ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเทิง จังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, ระบบการให้บริการ ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่, ปัจจัยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นรูปแบบของการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 ถูกเลือกแบบเจาะจง จากผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเทิง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป, 2) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคเบาหวาน, 3) การรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน , 4)แบบสอบถามปัจจัยเอื้อ และ ปัจจัยเสริมของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบสอบถามได้รับการตรวจสอบคุณภาพผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพโดยใช้สถิติ Pearson’s correlation
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 73.33 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 66.32 ปี (SD.=10.63) ระยะเวลาที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน เฉลี่ย 9.94 ปี (SD.=7.29) รักษาโดยยารับประทานมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 39.16 ระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 201.12 mg% (SD.=147.62) ปัจจุบันมีภาวะแทรกซ้อน คิดเป็นร้อยละ 93.33 พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง มีการรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานอยู่ในระดับดี ได้รับบริการปัจจัยเอื้อในการดูแลสุขภาพมากที่สุดในเรื่องได้รับการเจาะเลือดตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดในชุมชน (ร้อยละ 93.34) ได้รับบริการปัจจัยเสริมในเรื่องการได้รับข่าวสารในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ร้อยละ 91.66) พบ 4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความรู้ (r=0.205), การรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน (r=0.239), ปัจจัยเอื้อ (r=0.253) และ ปัจจัยเสริม (r=0.319) ข้อเสนอแนะในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับเบาหวานที่ถูกต้อง เนื่องจากเป็นปัจจัยนำสำคัญที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมทั้งควรสนับสนุนปัจจัยเอื้อ โดยเฉพาะการจัดบริการเจาะเลือดตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดในชุมชน และ ปัจจัยเสริมในการให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคเบาหวาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ดี
References
Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of students learning. New York: McGraw-Hill.
Becker, M.H. & Maiman L.A. (1975). Sociobehavioral Determinants of Compliance with Health and medical Care Recommendation. Medical Care,13(1),10-24.
Bureau of Risk Communication and Health Behavior Development, Department of Disease Control. (2021). The Department of Disease Control campaigns for World Diabetes Day 2021 to recognize diabetes care to be treated thoroughly. Retrieve 1 December
from: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc. (in Thai)
Chareonkulwatana, J. (2013). Factors related to health behaviors of diabetic patients in Banna hospital, Nakhon Nayok Province. (Master of Science, Kasetsart University). (in Thai)
Diabetes Association of Thailand. (2017). IDF DIABETES ATLAS. 8th Ed. Retrieve 1 December 2021 from https://www.dmthai.org/old/index.php/knowledge/the-chart/the-chart-1/549-2018-02-08-14-52-46. (in Thai)
Green, L. & Krueter, M. (1999). Health Promotion Planning An Education Approach. 3rd Ed. Toronto: Mayfield Publishing Company.
International Diabetes Federation. (2019). IDF DIABETES ATLAS. 9th Ed. Retrieve 1 December 2021 from https://www.diabetesatlas.org/upload/resources/material/20200302_133351_IDFATLAS9e-final-web.pdf#page=68&zoom=auto.
Jangwang, S., Pittayapinune, T. & Chutipattana, N. (2016).Factors related to self-care behavior for prevention of diabetes mellitus and hypertension among population groups at risk. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(1), 110-128. (in Thai)
Khuneepong, A. (2018). Factors Influencing Self-Care Behavior of Type 2 Diabetic Mellitus Patients in Phatthana Nikhom District, Lop Buri Province. Journal of the Department of Medical Services. 43(3), 101-107. (in Thai)
Kochragsa, N. & Panchakhan, N. (2021). Analysis of Caring System for New Diabetes Patients in Lampang Province. Journal of Health Sciences Scholarship, 8(1), 69-81.
National Health Security office. (2021). Diabetes Association prepares for World Diabetes Day Access to diabetes care, if not used now, then when will it be?" Retrieve 1 December 2021 from https://www.nhso.go.th/news/3364. (in Thai)
Nawwong, W. (2021). Type 2 Diabetes. Retrieve 1 December 2021 from https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/Type 2 Diabetes/.(in Thai)
Piwnuan, J. & Netrin,P. (2018). Self - Care Behaviors of Patients with Uncontrolled DM at Bangkaewnai Sub-district Health Promoting Hospital, La-Un district, Ranong Province. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 1(2), 46-61. (in Thai)
Pongpumma, L. & Himanunto, S. (2017). Knowledge and self-care behavior among type 2 diabetes living in Bangsai, Maung, Chonburi, Chonburi province. HCU Journal, 20(40), 67-76. (in Thai)
Rongmuang, D., Leaungsomnapa, Y., Khanwiset, S. & Wongraka, S. (2019). The effect of possible selves and stage of change on self-management behavior and hemoglobin A1C controlling for the effect of knowledge among type 2 diabetic patient.Journal of Nursing and Education,12(2), 34-51. (in Thai)
Sangsawang, D., Palitnonkert, A. & Ngamkham, N. (2018). Factors affecting behaviors to reduce blood sugar levels of diabetes patients in Bangpoomai Tambon Health Promoting Hospital, Samutprakarn province. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 8(1), 103-117. (in Thai)
Siangdung, S. (2017). Self-care behaviors of patients with uncontrolled DM. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1), 191-204.(in Thai)
Tajarernwiriyakul, A. & Suwannakud-Silawong, K. (2016). Health perceives and self-care behaviors of people with diabetes mellitus in Tungmon Subdistrict, Prasat District, Surin Province. Research and Development Health System Journal, 9(2), 331-338.
Theong Hospital Information Center. (2019). Disease Ranking Statistics from 2014 -2019. Chiangrai province, Theong Hospital. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด