การรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลต่อประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมในหอผู้ป่วย
คำสำคัญ:
การรับรู้, ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม, นักศึกษาพยาบาล, หอผู้ป่วยบทคัดย่อ
การฝึกปฏิบัติการพยาบาลในหอผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาล เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่มาจากสภาพจริงของผู้ป่วยและสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล เมื่อนักศึกษาเผชิญกับเหตุการณ์หรือปัญหาที่เป็นประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม สามารถตีความหรือระบุประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมได้ จะนำไปสู่กระบวนการตัดสินใจเชิงจริยธรรม เพื่อแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันหากนักศึกษาไม่ทราบว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นจริยธรรม หรือรับรู้ว่ามีแต่ไม่สามารถทำให้สถานการณ์คลี่คลายได้ อาจส่งผลให้สถานการณ์ความขัดแย้งลุกลามมากยิ่งขึ้น ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมที่นักศึกษาพบขณะปฏิบัติการพยาบาล ได้แก่ ปัญหาการบอกความจริง ปัญหาการปกปิดความลับ ปัญหาเกี่ยวกับชีวิตและการตายอย่างมีศักดิ์ศรี ปัญหาการทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ ปัญหาการไม่ทำสิ่งที่เป็นอันตราย ปัญหาด้านความรู้และทักษะการพยาบาล และปัญหาด้านปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารกับผู้รับบริการ
การจัดการเรียนการสอนจริยศาสตร์ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการรับรู้หรือความไวทางจริยธรรม และทักษะการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล ซึ่งการจัดการเรียนการสอนควรมีวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถของนักศึกษาแต่ละชั้นปีทั้งในรายวิชาทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การใช้แนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในการเรียนการสอนการตัดสินใจทางจริยธรรม เป็นวิธีการที่สามารถทำให้นักศึกษาสะท้อนตนเองต่อประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการและทีมสุขภาพ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อความสามารถในการใช้กระบวนการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษา และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นพยาบาลวิชาชีพที่สมบูรณ์แบบต่อไป
References
Boonmee, P., & Yana, B. (2013). Ethical Decision Making among Nursing Students at Boromrajonani
College of Nursing, Phayao. Nursing Public Health and Education Journal, 14(2), 35-42.
(in Thai).
Chaowalit, A., & Nasae, T. (2016). Ethics Education in Baccalaureate Nursing Program.
Songklanagarind Journal of Nursing, 36, Supplement(September – December), 183-195.
(in Thai).
Harnyoot, O. (2018). Ethical Decision Making: Concept and Application. Journal of The Royal Thai
Army Nurses, 19(2), 111-119. (in Thai).
Indhraratana, A. (2014). Ethical Sensitivity: Concept and Application for Teaching in Nursing. Journal
of The Royal Thai Army Nurses, 15(2), 141-147. (in Thai).
Khiaolueang, D., et al. (2013). The Development of the Thought Reflection Learning Model to
Enhance Ethical Decision-Making in Nursing for Student Nurses. Journal of Education
Naresuan University, 15(4), 9-21. (in Thai).
Pakdeto, R., & Arpaichiraratana, C. (2016). An Application of Transformative Learning in Arranging
Learning Experience Regarding Ethical Decision Making for Nursing Students. Thai Red Cross
Nursing Journal, 9(1), 1-10. (in Thai).
Prajankett, O. (2014). Transformative Learning: Nursing Education Perspective. Journal of The Royal
Thai Army Nurses, 15(3), 179-184. (in Thai).
Prompahakul, C., & Nilmanat, K. (2017). Moral Competence in Nursing Practice amongst Nursing
Students at Prince of Songkla University. Thai Journal of Nursing Council, 32(4), 67-78.
(in Thai).
Sutthinarakorn, W. (2017). Transformative Learning and Action Research. (1sted.). Bangkok:
Siamparitut Publishing Co., Ltd. (in Thai).
Thailand Nursing and Midwifery Council. (2015). Guide to Ethics Promotion (For Nursing
organization: Mechanism and Practice). (1sted.). Bangkok: Judthong Co., Ltd. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด