-district, Muang District, Suratthani Province. (2021). Health Science Journal of Thailand, 4(1): 54-63. (in Thai).
Plangmal, K., Leelapornposol, P., Ruengorn, C., & Poomanee W. (2022). Effect of Instructional Media on Knowledge and Behavior of Hair Dye Use in the Students of Rajabhat Mahasarakham University. 4th National conference on science, technology and innovation for the community. 152-161. (in Thai).
Prasertsri, T., & Phanthysart N. (2018). Influence factors and severity of infection within the cancer patient. Journal of Nursing and Health Care, 32(2): 22-30. (in Thai).
Razine, R., Azzouzi, A., Barkat, A., Khoudri, I., Hassouni, F., Chefchaouni, A. C., & Abouqal, R. (2012). Prevalence of hospital-acquired infections in the university medical center of Rabat, Morocco. International Archives of Medicine, 5(26): 1–8.
Rungprasert, K., & Sinsuwan, N. (2018). The Production of motion graphics to promote knowledge and attitudes towards stroke prevention. Science and Technology RMUTT journal, 8 (2): 153-168. (in Thai).
Singsungnoen, K., & Ramsiri, J. (2021). The development of motion graphic media on 10 ways to prevent COVID-19 with New Normal [presentation document]. The 8th Academic Science and Technology Conference 2021. (in Thai).
Sookpatdhee, T., & Soranastaporn, S. (2017). Studying motion graphics media which enhanced learning ability. VRU Research and Development Journal Humanities and Social Science, 12(1): 261-268. (in Thai).
World health Organization. (2022). Cancer Overview. https://www.who.int /health- topics/cancer#tab=tab_1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด