ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินในกลุ่มประชาชนรอบโรงงานอุตสาหกรรม
คำสำคัญ:
เสียงรบกวน, การสูญเสียการได้ยิน, ชุมชน, โรงงานอุตสาหกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาระดับความดังเสียงบริเวณรอบโรงงานอุตสาหกรรม ความชุกการสูญเสียการได้ยิน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล กับการสูญเสียการได้ยินในกลุ่มประชาชนรอบโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 380 คน โดยมีเกณฑ์การคัดเข้าคืออาสาสมัครที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่รอบโรงงานอุตสาหกรรมรัศมีไม่เกิน 500 เมตร และไม่เป็นโรคหูตึง เครื่องที่ใช้ในการทำวิจัยคือ Sound level meter, Audio meter และแบบสอบถาม และวิเคราะห์สถิติด้วยร้อยละ และไค-สแควร์
ผลการศึกษาพบว่า ระดับความดังเสียงบริเวณชุมชนรอบข้างโรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล กระดาษ และอาหาร ในวันทำงานมีระดับความดังเฉลี่ย Leq 24 hr เท่ากับ 74.9, 68.8 และ 73.3 เดซิเบล(เอ) ตามลำดับ ในวันหยุดมีระดับความดังเฉลี่ย Leq 24 hr เท่ากับ 65.7, 63.8 และ 63.4 เดซิเบล(เอ) ตามลำดับ ระดับเสียงดังในวันทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลและโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร มีค่าเกินกฎหมายระดับเสียงในสิ่งแวดล้อมประเทศไทย ในขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ มีค่าไม่เกินกฎหมายระดับเสียงในสิ่งแวดล้อมประเทศไทย และพบว่าในวันหยุดมีระดับความดังเฉลี่ย Leq 24 hr โรงงานอุตสาหกรรมทั้ง 3 แหล่งดังไม่เกินตามมาตรฐานกฎหมายระดับเสียงในสิ่งแวดล้อมประเทศไทย ความชุกการสูญเสียการได้ยินของกลุ่มตัวอย่างประชาชนรอบโรงงานอุตสาหกรรม มีจำนวนร้อยละ 3.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูญเสียการได้ยินของกลุ่มตัวอย่างประชาชนรอบโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า อายุ 35 ปีขึ้นไปมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน เพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ประวัติการสูบบุหรี่ ประวัติการสัมผัสเสียงในโรงงานอุตสาหกรรม มีญาติหูตึงก่อนอายุ 50 ปี ประวัติการใช้ยาปฏิชีวนะ และประวัติการสัมผัสสารเคมีหรือตัวทำละลาย ไม่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
Bunlong, N., Damaudom, S., Lohakul, K., & Petluan, R. (2013). The prevalence rate and
determinant associated with noise induced hearing loss among occupational
noise exposure workers. Region 11 medical journal, 7(2), 327-336. (in Thai).
Cheewaruangroj, W. (2001). Hearing loss. Otolaryngology Head and Neck Surgery, Bangkok:
The Office, 24-52. (in Thai).
Kowalska, M., & Zaborowski, K. (2017). WHO Environmental Noise Guidelines for the
European Region: A systematic review on environmental noise and permanent
hearing loss and tinnitus. (2021, 21, April)
Kanchanaburi Public Health Office. (2018). Special_economic_zone. (online), Retrieved from:
http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/OEHP/2562/Full_OEHP/SEZ/6.OEHP_
Kanchanaburi.pdf. (2020, 8, Nov ). (in Thai).
Institute Occupational and Environmental. (2018). Situation of disease and health hazards from
occupation and environment. (online), Retrieved from:
http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/790. (2020, 8, Nov ). (in Thai).
Johari, A. (2019). A Comparative Analysis of Noise Level at Jaipur City. SKIT Research Journal,
(1), 20-24.
McCullagh, MC., Raymond, D., Kerr, MJ., & Lusk SL. (2011). Prevalence of hearing loss and
accuracy of self-report among factory workers. Noise Health. (13): 340-7.
Kumar Mondal, N., Dey, M., & Kumar Datta, J. (2014). Vulnerability of bus and truck drivers
affected from vehicle engine noise. Sustainable Built Environment. (3): 199-206.
Notification of National Environment Board. (1997). Standard of ambient noise and the
maximum of Background noise level. (online), Retrieved from:http://www.ratchakitcha.
soc.go.th/DATA/PDF/2540/D/027/46.PDF. (2021, 24, April). (in Thai).
Phetprapun, R. (2015). Evaluation of Noise Levels and Noise-Induced Hearing Loss of Workers
at a Stone Milling Factory in Nakornsithammarat Province. (online), Retrieved from:
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/143739/106359. (2021, 24,
April). (in Thai).
Phraothaisong, P. (2018). Influence of Road Traffic Noise on Residents in Nakhon Pathom
Municipality. Thesis for Master of Science (Environmental Science)
Department of Environmental Science Graduate School, Silpakorn University. (online),
Retrieved from:http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1950/1/59311306.pdf.
(2021, 24, April). (in Thai).
Ritngam, A. (2016). Related Factors of Hearing Loss Among Natural Rubber Processing Industry
Workers in Rayong. (online), Retrieved from:https://he01.tci- thaijo.org/ index.php/
phn/article/view/96590/75358. (2021, 24, April). (in Thai).
Savitree, C. (2012). Factors related and an analysis of health effects to standard threshold shift
in moter compressor workers. (online), Retrieved from:http://ir.swu.ac.th/ xmlui/
handle/123456789/2347?show=full. (2021, 24, April). (in Thai).
Themann, C., Masterson, L., Elizabeth, A. (2019). Occupational noise exposure: A review of its
effects, epidemiology, and impact with recommendations for reducing its burden.
The journal of the acoustical society of america. 146 (5): 3879.
Worawonnotai, C. (2008). Hearing level and Occupational Noise Exposure among workers
in Bhumibol Adulyadej Hospital, RTAF (online), Retrieved from:https://
www.rcot.org/download/Hearing_level_and_Occupational Noise_Exposure
among_workers_in_Bhumibol_Adulyadej_Hospital_RTAF2009.pdf. (in Thai).
World Health Organization. (2021). Environmental noise guidelines for the european region.
(online), Retrieved from:https://www.euro.who.int/_data/assets/pdf_file/0008/
/noise-guidelines-eng.pdf. (2021, 21, April)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด