การรับรู้ ทัศนคติ และความรู้ต่อมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมและผลต่อการปฏิบัติตัวตามมาตรการ สุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดลำปาง ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • นงลักษณ์ โตบันลือภพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง
  • ธีรารัตน์ บุญกุณะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
  • บุศรินทร์ ผัดวัง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
  • จิตตวีร์ เกียรติสุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง

คำสำคัญ:

การเว้นระยะห่างทางสังคม, สุขภาพจิต, คุณภาพชีวิต, โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

               วิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส (โควิด-19) ทำให้ประชาชนต้องมีการปรับตัวรับสถานการณ์ จึงเป็นความพยายามที่บุคคลจะสร้างความเคยชินในพฤติกรรมใหม่ แต่ในระยะของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการปรับตัวเข้าสู่ความเคยชินในพฤติกรรมใหม่นั้น อาจจะส่งผลกระทบต่อ สุขภาพกาย สุขภาพจิต ทัศนคติต่อการใช้ชีวิตในสังคม และคุณภาพชีวิตได้  การวิจัยเชิงสำรวจแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาการรับรู้ ทัศนคติและความรู้ต่อมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม และ 2) ศึกษาผลกระทบต่อการปฏิบัติตัวตามมาตรการ สุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนในจังหวัดลำปางจำนวน 432 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามประกอบด้วย 1) การรับรู้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม 2) ทัศนคติต่อมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม 3) ความรู้เกี่ยวกับโรคและมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม 4) การปฏิบัติตัวตามแนวปฏิบัติของมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม 5) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 6) แบบประเมินความเครียด 7) แบบประเมินความวิตกกังวล และ 8) แบบประเมินคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ

          ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ ความรู้ต่อโรคและมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมอยู่ในการรับรู้ระดับมาก (Mean 25.22, SD 4.47 และ Mean 8.54, SD 1.17 ตามลำดับ) ส่วนทัศนคติต่อมาตรการและการปฏิบัติตัวตามมาตรการอยู่ในระดับปานกลาง (Mean 17.86, SD 2.51 และ Mean 34.83, SD 4.92 ตามลำดับ) กลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าร้อยละ 9.5 มีภาวะวิตกกังวลในระดับน้อย (Mean 6.86, SD 4.93) มีภาวะความเครียดอยู่ในระดับน้อย (Mean 3.49, SD 3.36) และคุณภาพชีวิตระดับดี (Mean 98.62, SD 14.94) การรับรู้และทัศนคติร่วมกันทำนายทางบวกการปฏิบัติตัวตามมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคม ร้อยละ 34.1 (p<.001) การรับรู้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมทำนายทางบวกต่อระดับคุณภาพชีวิตร้อยละ 11.8 และทัศนคติต่อมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมทำนายทางลบต่อสุขภาพจิตด้าน ความวิตกกังวล และความเครียดร้อยละ 8.6 และ 6.5 ตามลำดับ

          การสร้างเสริมการรับรู้และสร้างทัศนคติที่ดีต่อมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมจะกระตุ้นการปฏิบัติตัวตามมาตรการที่จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 และช่วยเพิ่มระดับคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ยังสามารถลดแนวโน้มของการเกิดปัญหาสุขภาพจิตเกี่ยวกับความวิตกกังวลและความเครียดได้

References

Bloom B, S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw - Hill.

Center of COVID-19 Situation Administration, Lampang.(2020).Center of COVID-19 situation administration,

Lampang. (online) Retrieved 1 April, 2020 from http://www.lampang.go.th/covid19/

Department of Disease Control. (2020). Coronavirus disease 2019. (online) Retrieved 17 April, 2020 from

https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

Department of Mental Health. (2021). Stress management and preparation for COVID-19. (online)

Retrieved on 26 February, 2021 from https://www.dmh.go.th/news- dmh/view.asp?id=30561

Glomjai, T., Kaewjiboon, J., & Chachvarat, T. (2020). Knowledge and behavior of people regarding self-care

prevention from novel coronavirus 2019 (COVID-19). Journal of nursing, public health, and education, 21(2): 29 – 39.

(in Thai)

Limtrakoon, P. (2020). Rethinking Connectivity: A case study of COVID-19 outbreak from China to Thailand. Thai

journal of east asian studies, 24(2): 74 – 93. (in Thai)

Prochaska, J. O., Redding, C. A., & Evers, K. E. (2015). The transtheoretical model and stage of changes. In K. Glanz, B.

K. Rimer, & K. Viswanath (Eds). Health behavior theory, research and practice (pp. 125 – 148). Jossey-Bass.

Rosenstock, I.M., Strecher, V.J., & Becker, M.H. (1988). Social learning theory and health belief

Model. Health education quarterly, 15(2): 175 – 183.

Suwanaphant, K., Seedaket, S., Vonok, L., et al. (2020). Factors associated with stress due to corona virus disease

(COVID-19) pandemic among students of the Faculty of Public Health and Allied Health Sciences,

Praboromarajchanok Institute. Journal of health science research, 14(2): 138 – 148. (in Thai)

Tossawat, P. & Mahiwan, P. (2020). The development of social quality of life of people and the

prevention of the spreading of coronavirus infectious disease (COVID – 19). Journal of MCU Nakhondhat,

(9): 40 – 55. (in Thai)

World Health Organization. (2020). WHO Coronavirus (COVID-19) dashboard. Retrieved 6 May, 2020 from

https://covid19.who.int/table

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3rd Eds. New York: Harper & row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย