การปฏิบัติการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ในตำบลบ้านด้าย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • วิภาดา พรหมสอน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศิวพร อึ้งวัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง, วัดความดันโลหิตที่บ้าน, การวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน

บทคัดย่อ

           กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงเป็นกลุ่มที่มีโอกาสสูงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต จำเป็นต้องเฝ้าระวังระดับความดันโลหิตของตนเองอย่างต่อเนื่อง การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในตำบลบ้านด้าย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 11 คน และเพศหญิง จำนวน 19 คน รวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ 1) คู่มือการปฏิบัติการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านของตำบลบ้านด้าย 2) คู่มือสุขภาพประจำตัว 3) เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติ และเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการปฏิบัติการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 แบบสังเกตการปฏิบัติการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน และส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือ ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา = 1 ตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ = 1 และเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติได้รับการตรวจสอบความแม่นยำเทียบกับเครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาจัดหมวดหมู่ข้อมูล

            ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.67 สามารถปฏิบัติการวัดความดันโลหิตด้วยเองที่บ้านได้ถูกต้องทั้ง 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การปฏิบัติการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน ขั้นตอนที่ 2 การบันทึกผลการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน และขั้นตอนที่ 3 การรายงานผลการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน และพบข้องสังเกตว่ามีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 ไม่สามารถปฏิบัติการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านได้ถูกต้องทั้ง 3 ขั้นตอน พบข้อเสนอแนะเชิงบวกต่อการปฏิบัติการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านใน 2 ประเด็น คือ การปฏิบัติการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านทำให้ทราบค่าระดับความดันโลหิตของตนเองที่เป็นปัจจุบัน และมีขั้นตอนที่ง่ายต่อการปฏิบัติ พบข้อเสนอเชิงพัฒนาว่า การให้สมาชิกในครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติการวัดความดันโลหิตที่บ้าน สามารถช่วยให้กลุ่มเสี่ยงสามารถวัดระดับความดันโลหิตของตนเองได้ และควรนำไปขยายผลกับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ต่อไป และสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุควรให้สมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือการปฏิบัติ 

References

Bureau of Non communicable Disease. (2016). Cardiovascular risk assessment guide for public health volunteers. Nonthaburi: War veteran’s office Thai printing. (in Thai).

Chattrawongwiwat, T., Kong-in, W., & Thaniwattananon, P. (2013). The effects of memory- promoting program on perceived memory self-efficacy of elderly persons. Thai Journal of Nursing Council, 28(2), 98-108. (in Thai)

Centers for Disease Control and Prevention. (2020). Know Your Risk for High Blood Pressure. Retrieved from https://www.cdc.gov/bloodpressure/risk_factors.htm. (in Thai)

Daharn, T., & Duangrach, J. (2018). Development of a Health Care Model for elderly by community participation, Nonglake Sub-district, Kosum Phisai District, Mahasarakham Province. Academic Journal of Mahasarakham Provincial Public Health Office, 2(3),44. (in Thai)

Division of Non Communicable Diseases Chiang Rai Provincial Public Health Office. (2020). Home monitoring blood pressure guideline. http://cro.moph.go.th/hbm/flowHBPM.pdf. (in Thai)

Division of Non Communicable Diseases. (2020). Operating NCD clinic plus guidelines 2020. Nonthaburi: Aksorn Graphic and design. (in Thai)

Health Data Center Chiang Rai. (2021). Documentation for monitor of public health 2021. Retrieved from https://cri.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php. (in Thai)

Huang, Y., Cai, X., Li, Y., Su, L., Mai, W., Wang, S., . . . Xu, D. (2014). Prehypertension and the risk of stroke. A meta-analysis, 82(13), 1153-1161. doi: 0.1212/wnl.0000000000000268

Kuhirunyaratn, P., Ratanasiri, A., Jindawong, B., Natiboot, P., Watchanapan, L., Junthakhun, C., & Supapinij, C. (2018). Health promotion behaviors of elderly living in an urban community of Khon Kaen province. Srinagarind Medical Journal, 33(2), 153-160. (in Thai)

Kankam, S. (2017). Experience the Life of the Elderly Live Longer with Quality. Journal of Health Sciences Scholarship, 4(2), 62. (in Thai)

Lasuka, D. (2013). Clinical practice guidelines adaptation: Concept and process. Nursing Journal, 40, 97-98. (in Thai)

Lee, M., Saver, J., Chang, B., Chang, K.-H., Hao, Q., & Ovbiagele, B. (2011). Presence of baseline prehypertension and risk of incident stroke: A meta-analysis. Neurology, 77(14), 1330-1337.

Li, Y., Xia, P., Xu, L., Wang, Y., & Chen, L. (2016). A Meta-analysis on prehypertension and chronic kidney disease. PLoS ONE, 11(6). doi.org/10.1371/journal.pone.0156575

Petavibolsathien, T., Petavibolsathien, K., Sahatsaphan, A., & Dawhang, W. (2017). The Effect of Home Blood Pressure Monitoring Program on Patients with Hypertension Swang- arom Hospital Uthaithani Province. Phichit Hospital Journal, 32(1), 11-18. (in Thai)

Rogers, R.W. (1983). Cognitive and physiological processes in fear appeals and attitude change : Arevised theory of protection motivation. In J. Cacioppo & R. Petty (Eds.). Social Psychophysiology. pp.153-176. New York: Guilford Press.

Sangwatanaroj, S. (2017). Home blood pressure self-measurement. In S. Watcharasin, & A. Chepo (editor), NCD clinic Plus (p. 64-85). Nonthaburi: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. (in Thai)

Shimbo, D., Artinian, N. T., Basile, J. N., Krakoff, L. R., Margolis, K. L., Rakotz, M. K., ... & American Heart Association and the American Medical Association. (2020). Self- measured blood pressure monitoring at home: a joint policy statement from the American Heart Association and American Medical Association. Circulation, 142(4), e42-e63.

Shen, L., Ma, H., Xiang, M. X., & Wang, J. A. (2013). Meta-analysis of cohort studies of baseline prehypertension and risk of coronary heart disease. American Journal of Cardiology, 112(2), 266-271. doi.org/10.1016/j.amjcard.2013.03.023

Songwatthanayuth, P., Watthanakorn, K., Klinhom, K., & Ratanapat, P. (2016). Effects of Family and Village Health Volunteer Participation Program on Health Promoting Behaviors, and Blood Pressure in Pre-hypertension Adults. Veridian E-journal Science and Technology Silpakorn University, 3(3), 1-14.

Srithumsuk, W., & Thummapol, O. (2020). Home blood pressure monitoring: Nurses' role for hypertension control management in patients' receiving antihypertensive medication. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 21(1), 35-44. (in Thai)

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper& Row.

Thummakul, D., Kaeodumkoeng, K., & Prasertsin, U. (2015). Development of an operational training program for the creation of a healthy happy workplace by MapHR. Journal of Health and Nursing Education, 20(1), 15-29. (in Thai)

Wangkeeratikarn, Y., Sarnsuvarn, A., & Lertsuphawong, P. (2014). Efficacy of severe head injury nursing care plan development. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospital, 29(1), 7-10. (in Thai)

Ward, A. M., Takahashi, O., Stevens, R., & Heneghan, C. (2012). Home measurement of blood pressure and cardiovascular disease: Systematic review and meta-analysis of prospective studies. Journal of Hypertension, 30(3), 449-456. https://doi.org/10.1097/HJH.0b013e32834e4aed

Yooyen, P., Sanasuttipun, W, & Srichantaranit, A. (2019). The effects of a teaching program on knowledge and behavior of caregivers to prevent infection in preschool-aged children with leukemia. Nursing Science Journal of Thailand, 37(4), 80-91. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัย