ความชุกการติดเชื้อหนอนพยาธิกลุ่มวัยทำงานจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • เทพ นันทพูลทรัพย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • วันวิสา ภูแช่มโชติ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • พีระพงษ์ เดียงสา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปิยาอร จวนชัยภูมิ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • สุดารัตน์ พุทธเสน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • กัญญาณัฐ มะณี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

อุบัติการณ์, การติดเชื้อหนอนพยาธิ, กลุ่มวัยทำงาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความชุกของหนอนพยาธิในกลุ่มวัยทำงาน คือ กลุ่มวัยทำงานที่ทำงานนอกและในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดอุบลราชธานี และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อหนอนพยาธิในกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มวัยทำงานอายุระหว่าง 20-60 ปี ที่ทำงานทั้งในและนอกโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 425 คน แบ่งเป็นกล่มวัยทำงานนอกโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 272 คน และในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 153 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ย ที่ตั้งของที่ทำงานหรือโรงงาน ประวัติการตรวจหาพยาธิ ผลการตรวจหนอนพยาธิและประวัติการรักษาโรคหนอนพยาธิ การเก็บสิ่งส่งตรวจและการตรวจหาไข่พยาธิ เก็บข้อมูลโดยการเก็บอุจจาระตรวจหาไข่หนอนพยาธิด้วยวิธี Kato’s thick smear วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลและความชุกหนอนพยาธิ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน Fisher’s Exact Test สำหรับหาความสัมพันธ์กับการติดเชื้อหนอนพยาธิ

            ผลการศึกษา พบว่า ความชุกของการติดเชื้อหนอนพยาธิร้อยละ 2.64 คือ พยาธิใบไม้ตับ (ร้อยละ 1.76) พยาธิตัวตืด (ร้อยละ 0.44) และพยาธิแส้ม้า (ร้อยละ 0.44) ส่วนความชุกของการติดเชื้อหนอนพยาธิของกลุ่มวัยทำงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม พบว่า ความชุกของการติดเชื้อหนอนพยาธิร้อยละ 2.38 คือ พยาธิตัวตืด (ร้อยละ 1.59) และพยาธิใบไม้ตับ (ร้อยละ 0.79) เห็นได้ว่ากลุ่มวัยทำงานทั้ง 2 กลุ่ม จะพบความชุกของการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับจะสูงถึง ร้อยละ 2.55 ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายของยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี พ.ศ. 2559 – 2568 กระทรวงสาธารณสุข กำหนดอัตราความชุกของโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในมนุษย์ ไม่เกินร้อยละ 1 ในปี 2568 จากการศึกษาวิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล คือ ระดับการศึกษากับความชุกของการติดเชื้อหนอนพยาธิในกลุ่มวัยทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม พบการติดเชื้อหนอนพยาธิในระดับประถมศึกษาเท่านั้น ร้อยละ 2.40 ผลการตรวจวิเคราะห์มีความแตกต่างทางสถิติ (p<.05)

 

References

Banales, J. M. et al. (2016). Cholangiocarcinoma: current knowledge and future paerspectives consensus statement from the European Network for the Study of Cholangiocarcinoma (ENS-CCA). Nat. Rev. Gastroenterol. Hepatol. 13, 263.

Banmuang Sisaket Champ died of liver and bile duct cancer. (2019). Warning for eating raw, undercooked freshwater fish. Be careful. Retrieved January 17, 2019, from: https://www.banmuang.co.th/news/region/173315.

Bureau of Information Office Of The Permanent Secretary Of MOPH. (2018), MOPH moves forward with a decade strategy to eliminate liver fluke and cholangiocarcinoma stage 2. Retrieved January 21, 2019, from: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/all/04/112799/.

Department Of Industrial Works. (2019). Factory information. Retrieved Febuary 17, 2019, from: https://www.diw.go.th/webdiw/search-factory/.

Jirawatkul A. (2009). Statistics for health science research. Bangkok: Wittayaput. (in Thai).

J Kaewpitoon S et al. (2018). Active Screening of Gastrointestinal Helminth Infection in Migrant Workers in Thailand. JIMR, 46 (11). 4561-7.

Kamsa-Ard S, Kamsa-Ard S, Luvira V, Suwanrungruang K, Vatanasapt P, Wiangnon S. (2018). Risk factors for cholangiocarcinoma in Thailand: A systematic review and meta-analysis. Asian Pacific J Cancer Prev; 19:607–9.

Lausatianragit W, Jaroenprasert S, Lausatianragit K, et al. (2019). Factors Related to the Consumption of Raw Fish among the People in Sisaket Province 2016. JHS. 28:982.(in Thai).

Prasomrak P. (2019). Comparison of Prevalence of Liver Fluke Infection, Knowledge and Prevention Behavior between Risk Groups of Rural and Urban Community Around Water Reservoir Area. Srinagarind Medical Journal. 34(6). 631. (in Thai).

Puttaruk P, Sirisabhabhorn K. (2014). The Prevalence of Helminths and Protozoan Infections among Patients Attending at Thammasat University Hospital During the Year 2011 to 2013. Journal of Science and Technology. 22(6), 861. (in Thai).

Seangpraw K, Nar-ai W, Pawun V. (2016). Prevalence and factors related to prevention behavior of soil transmitted helminthes among primary school students in border patrol police schools, Mae Hong Son province, Thailand. Thai Journal of Public Health. 46(1), 26. (in Thai).

Siriwichayakul C, Luareesuwan S, Radomyod R. (2006). Textbook of clinical parasitology. 2nd edition. London: Greenwich Medical Media Ltd. (in Thai).

Songserm N, Promthet S, Sithithaworn P. (2012). Risk factors for cholangiocarcinoma in high risk area of Thailand: Role of lifestyle, diet and methylenetetrahydrofolate reductase polymorphisma.Cancer Epidemiology, 36:89-94.

The Office of Disease Prevention and Control, Region 10 Ubon Ratchathani. OPDC10 Ubon Ratchathani moves forward with strategy Northeastern people join together Against liver fluke. Retrieved anuary 17, 2019, from: https://odpc10.ddc.moph.go.th/?p=3799.

Treeprasertsuk S, Poovorawan K, Soonthornworasiri N, Chaiteerakij R, Thanapirom K, Mairiang P, et al. (2017). A significant cancer burden and high mortality of intrahepatic cholangiocarcinoma in Thailand:A nationwide database study. BMC Gastroenterol;17, 1–7.

Yospanya A, Sailugkum S, et al. (2013). Prevalence and risk factors of Opisthorchis viverrini infection in Loei Province, 2013. Journal of the Office of DPC 7 Khon Kaen. 22(1), 94.(in Thai).

World Health Organization. (2018). Soil-transmitted helminthiases. Retrieved January 17, 2019, from:

http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/soil-transmitted-helminth-infections.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย