การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ของประชากรเขตอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • จันทร์จีรา ยานะชัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง
  • ประจักษ์ ขันเวท สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
  • ประจวบ แหลมหลัก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

บทคัดย่อ

             การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 80 คน ได้มาอย่างเจาะจง แบ่งเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 40 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมในโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพจำนวน 4 ครั้ง และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คนได้รับการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยวิธีปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ แบบประเมินระดับคะแนนความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และแบบบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยง การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบประเมินทั้งชุดได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ความเที่ยงของเครื่องมือชุดที่ 1 โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Independent  T test และ Dependent T test

         ผลการศึกษา พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนั้นหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีระดับความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงจากระดับความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และหลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีระดับความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดลงดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ควรนำโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมไปใช้เพื่อการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในประชากรที่มีความเสี่ยงในทุกระดับ และติดตามประเมินผลลัพธ์ทางสุขภาพในระยะยาว

References

Asawasudsakorn, S., Chitpitaklert, S., Visanuyothin, S. (2019). Abstract: Integration of Service Plans for Screening and Reducing High Risk Groups of Cardiovascular Disease, Nakhon Ratchasima 2017-2018. Journal of the Department of Medical Services .44 (5) (in Thai).

Choeisuwan,V. (2017). Health Literacy: Concept and Application for Nursing Practice. Royal Thai Navy Medical Journal.44(3).183-197. (in Thai).

Darun, P., & Krirat, P. (2019). Health literacy factors influencing on Health behavior of population in Bueng Kan province. Journal of Department of Health Service Support, 15(3), 71-82. (in Thai).

Division of Non Communicable Diseases. (2014). Handbook of Cardiovascular risk identification and risk management. Ministry of Public Health. (in Thai).

Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. Thai CV risk score: Mahidol University. Retrieved

(2021, 5 June) from: https://www.rama.mahidol.ac.th/cardio_vascular_risk/thai_cv_risk_score. (in Thai).

Halladay, J. et al (2017). The association of health literacy and blood pressure reduction in a cohort of patients with hypertension: the heart healthy lenoir trial. Patient education and counseling, 100(3), 542-549.

Health Education Division, Department of Health Service Support. (2018). Health literacy and health behaviors 3E 2S 2018., Retrieved (2021, 15 April) from: http://www.hed.go.th/news/3268. (in Thai).

Khongprasert,J. & Watcharasin,S. & Phanmung,N.(2015). Cardiovascular Risk Assessment among Diabetes and Hypertension Patients.The Agricultural Co-operative Federation of Thailand, Ltd.printing. Bangkok. ISBN 978-616-11-2615-5. (in Thai).

Khuanmoung, K. (2018). Health literacy accessibility understanding and utilization. Amarin printing. Bangkok: ISBN 978-616-468-098-2. (in Thai).

Natnapa, S. and Thiraphancharoen, N. (2022). Behavior in Reducing Cardiovascular Disease Risk Factors among the Elderly at Ban Mai Subdistrict, Phra Nakhon Si Ayutthaya District. Journal of Safety and Health: 15(1).10-26. (in Thai).

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health promotion international, 15(3), 259-267.

Nutbeem, D. (2008). The evolving concept of Health Literacy. Social Science & Medicine. 67:2072-2078.

Phuribancha, P., Phrompakdee, B., Chornthapha,S.(2017).Evaluation need assessment for services development, evaluation cardiovascular risk in DM and Hypertension patients. Disease Control Journal, 43(3), 244-254. (in Thai).

Paibulsiri, P. (2018). Health literacy and health behaviors 3E 2S of public sector executives, Phra Nakhon Si Ayutthaya province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand.8(1).97-107. (in Thai).

Strategy and Planning Division. (2022). Public Health statistics 2019. Ministry of Public Health. ISSN 0857-3093(in Thai).

Tachavijitjaru C.,(2018). Health Literacy: A key Indicator towards Good Health Behavior and Health Outcomes. Journal of The Royal Thai Army Nurses.19(1-19). (in Thai).

Thananuwatsak, R., Harnchaipibulkul, S., Worakijthamrongchai, T. (2019). Primary Prevention of Stroke. Journal of Thai Stroke Society. 18(2), 29-39.

World Health Organization. (2021). World health statistics 2021: monitoring health for the SDGs,sustainable development goals. Geneva: Licence: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัย