ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน
คำสำคัญ:
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, การป้องกันการพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จํานวน 56 คน มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 28 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบคัดกรองความเสี่ยงในการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน (Thai-Frat) 2) โปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน และเครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปรในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.86 และ 2) แบบทดสอบความรู้ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความรู้ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนในกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติ The Paired t-Test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยหลังการเข้าร่วมโปรแกรมของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติ The Independent t-Test
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 8.002) และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และคะแนนเฉลี่ยความรู้ในการป้องกันการพลัดตกหกล้มสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 9.982) ผลจากการศึกษาครั้งนี้ บุคลากรด้านสุขภาพควรนําแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุไปใช้ในการส่งเสริมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนอย่างจริงจัง และควรมีการจัดรูปแบบกิจกรรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้สูงอายุไม่เกิดภาวะพลัดตกหกล้มและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในระยะยาวต่อไป
References
Bandura, A. (1977). Self-Efficacy: Toward a Unifying Theory of Behavioral Change. Psychological Review, 84(2), 191-215. https://www.uky.edu/~eushe2/Bandura/Bandura1977PR.pdf
Center for Disease Control. (2020). Falls in Elderly: Causes and Prevention. Retrieved 2022, 4 June from https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1037120200813042821.pdf (in Thai)
Chaisawat, P. (2020). The Elderly Health. Retrieved 2020, 31 December from
http://data.ptho.moph.go.th/inspects/2563/inspec63_2/tripamide/. (in Thai)
Cohen, J. (1992). Statistical Power Analysis. Current Directions in Psychological Science, 1(3),
–101. https://doi.org/10.1111/1467-8721.ep10768783
Department of Elderly Affairs. (2020). Statistics of Thai Elderly. Retrieved 2022, 4 June from http://www.dop.go.th/error404.pop (in Thai)
Harntecha, A. (2018). The Effectiveness of Fall Prevention Program in Elderly, Tumon Banjong, Mahoe NGO, Lampang Province. [Unpublished Master’s Thesis]. Hayao University. (in Thai)
Kittipimpanon, K., & Kraithaworn, P. (2017). The Effectiveness of Community-Based Fall Prevention Model to Physical Performance and Fall among Older Adults in an Urban Community, Bangkok: The Follow up Study. Journal of Public Health Nursing, 29 (1), 98-113. (in Thai)
Nanthamongkolchai, S., Taechaboonsermsak, P., Munsawaengsub, C. & Powwattana, A. (2011). The Way of Life of the Elderly Female Who Take Care of Grandchild in Rural Area of the Northern Thailand. Journal of Public Health. 41 (1). 29-38. (in Thai)
Phrae Hospital Data Center. (2020, December 9). Falls Statistics among Older People in Phrae Province. The Falls Prevention Committee Meeting. Phrae Hospital. (in Thai)
Piboon, K. (2019). Effectiveness of multifactorial program for prevention falls among community-dwelling older adults. The Faculty of Public Health. Burapha University. (in Thai)
Polit, D.F. & Hungler, B.P. (1999). Nursing research. Principles and methods. 6th ed. Philadelphia: Lippincott.
Prada, J., Kulawong, N., Promwang, P., & Poochan, B. (2011). Effect of Family Program on the Parent Perceived Self-Efficacy, Family Caring Behaviors and Development of Intellectual and Developmental Disabilities Persons. Nontburi: Rajanukul Institute, Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (in Thai)
Sermsinsiri, K., Semsri, S., & Nontakarawatin, S. (2019). The Effect of Square-Stepping Exercise on Balance of Elderly Adults at Risk of Falls. Journal of Royal Thai Army Nurses. 20(1), 359-370. (in Thai)
Sirites, P., & Thamseeha, N. (2019). Self-Efficacy Theory and Self-Healthcare Behavior of the Elderly. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 20(1), 58-65. (in Thai)
Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health. (2020). Falls mortality rate among the elderly in Thailand. Office of the Permanent Secretary of Ministry of Public Health.
Suebsoontorn, W., Nimit-arnun, N., & Chatdokmaipria, K. (2019). The Effects of Self – Efficacy Enhancement Program on Fall Prevention Behaviors and Physical Capabilities of Elderly Persons in Community. Chonburi Hospital Journal, 44(1), 119-128. (in Thai)
Tasuwanin, T., & Tappakit, K. (2017). Effects of a Falling Prevention Program for Elderly. Journal of Nursing and Health Care, 35(1), 186-195. (in Thai)
Tedniyom, T., Maharachpong, N., Kijpreedarborisuthi, B., & Sakulkim, S. (2019). Effects of the Self-Efficacy Enhancement Program on Fall Prevention among the Elderly in Autong District, Suphanburi Province. Journal of the Department of Medical Services, 44(1), 90-95. (in Thai)
Thiamwong, L., Jitapunkul, S., & Panyacheewin, J. (2004). Evaluation of the Thai fall-risk assessment tool (Thai FRAT) for predicting falls in the Thai community-dwelling elderly. Journal of Gerontology and Geriatric Medicine, 5(2), 14-24. (in Thai)
World Health Organization. (2021). Falls Factsheet. Retrieved 2022, 4 June from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/falls
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด