ปัจจัยทำนายองค์ประกอบของร่างกายของผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, องค์ประกอบของร่างกาย, ปัจจัยทำนายองค์ประกอบของร่างกายบทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบทางกาย สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการทำนายองค์ประกอบของร่างกายผู้สูงอายุด้านต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกายของผู้สูงอายุ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรนณามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบร่างกายของผู้สูงอายุและปัจจัยทำนายองค์ประกอบของร่างกายของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน 3) แบบสอบถามภาวะโภชนาการ 4) แบบสอบถามการมีกิจกรรมทางกาย 5) แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า 6) แบบสอบถามการรับรู้ความสุข ส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินองค์ประกอบของร่างกาย การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล และข้อมูลจากเครื่องวัดองค์ประกอบของร่างกาย ใช้สถิติเชิงพรรนณาด้วยการการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยทำนายองค์ประกอบของร่างกายใช้สถิติวิเคราะห์ ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง (Multiple Linear Regression)
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของร่างกายผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.29 มีค่ามวลกล้ามเนื้ออยู่ในเกณฑ์ปกติผู้สูงอายุ ร้อยละ 59.23 มีค่ามวลไขมันในร่างกายอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 67.22 มีระดับไขมันในช่องท้องในระดับมากและร้อยละ 80.72 มีค่ามวลแร่ธาตุอยู่ในค่าปกติ ปัจจัยทำนายองค์ประกอบของร่างกาย ได้แก่ 1) ปัจจัยทำนายค่ามวลกล้ามเนื้อ พบว่ามี เพศหญิง กิจกรรมทางกาย น้ำหนัก ส่วนสูง ระดับการศึกษาและภาวะซึมเศร้า สามารถร่วมอธิบายการผันแปรค่ามวลกล้ามเนื้อได้ร้อยละ 35.8 (R2=.358) 2) ปัจจัยทำนายมวลไขมันในร่างกาย พบว่ามีค่าดัชนีมวลกาย เพศหญิง น้ำหนัก และอายุ สามารถร่วมอธิบายการผันแปรค่ามวลไขมันได้ร้อยละ 87.1(R2=.871) 3) ปัจจัยทำนายค่าระดับไขมันในช่องท้องพบว่ามีค่าดัชนีมวลกาย ภาวะโภชนาการ เพศหญิง ค่ากิจกรรมทางกาย และอายุ สามารถร่วมอธิบายการผันแปรค่าระดับไขมันในช่องท้องได้ร้อยละ 69.9 (R2=.699) 4) ปัจจัยทำนายค่ามวลแร่ธาตุพบว่า น้ำหนัก เพศหญิง ส่วนสูง และอายุ สามารถอธิบายการผันแปรค่ามวลแร่ธาตุของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 99.2 (R2=.992) ดังนั้นจากผลการศึกษา สามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนในการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีองค์ประกอบของร่างกายที่เหมาะสม และส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
References
Anantakun, A. (2017). Aging society….Challenge Thailand. (Online). Retrieved January 29, 2019, from
www.royin.go.th/wp- content/uploads/2017/12/. Aging society pdf.
Chen, L.K., Lee, W.J., Peng, L.N., Liu, L.K., Arai, H. & Akishita, M.(2016). Recent Advances in
Sarcopenia..JAMD.17(76),1-7.
Chang, K.E-V, Tsai-Hsuan., Wei-Ting, W.U., Kuo-Chin, H. & Der-Sheng, H. (2017). Is sarcopenia
associated with depression?A systematic review and meta-analysis of observational studies.
Age and Ageing ; 46: 738–746
Denan, A., & Subruang, J.(2016).Prediction of Factors of Body Fat of Metabolic Syndrome Persons.
Journal of Humanities and Social Sciences. 7(2), 10-15.
Department of Older Persons. (2019). Elderly statistics.[Online], Available:
http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275.(2019, 29,June).(in Thai).
Hajjar. R., Nardelli, G.G., Gaudenci, E.M. & Santos, A.S. (2017). Depressive symtoms and associated
factors in elderly people in the Primary Health Care. Rev Rene. 18(6), 727-33.
Hong, S. & Hwan Choi, W. (2016). The effects of sarcopenia and obesity on femur neck bone mineral
density in elderly Korean men and women. Osteoporosis and Sarcopenia. 2(2), 103-109.
Kaewanun, C. (2019). Nutrition of the Elderly. EAU Heritage Journal Science and Technology.
(2),18-30.
Kim, J.H., Ahn, H.J., Yang, T.Y. & Kim, S.Y. (2017). Sarcopenic obesity and associated factors in
older adults with diabetes. [Online], Available: https://www.endocrine.
(2019, 29, January).(in Thai).
Khongsri, N., Tongsuntud S., Limampai, P, Kuptniratsaikul V.(2016).The prevalence of sarcopenia
and related factors in a community-dwelling elders Thai population. Osteoporosis and
Sarcopenia. 2(2), 110-115.
Kim, K.M., Kim, Y.J., Choi, S.H., Lim, S., Moon, J.H, Kim, J.H, et al.(2016).The effects of body mass index
on the hereditary influences that determine peak bone mass inmother-daughter pairs.
Osteoporos Int. 27(6), 2057-2064.
Kongsuk, T., Arunpongpaisal, A., Janthong, S., Prukkanone, B., Sukhawaha S., & Leejongpermpoon J.,
(2018).Criterion-Related Validity of the 9 Questions Depression Rating Scale revised for Thai
Central Dialect. J Psychiatr Assoc Thailand. 63(4): 321-334.
Konggateyai, P., Onkampa, W., Wongsrithep, W. & Kuptniratsaikul, V. (2018). The study of grip strength
in community-dwelling Thai elderly. J Gerontol Geriatr Med. 17(53-61).
Lee,J.E., Lee, S.R., Song, H-K. (2016).Muscle mass is a strong correlation factor of total hip BMD among
Korean premenopausal women. Osteoporosis and Sarcopenia, 2(2): 99–102.
Liang, X., Chen, X. , Li J., Yan, M., & Yang,S. (2018). Study on body composition and its correlation
with obesity: A Cohort Study in 5121 Chinese Han participants. Medicine.97(21): e10722
Liangruenrom, N., Topothai, T., Topotha,i C., Suriyawongpaisan, W., Limwattananon, S.
Limwattananon, C. et al.(2017). Do Thai People Meet Recommended Physical Activity Level?:
The 2015 National Health and Welfare Survey. Journal of Health Systems Research. 11(2), 205-20.
Limpawattana, P., Kotruchin, .P & Pongchaiyakul, C. (2015). Sarcopenia in Asia. Osteoporosis and
Sarcopenia. 1(2):92-7.
Moon S. (2014). Relationship of lean body mass with bone mass and bone mineral density in
the general Korean population. Endocrine. 47(1): 234-43.
PisCiottano, S.S., Pinto , V.L., Szejnfeld , C.H.M. (2014). The Relationship Between Leam Mass,
Muscle strength and Physical Ability in Independent Healthy Elderly Woman from The
Community M.V.C. The Journal of Nutrition, Health & Aging. 18(5), 554-558.
Potjamanpong, P. (2019). Guidelines for Health Promotion: Body Composition of the Elderly Members
of the Health Promotion and Rehabilitation Center, Faculty of Nursing, Prince of Songkhla
University. Journal of Nursing, Siam University. 20 (39), 73-87.
Promklang, D., Piaseu, N., Jarupat Maruo, S. & Tantiprasoplap, S. (2019). Factors Associated with
sarcopenia Amongst Older Adults in Congested Communities in Bangkok. Thai Journal of Nursing Council.
(1), 49-60.
Somboontanont, W. & Thiengtham, S. (2018). Factors Related to Activity of Daily Living Among
Community Dwelling Older Adults with Low Muscle Strength. Songklanagarind Journal of
Nursing.38 (2), 110-123.
Sonsompan, R. (2019). Capabilities Promote to Prevent Depression in the Elderly, Khon Buridistrict,
Nakhon Ratchasima province. Journal Health Research and Development Nakhon
Ratchasima Public Health Provincial Office. 4 (1), 77-89.
Ranasinghe, C., Katulanda, P., Andraweera, N., Thilakarathne., S and Tharanga, P. (2013).
Relationship between Body mass index (BMI) and body fat percentage, estimated by
bioelectricalimpedance, in a group of Sri Lankan adults: cross sectional study. BMC Public
Health, 3;13:797. doi: 10.1186/1471-2458-13-797.
Taepongsorat, L. (2014). Osteoporosis: Epidemiology, Causes, Diagnosis, Treatments. J Sci Technol MSU, 33 (5), 526-536.
Tomastu, E., Ninomiya, E., Ando, M., Hiratsuka, I., Yoshino, Y., Sekiguchi-Ueda , S. et al. (2016).
Nutritional status of calcium and other bone-related nutrients in Japanese type 2 diabetes
patients . Osteoporosis and Sarcopenia. 2(2), 94-98.
Topothai, T., Topothai†, C., Phonguttha, S., Suriyawongpisarn, W., Chantrasiri, O., Thamrungsi , T.
(2015).The Daily Energy Expenditure of 4 Domains of Physical Activity of Thai Adults.
Journal of Health Systems Research. 9(2), 168-180.
Tungsiripracha, S. & Ruengtip, P.(2016). Factors Influencing the Risk of Osteoporosis in Menopausal
Women. Srinagarind Medical Journal. 31(5), 320-324.
Weaver, C.M, Gordon, C.M, Janz, K.F, Kalkwarf, H.J, Lappe, J.M, Lewis, R., et al. (2016). The National
Osteoporosis Foundation's position statement on peak bone mass development and lifestyle
factors: a systematic review and implementation recommendations. Osteoporos Int. 27:1281-1386.
Wimolphan, P. & Pitchalard, K. (2016). The development of guidelines for the management of
overweightand obesity in the elderly. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 17(1), 115-123.
Wiriya, B., Piaseu, N., Neelapaichit, n. & Tantiprasoplap, S. (2019) .Prevalence and Predictors of
Sarcopenia in Older People with Type 2 Diabetes. Pacific Rim International Journal of
Nursing Research. 23(2), 110-118.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด