ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการรับรู้พลังอำนาจของผู้ดูแลผู้สูงอายุเปราะบางด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ณฐกร นิลเนตร คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • สุขศิริ ประสมสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองพลับ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • กันทิมา อัตถกาญน์นา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองพลับ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • เกศศิริทน์ จันทร์มาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองพลับ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
  • ณัฐศดานันต์ ทับเปลี่ยน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองพลับ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ, ผู้ดูแลผู้สูงอายุเปราะบาง, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

             การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการรับรู้พลังอำนาจของผู้ดูแลผู้สูงอายุเปราะบางด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีความเปราะบาง โดยการคัดเลือกพื้นที่แบบเจาะจงในจังหวัดเพชรบุรีที่มีความต้องการในการแก้ไขปัญหาจำนวน 2 แห่ง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน  คัดเลือกเข้ากลุ่มโดยวิธีการจับคู่ตามลักษณะของเพศ อายุและประสบการณ์ดูแลในเวลาที่แตกต่างกัน  ใช้โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนร่วมกับแนวคิดของเฟลอร์รี่ ในระยเวลา 6 สัปดาห์ ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ระยะ 1 ประเมินความพร้อมโดยการระบุปัญหาด้านการจัดการ ความรู้สึกและอารมณ์ของครอบครัวที่มีต่อปัญหา ระยะ 2 การเปลี่ยนแปลงโดยการกำหนดเป้าหมาย การแสวงหาทางเลือกเพื่อที่แก้ไขปัญหา และระยะ 3 การผสมผสานเข้าเป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตโดยการวางแผนปรับเปลี่ยนความคิด โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่าง Paired Samples T-Test และ Independent T-Test

         ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนพลังอำนาจในด้านการรับรู้เกี่ยวกับความสามารถในการทำหน้าที่ด้ านร่างกาย การรับรู้ความสามารถในการทำหน้าที่ด้านจิตใจและสังคม การรับรู้เกี่ยวกับโรคหรือความเจ็บป่วย และการรับรู้เกี่ยวกับความสามารถในการจัดการกับโรคหรือความเจ็บป่วยสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) การค้นพบครั้งนี้ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรด้านสุขภาพที่จะนำแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจไปวางแผนเพื่อเพิ่มศักยภาพการรับรู้พลังอำนาจของผู้ดูแลผู้สูงอายุเปราะบางในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

 

Author Biography

ณฐกร นิลเนตร, คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

ส.ม. (วิทยการระบาด)

References

Anderson, R.M., Funnel, M.M., Dedrick, R.F. and David, W.K. (1991). Learning to empower patients results of professional education program for diabetes educators. Diabetes Care. 14(7), 584-590.

Bumrungchon, N., Rattanapiroj, P., & Prada, J. (2014). The development of empowerment program for caregivers of persons with developmental and intellectual disabilities. Journal of Psychiatric and Mental Health Nursing, 28(2), 125-140. (in Thai)

Fleury, J.D. (1991). Empowering potential: A theory of wellness motivation. Nursing Research, 40(5), 286-291.

Jantiya M. (2011). Effects of an Empowerment Program Using Applied Pulmonary Rehabilitation on Health Behaviors of Patients Living with Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Journal of Nursing Science.29(2), 8-14.

Junsukon, E., & Kongpracha, A. (2017). The effectiveness of an empowerment the program of self-care competency among community- dwelling elders. PSRU Journal of Science and Technology. 2(1): 24-34. (in Thai).

Ministry of Social Development and Human Security. (2015). Social statics document. Bangko: Information and Communication Technology Center. Retrieved 10 Octuber 2019 from: https://www.m-society.go.th. (in Thai).

MinistryofSocial Developmentand HumanSecurity (MSDHS). 2006 Survey of Vulnerability of Thai Elderly. Retrieved 24 May 2022 from http: //www.m-society.go.th/main.php?filename=index. (In Thai).

Naewbood, S. (2017). The effects of empowerment program on family caregiver’s self-care ability. Journal of Nursing and Education. 8(4): 30-40. (in Thai).

Nilnate, N., Prasomsuk, S., and kerdnu K. (2022). The Curriculum Development for Enhancing the Elderly Caregivers’ Competencies of Non-communicable Diseases with Community Participation in Phetchaburi Province. Journal of the Office of DPC 7 Khon Kaen, 29(3): 27-37 (in Thai)

Phetchaburi Provincial Health Office. (2021). Report of health statistics in Phetchaburi. Phetchaburi: Phetchaburi Provincial Health Office. (in Thai).

Prasomsuk, S., Nilnate, N., Chairum, P., & Chammana, M. (2020). The effect of an empowerment program on competency development among the elderly with non-chronically disease elderly in Rai-Saton sub-district, Phetchaburi Province. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University. 10(3): 4-15. (in Thai).

Sakanashi, S., Fujita., K., & Konno, R. (2021). Components of Empowerment Among Family Caregivers of Community-Dwelling People with Dementia in Japan: A Qualitative Research Study. Journal of Nursing Research. 29(3): 155-162.

Srisathitnarakun, B. (2010).Methodology research in nursing. Bangkok: United Nations Intermedia. (in Thai)

Wibulpolprasert, S. editor. (2011). Thailand health profile 2008-2010. Bangkok: veterans’s organization. (in Thai).

Wongprom J., Jongwutiwes K., Prasertsuk N., and Jongwutiwes N. (2015). Veridian E-Journal, Silpakorn University. 8(3): 41-54. (in Thai).

Yimyam N., & Rodjarkpai, Y. (2017). Effect of empowerment program of caregiver caring for the elderly at risk of high blood pressure in Kaengdinso sub-district, Nadee district, Prachinburi province. Journal of the office of DPT 7 Khon Kaen, 24(2): 46-58. (in Thai).

Yotsurin P., Tancharoen P., Rajchawail N. (2020). Family-Centered Care: TransformingKnowledge to Practice forPreparingCaregivers of Stroke. Patients Journal of Health Sciences Scholarship. 7(1): 131-141 (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย