การพัฒนาระบบบริการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจวินิจฉัยรักษา ด้วยหัตถการการส่องกล้องโรงพยาบาลน่าน

ผู้แต่ง

  • สุขุมาล ต้อยแก้ว โรงพยาบาลน่าน
  • รุ่งทิพย์ กาละดี โรงพยาบาลน่าน
  • วรวรรณ ชำนาญช่าง โรงพยาบาลน่าน

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพ, การวิจัยและพัฒนา, ระบบบริการพยาบาล, หัตถการการส่องกล้อง

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลลัพธ์ระบบบริการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจวินิจฉัยรักษาด้วยหัตถการการส่องกล้องโรงพยาบาลน่าน การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ  ระยะเตรียมการพัฒนา ระยะดำเนินการพัฒนาระบบ และระยะประเมินผลลัพธ์การพัฒนากลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแพทย์ ทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการตรวจวินิจฉัยรักษาด้วยหัตถการการส่องกล้อง รวมทั้งสิ้น 30 คน ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ ณ หน่วยงานห้องส่องกล้อง 275 คน เครื่องมือประกอบด้วย แบบสำรวจโครงสร้างหน่วยงานห้องส่องกล้อง แบบประเมินคุณภาพการบริการพยาบาลตรวจรักษาพิเศษของกองการพยาบาล แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบรายงานอุบัติการณ์ แบบสอบถามความพึงพอใจในระบบบริการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ประเด็นร่วม การใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบผลลัพธ์การพัฒนาโดยใช้สถิติการเปรียบเทียบ t-test

          ผลการศึกษาพบว่า 1.ระยะเตรียมการพัฒนาพบปัญหา 1.1) ด้านโครงสร้างมีปัญหาสถานที่คับแคบพยาบาลวิชาชีพมีอัตรากำลังและศักยภาพไม่เพียงพอ อุปกรณ์เครื่องมือไม่เพียงพอ 1.2) ด้านกระบวนการมีปัญหาแนวทางการส่งต่อไม่ชัดเจนและแนวทางการดูแลผู้ป่วยไม่ครอบคลุม 1.3)  ด้านผลลัพธ์มีการให้คำแนะนำขั้นตอนการทำหัตถการเพียงร้อยละ 48.50 อุบัติการณ์การเลื่อนเวลาการทำหัตถการจากการเตรียมผู้ป่วยไม่พร้อม ร้อยละ 14.00 การรับส่งผู้ป่วยผิดพลาดล่าช้า ร้อยละ 8.00  2.ระยะดำเนินการมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การปรับกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มคุณภาพบริการ การปรับสภาพพื้นที่ในห้องส่องกล้อง และการสนับสนุนทรัพยากรให้เพียงพอ 3. ระยะประเมินผลลัพธ์ พบว่า การเลื่อนเวลาการทำหัตถการจากการเตรียมผู้ป่วยไม่พร้อมและการรับส่งผู้ป่วยผิดพลาดล่าช้ามีจำนวนลดลง ไม่พบอุบัติการณ์ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน  คะแนนความพึงพอใจในบริการพยาบาลห้องส่องกล้องของผู้ป่วยนอกและผู้ดูแลอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด บริการพยาบาลห้องส่องกล้องของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพผู้ประสานงานในโรงพยาบาลชุมชนทุกด้านอยู่ในระดับพึงพอใจมาก และภาพรวมของผู้ป่วยในต่อคุณภาพการบริการหลังพัฒนาสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  จึงควรมีการศึกษาสภาพปัญหาการทำงานของระบบบริการพยาบาล และมีการพัฒนาระบบเพื่อแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

References

Abuksis G, Mor M, Segal N, Shemesh I, Morad I, Plaut S. (2001). A patients education program is cost-effective for preventing failure of endoscopic procedure in a gastroenterologydepartment. Am J Gastroenteral. 96(6), 1786-90.

Chaonarin, P. Keeratavanithsathian, S., Kamolabutra, M., Supharoehyothin, P. (2022). Soft Skills: Skills Needed for Nurses. Journal Health Science Scholarship. 9(1): 1-17. (in Thai)

Curtis RJ, et al. (2006). Intensive care unit quality improvement: a “how-to” guide for the interdisciplinary team. Critical care medicine, 34(1): 211-218.

Donabedian, A. (2003).The Definition of Quality and Approaches to ITS Assessment.University of Michigan: Health Administration Press.

JinakeawS.(2017).The Development of a Logistic-Based Health Service Model for the Out-patient Department at PhopPhra Hospital, Tak Province. Thesis Master of Nursing Science in Nursing, Administration School of Nursing SukhothaiThammathirat Open University.(in Thai)

Kwannapha Kwansathaphonkul. (2019). Quality Assurance of Nursing: Assessing the Quality of

Specialty Nursing Services. Nonthaburi: Division of Nursing, Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. (in Thai)

Lukejohn, WD., David B. (2015). Gastroenterol Res Pract. 2015; 2015: 764153. Retrieved 25 May 2022 from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26101525/.doi: 10.1155/2015/764153PMCID: PMC4458534PMID: 26101525PMC4458534PMID: 26101525

Matatratip, C., Pissawongprakan, P., Nonsrirach, T. (2022). Factors affecting access to the health promotion service system through LINE official account of regional Health Promotion Center 7 KhonKaen: Good health is rewardsed of the people in the responsible area. Journal of Regional Health Promotion Centre 7 KhonKaen. 14(2), 14-33.(in Thai)

Pongsadhorn Pokpermdee. (2018). Twenty-Year National Strategic Plan for Publish Health (2017-2036) Strategy and Plaing Division. Office of the Permanent Secretary. Ministry of Public Health.

Rashid, N. L., Sunny, H. W., Sergio, A Sánchez-Luna., Gianluca, P., Steven, B., Mei-Yin, W., & et al. (2020).Overview of guidance for endoscopy during the coronavirus disease 2019 Pandemic. Journal of Gastroenterology and Hepatology. 35 :749–759.

Sahunphun, P. (2019). The process of referral system between hospitals.Hua Hin Medical Journal. 4(1) : 21-34. .(in Thai)

Sangtong, L., Nhoothep, C., Dumkaew, S., Perban, P., Bauthong, A. (2016). Development Nursing Service System to Improve Inpatients’ Satisfaction at Srinakarin Hospital Khonkhan. Khonkhan.

Siriwat, S., Abhicharttibutra, K., Supamanee, T. (2020). Development of a Competency Framework Among Gastrointestinal Endoscopy Nurses, Ramkhamhaeng Hospital Group, Chiang Mai Province. Nursing Journal. 47(2), 333-344. (in Thai)

Sittihong, A., Jannakorn, N., Daekhuntod. (2012). Development of A Nursing Care Network for Patients with ST-Elevation Myocardial Infarction among Network Hospitals in SakonNakhon Province. Journal of Nurse’ Association of Thailand, North-eastern Division. (4): 67-78. (in Thai)

Society of Gastroenterology Nurses and Associates.(2012).Standard of Infection Prevention in the Gastroenterology Setting. Society of Gastroenterology Nurses and Associates, Inc. Chicago, Illinois.Sungkris, K., Nudsuntear, P.,

Kaewken, W., Boonkong, P. (2015). The Development of Critical Nursing Care System, Sakon Nakhon Province. Journal of Nursing and Health Care. 33(2), 110-121. (in Thai)

Toykaew, S. (2017). Readiness Preparation of Patients Who Receive Esophagogastroduodenoscopy (EGD). Unpublished Report. Nan Hospital.

Wongmaneewan, B., Lorga, T., Srithong, K. (2022). Development of a Model Management Nursing Staff in Critical Care Patients in Lampang Hospital. Journal Health Science Scholarship. 9(2),265-282. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย