การศึกษาความรู้ ทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
ผู้ดูแล, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, การรับรู้สมรรถนะแห่งตนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้และทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และ 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนกลุ่มผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ตำบลไร่สะท้อน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 60 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่าความรู้ และทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุ อยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแล พบว่า ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.36, p=.005) ทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.45, p=.00) ส่วนความรู้ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแล การค้นพบครั้งนี้ได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรด้านสุขภาพที่จะนำไปวางแผนใช้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงต่อไป
References
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control: 1st ed. New York; Freeman and Company.
Busaya, V., Wirat, S., Sirirat, C., Thanakorn, L., Sirivadee, T., & Khanit, R. (2016). Knowledge and Attitude of the elderly caregivers: A case study of Thammapakorn and Watmuang Elderly care center Nakhonratchasima Province. Journal of Business Administration APHEIT. 5(2): 74-92. (in Thai).
Charintip, C., Nuntaporn, T., & Ormjai, T. (2018). Knowledge and Health Care Behavior for the Elderly with Movement Disability of Family Caregivers in Tambon krasean, Phayu District, Sisaket Province. The Journal of Baromarajonani College of Nursing, Nakornratchasima. 24(2): 52-66 (in Thai).
kawinarat, S., Supattra, S., Jutatip., S., Kriengsak, T., & Somchai, V. (2014). The Potential of Local Organization on disabled elderly care management in community. Journal of Health System Research. 8(2): 132-141. (in Thai).
Ministry of Social Development and Human Security. (2015). Social statics document [Internet]. Bangkok: Information and Communication Technology Center. [cite 2019 Oct 10]. Available from: https://www.m-society.go.th/article_attach/13225/17347.pdf
Passakorn S., Arnat W., & Samrit S., Community Care by Caregivers to Dependent Elderly under the Community-Based Long-Term Care Policy. Journal of Health System Research. 12(3): 437-451.
Pearlin, L., et al. (1990). Caregiving and the stress process: An overview of concepts and their measures. The gerontologist. 30(5): 583-594. (in Thai).
Pennapha., M. (2018). Knowledge, attitude and principle of caregiver in elderly disability care in Sungaikolok, Narathiwas. J Gerontol Geriatr Med. 17(1-9). (in Thai).
Rugsanor, I., Chaiviboontham, S., & Pokpallagon, P. (2018). Knowledge, Attitude, and self-efficacy in End-Of-Life Care of Senior Military Student Nurse. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 19(supplement):242-250. (in Thai).
Sumitra, C., Yupapin, S., & Wonna, p. (2012). Knowledge, Attitude and Practice Perceived by Nurses in helping and Promoting Caregivers health. Rama Nurs J. 18(2):249-258. (in Thai).
Taro, Y., (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Tokyo: Harper International Edition.
Waranya, J., Thamolwan, K., & Pinpawan, P. (2017). Knowledge, Attitude and Ability to care for the Elderly of village Health Volunteers and the Satisfaction of the Elderly in Na Khian District, Muang District, Nakhon Si Thammarat Province. The Journal of Baromarajonani College of Nursing, Nakornratchasima. 23(1): 5-16.
Wibulpolprasert, S. editor. (2011). Thailand health profile 2008-2010. Bangkok: veterans’s organization. (in Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือก่อนเท่านั้น
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
อนึ่ง ข้อความและข้อคิดเห็นต่างๆ เป็นของผู้เขียนบทความนั้นๆ ไม่ถือเป็นความเห็นของวารสารฯ และวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับข้อความและข้อคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน วารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม รวมทั้งการตรวจทานแก้ไขหรือขัดเกลาภาษาให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด